"ครู ป.กศ"


   “ครู ป.กศ”

* หลักสูตรประกาศนียบัตรทางการศึกษา (ปก.ศ.)
   * หลักสูตรประกาศนียบัตรทางศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ. สูง) 

   - ของวิทยาลัยครู หรือราชภัฏในปัจจุบัน  ที่คุณครูสมัยก่อนส่วนใหญ่จะจบกัน มความเป็นมาและมีการยกเลิกไปตั้งแต่เมื่อไร..

   - พ.ศ. 2519 สภาการฝึกหัดครูประกาศใช้หลักสูตรการฝึกหัดครูฉบับใหม่
ยกเลิกหลักสูตร ป.กศ.  จัดการศึกษา 2 ระดับ คือ
  - ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปกศ.สูง) 
  - ระดับปริญญาตรี ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ได้วุฒิครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

   * เมื่อประเทศไทยได้จัดการศึกษาในระบบโรงเรียน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตครู จากหนังสือ “อดีตการฝึกหัดครู” จากหนังสือ “๑๑๑ ปีกระทรวงศึกษาธิการ ๑ เมษายน ๒๕๔๖ “ กล่าวไว้ว่า ….

  - “เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะฝึกครูให้สามารถสอนได้อย่างมีคุณภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ จึงมีพระดำริที่จะให้มีโรงเรียน ฝึกหัดอาจารย์ขึ้น แต่ต้องย้ายไปเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน และมี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์  เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการต่อมา 

  - โดยในวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ โปรดให้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ขึ้น เป็นโรงเรียนหลวงประเภทไป-มา โดยใช้สถานที่โรงเลี้ยงเด็ก ถนนบำรุงเมือง ซึ่งต่อมาคือ “โรงเรียนสายสวลี สัณฐาคาร หรือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ” และมีนายเอช. กรีน.รอด ชาวอังกฤษ เป็นอาจารย์ใหญ่ 

  - ในครั้งนั้น มีนักเรียนอยู่ ๓ คน คือ นายนกยูง วิเศษกุล (พระยาสุรินทรราชา) นายบุญรอด เสรษฐบุตร (พระยาภิรมย์ภักดี) และสุ่ม 

  - ต่อมานายบุญรอดและนายสุ่มลาออกไป คงเหลือนายนกยูงแต่เพียงคนเดียว 

  - รุ่งขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ มีนักเรียนเพิ่มขึ้นอีก ๓ คน คือ นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) นายสด ผลพันธิน (หลวงสังขวิทย์วิสุทธิ์) และนายเหม ผลพันธิน (พระยาโอวาทวรกิจ) 

   - นายนกยูงนั้นได้ลาออกไปเป็นครูเสียก่อน ที่จะเรียนจบหลักสูตร 

   - ปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๘ นายสนั่นและนายสดสอบไล่ได้เป็นครูสอนภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ ส่วนนายเหมสอบไล่ได้เป็นครูภาษาไทยทั้ง ๓ คนนี้ เป็นชุดแรกที่ได้รับประกาศนียบัตรครูของ กรมศึกษาธิการ 

  - พ.ศ. ๒๔๓๘ นายเอช. กรีน.รอด ลาออกจากอาจารย์ใหญ่ นายอี ยัง เข้ารับต าแหน่งอาจารย์ใหญ่ แทน โดยมีนายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ 

   - ในปีเดียวกันนี้ทางการได้ส่ง นายสนั่น นาย นกยูง นายเหลี่ยม นายโห้ ไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษ และเมื่อ นายอี ยัง ลาออก ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ จึง โปรดให้นายเอฟ ยีเทรส เป็นอาจารย์ใหญ่แทน และดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่อยู่เป็นเวลานาน ๒๐ ปี 

   - พ.ศ. ๒๔๔๕ ย้ายโรงเรียนไปอยู่ตึกแม้นนฤมิตร วัดเทพศิรินทราวาส เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เทพศิรินทร์ ได้ย้ายสถานที่ และเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือวิทยาลัยครูพระนคร หรือสถาบัน ราชภัฏพระนคร ในปัจจุบันซึ่งเป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกของประเทศไทย 

  - พ.ศ. ๒๔๔๖ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเก่า (บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนศึกษานารี)       เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดครู ฝั่งตะวันตก รับนักเรียนต่างจังหวัด เป็นโรงเรียน กิน-นอน โดยมีเบี้ยเลี้ยงให้ด้วย โรงเรียนนี้ผลิตครูมูลศึกษา (จบออกไปสอนชั้นมูลศึกษา) ๒ 

  - พ.ศ. ๒๔๔๙ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ย้ายมารวมกับโรงเรียนฝึกหัดครู ฝั่งตะวันตก รับนักเรียนทั้งใน กรุงเทพฯ และหัวเมือง โดยให้ทุกคนอยู่ประจำ รับนักเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิมและให้เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์” นับเป็นโรงเรียนระดับอุดมศึกษา เพราะรับผู้ที่จบชั้นมัธยมบริบูรณ์แล้วเข้ามาเรียน       - พ.ศ. ๒๔๕๑ ให้ ยกเว้นการเกณฑ์ทหาร สำหรับนักเรียนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์และโรงเรียนราชแพทยาลัย กิจการของโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้เจริญขึ้นตามลำดับ 

 - พ.ศ. ๒๔๕๖ ขยายการสอนการฝึกหัดครูให้สูงขึ้นถึงระดับครูมัธยมโดยรับนักเรียนที่ได้รับประกาศนียบัตร ครูประถม หรือผู้ที่จบชั้นมัธยมสามัญบริบูรณ์  - ๒๙ กันยายน ๒๔๙๗ ประกาศตั้ง “กรมการฝึกหัดครู” เพื่อทำหน้าที่ผลิตครูที่ยังขาดวิทยฐานะครูให้มีวุฒิทางครู และผู้ที่มีวุฒิทางครูได้รับวุฒิสูงขึ้น 

  - ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘” กำหนดหน้าที่ ๕ ประการ คือ 

   - ผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ค้นคว้า ศึกษาวิจัย ฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษาประจำการ ทำนุ บำรุง ส่งเสริม และพัฒนาวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน

  - พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่าง พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ แก้ไข เพิ่มเติม พ.ร.บ. วิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘  กำหนดให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ ให้การศึกษาวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ สามารถผลิตบัณฑิตเพิ่มจากสายศึกษาศาสตร์ (ค.บ.) อีก ๒ สาย คือ สายวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) และสายศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) รวม ๓ สายในหลายโปรแกรมวิชา ตามความต้องการ ของท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวาง แต่คนทั่วไปยังคิดว่า "วิทยาลัยครูผลิตบัณฑิตเฉพาะสายครูเท่านั้น บัณฑิตจาก วิทยาลัยครูจะต้องประกอบวิชาชีพครูอย่างเดียว 

  -จุดนี้จึงทำห้ผู้ที่จบการศึกษาในสายวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) และสายศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ขาดโอกาสในการได้งานทำ 

  - ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานที่ได้ขยายตัวไป และสอดคล้องกับความเป็นสากล เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษาในสถาบันของกรมการฝึกหัดครู จึงขอ พระราชทานนามวิทยาลัยครูใหม่แทนชื่อ “วิทยาลัยครู” 

  - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ 

  - คำว่า “ราชภัฏ” แปลว่า ข้าราชบริพารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

  - จากภารกิจที่เปลี่ยนแปลงและการได้รับพระราชทานชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏ” การมีปณิธานที่จะทำหน้าที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น     - จึงได้ขอแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู เปลี่ยนเป็น พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๓๘ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นผลให้ วิทยาลัยครูทั่วประเทศ ๓๖ แห่ง กลายเป็นสถาบันราชภัฏ ๓๖ แห่ง ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ๖ แห่ง ..

  - พ.ศ. ๒๕๔๗ มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ” ส่งผลให้ “สถาบันราชภัฏ” กลายเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฎ” ในปัจจุบัน 

  * ท่านผู้อ่านครับ ในสมัยก่อน การศึกษาภาคบังคับของเราคือชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนก็มีไม่มาก ยิ่งโรงเรียนมัธยมศึกษานั้นจะมีเฉพาะในตัวจังหวัด หรือตามอำเภอใหญ่ ๆเท่านั้น โอกาสทางการศึกษาของนักเรียนทั่วไปมีน้อยนัก นักเรียนที่ จะเรียนต่อได้ ต้องเข้าองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ หัวดี ใจสู้ และครอบครัวต้องมีฐานะพอสมควรที่จะส่งเสียได้ แต่ก็มีนักเรียนหลายคนที่ขาดองค์ประกอบด้านที่สาม แต่ด้วยความเข้มข้นของข้อ ๒ คือ “ใจสู้” ก็ สามารถเดินไปถึงจุดหมายแห่งความสำเร็จได้เหมือนกัน

  - เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แต่มีข้อจำกัดเรื่องการเรียนต่อสายสามัญ ก็ต้องเบนเข็มมาสายอาชีพ คือ อาชีวศึกษา หรือ สายครู ๓ สายอาชีพ           - นักเรียนที่มีความถนัดทางด้านนี้ก็จะมุ่งไปเรียนที่ โรงเรียนการช่าง โรงเรียนเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพ เรียนกัน ๓ ปีจะได้วุฒิ ม.ศ. ๖ ซึ่งเทียบได้กับ ประกาศ นียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปัจจุบัน 

   - สายครู นักเรียนที่ต้องการเรียนครู ก็มีทางเลือกที่จะสอบเข้าเรียน ป.กศ. ที่วิทยาลัยครูซึ่งตั้งอยู่ ในจังหวัดใหญ่ ๆ เรียน ๓ ปี ได้ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา สามารถออกมาสอบบรรจุเป็นครูได้เลย บางคนจบ ป.กศ.แล้ว อายุยังไม่ครบ ๑๘ ปี ไม่สามารถสอบเข้ารับราชการได้ หรือต้องการเรียนต่อ ในระดับที่สูงขั้น ก็เรียนต่อ ป.กศ.สูง อีก ๒ ปี ได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ซึ่งเทียบได้กับ อนุปริญญา แล้วออกไปสอบบรรจุเข้ารับราชการ หรือจะเรียนต่อระดับปริญญา คือ เรียนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ก็ต้องไปสอบแข่งขันเพื่อเข้าเรียนที่ “วิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ : ชื่อย่อว่า “มศว” ) จบมาได้วุฒิปริญญาตรี แล้วจึงค่อยมาสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู 

  -สมัยนั้นประเทศไทยกำลังขยายโอกาสทางการศึกษา จึงต้องการครูมากเป็นพิเศษ สถาบันผลิตครูหลัก คือ วิทยาลัยครู และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเร่งผลิตครูเป็นการใหญ่ มีการเปิดภาค่ำ ที่เรียกว่า “ทไวไลท์” ทำให้เกิดความนิยมเรียนครูกันมาก แม้แต่ข้าราชการสายอื่น ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ตำรวจ ก็ยังสมัครเข้าเรียนเพื่อเพิ่มวุฒิทางการศึกษา ทหารตำรวจชั้นประทวนหลายคนก็ได้ปริญญาด้านการศึกษา นำไปเทียบหรือปรับวุฒิเป็นชั้นสัญญาบัตรมีตัวอย่าง ให้เห็นมากมาย 

 - นักศึกษาวิทยาลัยครูหลายคน เป็นนักเรียนเรียนเก่ง สมัยแรกๆนั้น มีการคัดเลือกนักเรียนที่เป็น หัวกระทิสอบได้ที่ ๑ ที่ ๒ ของจังหวัด ส่งไปเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แล้วกลับมา เป็นครู 

 - หลายๆท่าน ได้รับความสำเร็จในชีวิตราชการ ได้เป็นอธิบดี ปลัดกระทรวง อธิการบดี กันมากมาย ในยุคต่อมาก็ยังคงมีนักเรียนเก่งๆ เป็นลูกชาวไร่ชาวนา หรือชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำ ที่พ่อแม่ไม่สามารถส่งให้เรียนมหาวิทยาลัยได้ ก็ใช้เส้นทางจากการเรียนวิทยาลัยครูไล่เลาะไปหาความสำเร็จอีกจำนวนไม่น้อย โดยการเรียนให้จบ ป.กศ. แล้วสอบบรรจุเป็นครู ระหว่างเป็นครู สมัครเรียนหลักสูตร ประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ซึ่งเป็นการศึกษาทางไกลรูปแบบการศึกษาคล้าย ๆ กับ รามคำาแหง หรือ มสธ. ในปัจจุบัน ถึงเวลาก็ไปสอบที่ตัวจังหวัด ซึ่งมีเงื่อนไขต้องสอบได้ ๔ ชุด ครูเก่งๆ บางคนใช้เวลาเพียง ๑ ปี ก็สอบพ.ม.ได้  นำมาปรับวุฒิ (ซึ่งวุฒิ พ.ม. เงินเดือนได้สูงกว่า ป.กศ.สูง ๒ ขั้น)

  - ได้ พ.ม.แล้ว สอบเรียนต่อระดับปริญญาตรี ที่เรียกว่า "เรียน กศ.บ. ภาคค่ำ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้เวลาเรียน ๒ ปี เศษ ก็จบปริญญาตรี หรือจะลาศึกษาต่อภาคปกติก็ได้ 

  - ครูปริญญาตรีสมัยเมื่อสามสี่สิบกว่าปีที่ผ่านไปนั้น ในอำเภอหรือจังหวัดแทบจะนับตัวได้ จึงนับว่าเป็น “คนดัง โก้หรู" ในวงการศึกษา หลายๆท่านได้อาศัยเงินเดือนครู ทำงานไป เรียนไป จนจบปริญญาโท ปริญญาเอก พร้อมทั้งพัฒนาตนเอง มาเป็นศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารการศึกษา มาเป็นศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรืออธิการ อธิการบดี เลขาธิการ ฯลฯ 

 -ในสาย ผู้สอนหลายท่านเป็น ครูที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ เทียบกับข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ ระดับ ๑๐ สมัยก่อน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการศึกษามากมาย …นั้นคือ เส้นทางการศึกษาของครู ซึ่งปัจจุบันนับอายุก็ใกล้หรือเกินกว่าห้าสิบปีไปแล้ว ซึ่งถ้าไม่บันทึก เอาไว้ก็คงจะเลือนหายไป"…

*ครู ป.กศ. - แหวนเพชร วงทอง

 

คำสำคัญ (Tags): #"ครู ป.กศ"
หมายเลขบันทึก: 716125เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2023 04:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2023 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท