โครงการละอ่อนรถถีบ


เป้าหมาย : ใช้จักรยานเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียน

โครงการละอ่อนรถถีบ

 

๑.  คำสำคัญ :

     

๒.  จังหวัด :           เชียงใหม่

 

๓.  กลุ่มเป้าหมาย :   นักเรียนโรงเรียนดอยงามวิทยาคม

 

๔.  เป้าหมาย :        ใช้จักรยานเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียน 

 

๕.  สาระสำคัญของโครงการ :

               ตำบลดอยงาม มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายแห่ง ทั้งที่เป็นโบราณสถาน แหล่งเรียนรู้อาชีพของท้องถิ่น รวมทั้งมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้มากมาย แต่แหล่งเรียนรู้เหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจจากคนในชุมชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเท่าใดนัก เด็กบางคนไม่รู้จักปราชญ์ชาวบ้านแม้อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ไม่รู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ไม่รู้จักความเป็นมาของโบราณสถานในท้องถิ่น เป็นต้น

               ร.ร.ดอยงามวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กประจำตำบล นักเรียนเป็นลูกหลานชาวบ้านในเขตตำบลดอยงามและใกล้เคียง ราว ๒๐๐ คน จากการทดสอบสมรรถภาพเด็กนักเรียนโดยฝ่ายพลศึกษาของโรงเรียน พบว่าเด็กจำนวนมากไม่แข็งแรง อีกทั้งเด็กนักเรียนจำนวนมากทั้งที่บ้านอยู่ใกล้โรงเรียน เวลามาเรียนมักจะขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียน ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของครอบครัว

               เนื่องจากโรงเรียนมีรถจักรยาน ๑๒๐ คัน จึง มีความคิดที่จะใช้จักรยานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากกว่าการให้นักเรียนยืมปั่นมาโรงเรียน จึงเกิดแนวคิดที่จะใช้จักรยานเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียน 

 

๖.  เครื่องมือที่ใช้ :

               มีการประชุมอาจารย์ในโรงเรียนเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ ตลอดจนขอความร่วมมือจากเพื่อนครูในโรงเรียน วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ การกำหนดเนื้อหาและแหล่งเรียนรู้ เป็นต้น กิจกรรมที่ได้ดำเนินงานมีดังนี้ การอบรมการซ่อมบำรุงรถจักรยาน, การสืบค้นและถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการปั่นจักรยานหมุนเวียนไปเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่, การปั่นจักรยานรณรงค์ประชาธิปไตย, แรลลี่จักรยาน

               มีวิธีการดำเนินงานที่สำคัญ ๓ ประการ คือ เน้นการใช้ต้นทุนของท้องถิ่น (ทั้งคน ความรู้ แหล่งเรียนรู้) เน้นการใช้ศักยภาพที่มีอยู่มาแก้ข้อปัญหา/ข้อจำกัด และให้ภารกิจของดครงการเป็นงานร่วมของบุคลากรในโรงเรียน

 

๗.  การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน :

               ดำเนินงานโดยคณะครู อาจารย์โรงเรียนดอยงามวิทยาคม

 

๘.  ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :

               ระยะเวลาดำเนินงาน ระหว่าง ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๘

 

๙.  การประเมินผลและผลกระทบ :

               มีการจัดทำแบบสำรวจและแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

               จากการศึกษาพบผลลัพธ์สำคัญ ๆ ได้แก่ ความรู้และความสนใจต่อความรู้ท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน, เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพทางกายของนักเรียน, ความสัมพันธ์ระหว่างปราชญ์ชาวบ้านกับนักเรียนและโรงเรียนดีขึ้น, ปริมาณการปั่นรถจักรยานมาโรงเรียนของนักเรียนมีมากขึ้น ฯลฯ

 

๑๐. ความยั่งยืน

               ความต่อเนื่องหลังสิ้นสุดโครงการ โรงเรียนได้มีเรียนการสอนภูมิปัญญาในโรงเรียนโดยเชิญปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้รู้เข้ามาสอนให้นักเรียน รวมทั้งการเกิดกิจกรรมวิชาชีพต่อเนื่องในโรงเรียน

 

๑๑. จุดแข็งและอุปสรรค

               -    

 

๑๒.                 ที่ติดต่อ :

               โรงเรียนดอยงามวิทยาคม ตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

 

 

หมายเลขบันทึก: 71613เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายภัทรกร ก๋าซ้อน

เป็นโครงการที่ดี ควรจะนำไปต่อยอด

หรือควรจะเอาไปเป็นแบบอย่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท