โครงการหมู่บ้านต้นแบบปลอดคนจน


หมู่บ้านต้นแบบปลอดคนจน หลุดพ้นยาเสพติด จิตใจใฝ่ดี มีสุขภาพแข็งแรง

(3) โครงการหมู่บ้านต้นแบบปลอดคนจน หลุดพ้นยาเสพติด จิตใจใฝ่ดี มีสุขภาพแข็งแรง 

 1.      คำสำคัญ        : สุขภาพองค์รวม  2.      จังหวัด :  ขอนแก่น 3.      กลุ่มเป้าหมาย  : ชาวบ้านหนองปิงหมู่ 10, 18 ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น 4.   เป้าหมาย        : โดยตัวของพ่อเวชเองเป้าหมายของการทำงานคืออยากขยาย credit union ไปทำกลุ่มข้าวอินทรีย์ เพื่อให้เกิดการผลิตที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี และยังคงรวมกลุ่มกันในชุมชนได้ด้วย ส่วนงานด้านสุขภาพนั้นพ่อเวชสนใจเรื่องการผลิตข้าวที่ปลอดสารเคมี และลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร แต่เป้าหมายโดยรวมของโครงการยังครอบคลุมมิติอื่นด้วย คือ เพื่อเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการพัฒนาองค์ความรู้แบบองค์รวม และบูรณาการสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต (ทั้งด้านอาชีพ ด้านสุขภาพกาย ใจ สังคม และด้านวัฒนธรรม) โดยให้มีการพัฒนาการประกอบอาชีพหลัก อาชีพรอง ไปสู่ทิศทางที่ยั่งยืน ผ่านการใช้เกษตรปลอดสาร 5.   สาระสำคัญของโครงการ  : จากการที่คุณพรศักดิ์ NGO. ในพื้นที่ได้เข้าร่วมประชุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน แล้วพบว่าเป็นกลุ่มที่มีความสนใจทำงานเรื่องสุขภาพอย่างเข้มข้น จึงเสนอให้ร่วมกันคิดถึงปัญหาที่ชาวบ้านต้องการแก้ไขก่อนที่จะไขอทุนจาก สสส. พบว่าคนในชุมชนมีความต้องการทำงานในประเด็นสุขภาพต่างกัน แบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ กลุ่มพ่อบ้านแม่บ้านต้องการให้หมูบ้านไม่มีคนยากจน (เน้นเรื่องเศรษฐกิจ) รวมทั้งต้องการแก้ปัญหายาเสพติดและการมั่วสุมในกลุ่มเยาวชนด้วย และกลุ่มแม่บ้านต้องการให้มีกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย จึงได้คุยกันเพื่อหากิจกรรมที่จะบูรณาการทั้ง 4 ประเด็นได้กับทุกกลุ่ม ทั้งพ่อบ้าน แม่บ้าน คนเฒ่าคนแก่ และเยาวชน จึงคิดว่าน่าจะมีการดึงเอาเรื่องจิตใจเข้ามาด้วย นอกจากเรื่องกาย และเศรษฐกิจ เมื่อมีการพูดคุยที่วัด กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ก็ต้องการให้มีการรื้อฟื้นฮีต 12 คอง 14 (ประเพณี 12 เดือน) อันเป็นวัฒนธรมเก่าแก่ของชุมชนภาคอีสาน จึงออกมาเป็น 4 ประเด็นหลักคือ ปลอดคนจน หลุดพ้นยาเสพติด จิตใจใฝ่ดี (ผ่านการรื้อฮีต 12 คอง 14) มีสุขภาพกายแข็งแรง 6.   เครื่องมือที่ใช้ : เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองเป้าหมาย 4 ข้อ คือ (1) ปลอดคนจน โดยการสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำยาล้างจานสบู่ ฯลฯ ใช้เอง ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย (2) หลุดพ้นยาเสพติด และ (3) จิตใจใฝ่ดี ดำเนินการผ่านการรื้อฮีต 12 คอง 14 เพื่อให้ทุกคนทุกเพศ ทุกวัยมาร่วมกิจกรรมกัน ใช้วเวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สนับสนุนให้วัยรุ่นรวมกลุ่มเป็นกลุ่มเยาวชน ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ในหมู่บ้าน (4) มีสุขภาพกายแข็งแรง โดยสนับสนุนการออกกำลังกายของกลุ่มสตรีในหมู่บ้าน 7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : การทำงานดำเนินการผ่านการประชุมในกลุ่มสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และกิจกรรมต้นแบบ โดยเฉพาะเรื่องการทำเกษตรปลอดสาร มีกลุ่มที่ทำเป็นต่างเพื่อให้เห็นผลดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดต้นทุน สุขภาพที่ดีขึ้น และผลผลิตที่มีคุณภาพ ส่วนกลุ่มแม่บ้านก็มีการรวมตัวกันและเชิญวิทยากรมาจัดอบรมการผลิตของใช้เอง เช่น สบู่ น้ำยาล้างจาน แชมพู น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการปลูกหญ้าเลี้ยงวัว เอามูลวัวมาทำปุ๋ยหมัก เป็นวงจรการเกษตรปลอดสาร ตลอดจนรวมกลุ่มกันออกกำลังกายแอโรบิกในหมู่บ้าน นอกจากการประชุมที่เครติดยูเนี่ยน ยังมีการรวมกลุ่มประชุมาที่วัดกับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยกันรื้อฮีต 12 คอง 14 โดยให้ผู้อาวุโสให้ข้อมูลประเพณีที่เคยทำสืบต่อกันมาแล้วรื้อฟื้นขึ้นใหม่ เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดีที่ทำให้คนได้มารวมตัวกัน ปรับทุกข์พูดคุย และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อีกทั้งยังส่งผลให้เยาวชนมีกิจกรรมร่วมกับคนแก่ มีการรวมกลุ่มเยาวชนทำกิจกรรมกันเอง เช่น จัดงานวันลอยกระทง เพื่อเป็นการดึงเยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติดอีกทางหนึ่ง 8.   ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการประมาณ 8 เดือน (15 พฤษภาคม 2547 – 31 มกราคม 2548) โดยทำงานกับชาวบ้าน 2 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 1,493 คน เป็นชาย 811 คน หญิง 782 คน  9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : โครงการไม่มีการประเมินผลอย่างเป็นทางการ แต่มีการสำรวจยอดผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีการพูดคุยกันว่าเรื่องฮีต 12 คอง 14 เด็กวัยรุ่นยังไม่ให้ความสนใจมากนัก การลดต้นทุนหรือการเป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดคนจนจึงเป็นกิจกรรมที่ทีมงานประเมินว่าได้ผลสำเร็จ และน่าจะมีจำนวนผู้ทำเกษตรปลอดสารมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ ฮีต 12 คอง 14 และกิจกรรมเกี่ยวกับเยาวชนยังต้องใช้เวลา และมีการขยาย ตอกย้ำการทำงานต่อไปอย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถประเมินผลสำเร็จได้ 10. ความยั่งยืน     : ด้วยความที่มีการออกแบบโครงการที่เชื่อมกับวิถีชีวิตของชุมชน ทำให้กิจกรรมบางอย่างประสบความสำเร็จสูง บางอย่างก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้เป็นเพราะโครงการมีการทำกิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งมีเพียงบางกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ การลดต้นทุนการผลิตโดยการหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนสารเคมี ซึ่งปัจจุบันสามารถขยายผลได้เกือบทั้งหมู่บ้าน ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ยังไม่แน่ชัดว่าจะเกิดความยั่งยืนหรือไม่ 11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : จุดแข็งสำคัญคือตัวองค์กรสหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยนเป็นองค์กรชาวบ้านที่รวมตัวทำงานมากว่า 20 ปี จากประสบการณ์ยาวนานของคณะกรรมการ ก่อให้เกิดการทำงานที่เข้าขากัน ทำงานเป็นทีมได้ดี เป็นฐานทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์และที่มาของปัญหาในชุมชน รวมทั้งทางออกที่น่าจะเป็น นอกจากนี้เนื้อหาที่มีการคุยกันในกลุ่มสมาชิกยังเป็นเรื่องปากท้องและวิถีชีวิต ซึ่งทุกคนให้ความสนใจและให้ความร่วมมือค่อนข้างสูง ส่วนอุปสรรคคือเรื่องของการไม่เข้าใจความต้องการของเยาวชน อีกทั้งเวลาว่างก็ไม่ตรงกัน ทำให้คณะทำงานคิดว่า กิจกรรมเยาวชนยังไม่ค่อยได้ผล แม้จะตีกันน้อยลง แต่ทีมงานก็มองว่าโครงการยังดึงเยาวชนมาร่วมกิจกรรมได้น้อย รวมทั้งโครงการเองก็ให้เวลาและความสนใจกับกลุ่มเยาวชนน้อยกว่าประเด็นอื่น ๆ  12.  ที่ติดต่อ   : สหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยน หนองปิงออมทรัพย์จำกัด ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น พ่อเวช กองกุล (อายุ 63 ปี) 043-448043  

 

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพองค์รวม
หมายเลขบันทึก: 71600เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท