เรื่องเล่าการจัดการความรู้จังหวัดชุมพร


ในฐานะที่สำนักงานจังหวัดชุมพร รับผิดชอบโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กร โดยดำเนินการ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 และ 2 เป็นการดำเนินการให้ส่วนราชการ ในจังหวัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้รู้จักและสามารถใช้เครื่องมือ "KM" ได้ ส่วนที่ 3 เป็นการให้ความรู้ใหม่ในเชิงวิชาการ

ในช่วงแรกยอมรับว่า การดำเนินการอาจมีความสับสนไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ต้องใช้เวลาในการศึกษา แม้ว่าได้รับฟังการบรรยายในเชิงทฤษฎี และได้ฝึกปฏิบัติ แต่ยังมองไม่เห็นภาพ แถมยังสับสนด้วยซ้ำว่า จะทำขั้นตอนไหน ก่อนขั้นไหน ทำให้ต้องกลับมาอ่านทฤษฎีทั้งหมด อีกครั้ง พร้อมกับอ่านวิธีการปฏิบัติ ที่แต่ละชุมชนดำเนินการ ใน"จดหมายถักทอสายใย" ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ เมื่ออ่านความต่อเนื่องในจดหมายแต่ละฉบับ ผนวก กับการฝึกปฏิบัติที่อาจารย์วิจารณ์ พานิช ได้มาสาธิต get idea เลยค่ะ มันเหมือนการบรรลุ ปิ้ง เข้ามาในหัว เลยว่า มันเป็นอย่างนี้นี่เอง ยอมรับค่ะว่า ไม่ทำไม่รู้  

ดังนั้น เมื่อได้นำมาปฏิบัติกับส่วนราชการใหม่ 75 หน่วยงาน ซึ่งอบรมและฝึกปฏิบัติไปแล้ว 38 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2548 เข้าที่เลย แม้ว่าตอนนี้ยังไม่ได้ฝึกปฏิบัติการทำตารางอิสรภาพ แต่เกิดขั้นตอนการทำ KM ที่ไม่สับสน   ถ้าใครที่ได้มาดูการอบรมในครั้งนั้น จะเห็นภาพการมีส่วนร่วมที่ดีในแต่ละกลุ่ม ทุกกลุ่มซึ่งแบ่งตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง จะร่วมคิด KV หา CC หลัก และ CC ย่อย  ในกลุ่มซึ่งมีประธาน เลขา ผู้ช่วยเลขา จะมีหน้าที่ในการส่งงาน ตรวจงาน ตามบทบาทของตัวเอง

อยากจะบอกว่าตอนนี้มีความสุขมากค่ะ (แม้ว่าในช่วงแรกเสียใจ บั่นทอนจิตใจมาก ๆๆๆๆ)  ที่ได้นำเรื่อง การจัดการความรู้เข้ามาให้ส่วนราชการ หน่วยงานจังหวัดชุมพรได้รู้จัก ซึ่งอาจจะเป็นภาระของหน่วยงาน แต่เป็นวัฒนธรรมใหม่ ที่ส่วนราชการ น่าจะได้ใคร่ครวญ  แม้ว่าอาจจะไม่สมบูรณ์มากนัก หรือ เข้าถึงความเป็นชุมชนนักปฏิบัติตลอดกาล แต่ครั้งหนึ่งเราได้ทำ และอาจทำได้

การดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่สามารถผ่านมาได้ถึงขั้นตอนนี้ ถ้าไม่ขอบคุณ  คุณพรสกล ณ ศรีโต ผู้ลงทั้งแรงและใจ ก็กระไรอยู่ 

บันทึกโดย  นางจุรีรัตน์  จันทร์ภักดี  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6ว สำนักงานจังหวัดชุมพร ผู้รับผิดชอบโครงการฯ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 716เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2005 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 

                ขอเป็นกำลังใจ..ให้กับโครงการพัฒนาคน...ควรทำอย่างต่อเนื่อง

               เมือคนมีคุณภาพ...องค์กรย่อมก้าวไปสู่..องค์กรแห่งการเรียนรู้

                                          สุรีย์ ..ต่ะ

ขอให้กำลังใจครับ   อยากให้เล่าตัวกิจกรรม KM ในงานประจำของหน่วยงานที่เอาไปใช้จริงๆ

วิจารณ์

อาจารย์ครับ

               มีตัวอย่างเรื่องของการประยุกต์ใช้เครื่องมือในการดูแล ป้ายสัญญานจราจรของแขวงการทางชุมพร  ที่มีหน่วยงานย่อยคือหมวดการทางได้ไปประยุกต์ใช้แล้วนำมาถ่ายทอดให้หมวดการทางอื่นๆ นำไปใช้ครับ  และมีอีกหลายตัวอย่าง  วันหลังจะนำมาถ่ายทอดเป็นขุมความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงครับ

                                                  ขอบคุณมากครับ

                                                  พรสกล  ณ ศรีโต

                                                  4/7/2548

พวกเรา สคส. เฝ้าดูชุมพรมาตลอดค่ะ   ดีใจที่ได้เห็นความพยายามสานต่อ KM ของ จ. ชุมพร ด้วยการทำ Workshop ให้กับหน่วยย่อยต่างๆ และได้นำเข้าไปใช้ในงานประจำบ้างแล้ว  ตามที่คุณพรสกล เล่า (เป้าหมายของ KM ก็คือเป้าหมายของงาน)  และถ้ามีโอกาสจะได้ชวนทางชุมพรมาเล่าให้กับภาคีจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

                                           เป็นกำลังใจให้คะ

                                              วรรณา (อ้อ)

ขอบคุณครับ

               ด้วยความยินดีครับ และคงต้องขอขอบคุณทาง สคส. ที่มาเริ่มต้นจุดประกายให้พวกเราเมื่อเดือนพฤษภาคม     วันนี้เรากำลังพยายามเรียนรู้กระบวนการขับเคลื่อนฟันเฟืองตัวเล็กๆ(หน่วยงาน)จำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นจังหวัดชุมพรให้สามารถเดินหน้าหมุนเฟือง KM ไปด้วยกันครับ 

               ในห้องบรรยาย KM รุ่นที่ 2 หลังจบการบรรยาย 

                                                  พรสกล  ณ ศรีโต

                                                      4/7/2548

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท