นักกิจกรรมบำบัดกับวิธีในการดูแลให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ


เรารู้จักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายดีแค่ไหนกัน?

รูปภาพจาก : https://shine365.marshfieldclinic.org/wellness/end-of-life-people-have-care-options/

 

Palliative care and End of life care

     การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตั้งแต่ผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่จะทรุดลงเรื่อยๆจนถึงช่วงที่ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งสามารถให้การรักษาควบคู่กับการรักษาหลักเช่นการรักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยก็ยังได้รับการรักษาแบบมาตรฐาน เช่นการรับเคมีบำบัด การรับการรักษาการฉายรังสี โดยไม่ได้ไปจำกัดการรักษาที่ผู้ป่วยควรได้รับ แต่ในระยะท้ายที่สภาวะร่างกายของผู้ป่วยอาจไม่เหมาะสมกับการรักษาเดิม เช่น การรักษาเคมีบำบัด การรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวโรค เข้าใจการพยากรณ์ของโรค เข้าใจการรักษา และเข้าใจถึงผลประโยชน์ และความเสี่ยงจากการรักษา และช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจในการรับการรักษาได้ดียิ่งขึ้น โดยการดูแลแบบประคับประคองจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ

     ซึ่งบทบาทของทีม palliative care คือการคงความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตของผู้ป่วยให้อยู่ได้นานที่สุด รวมถึงการควบคุมอาการต่างๆ สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจตัวโรค และการดำเนินของโรค เพื่อตั้งเป้าหมายในการรักษาแบบประคองร่วมกัน และเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วก็จะดูแลสภาพจิตใจของญาติผู้ป่วยต่ออีกด้วย

 

รูปภาพจาก : https://www.caringinfo.org/types-of-care/

 

จากรูปภาพด้านบนสังเกตเห็นว่า Palliative care สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาปกติ (Curative care )เพื่อควบคุมอาการของโรคได้ และเมื่อถึงจุดที่รู้แล้ว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นเหลือเวลาในการมีชีวิตอยู่แค่ประมาณ 6 เดือน ก็จะเริ่มวางแผนการหยุดให้การรักษาปกติและเน้นไปที่การรักษาแบบเตรียมความพร้อมไปสู่การเสียชีวิตอย่างสงบสุข (Hospice care ) เตรียมความพร้อมในด้านจิตใจ จิตวิญญาณ ของทั้งผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ปรับการดูแลให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งจะรวมไปถึงช่วงที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้ว มีการดูแลติดตามญาติของผู้ป่วยร่วมด้วย

สรุป Palliative care โดยรูปภาพจาก : https://hpc.providencehealthcare.org/about/what-palliative-care

 

Occupational therapy role in Palliative care

     นักกิจกรรมเป็นหนึ่งในสหวิชาชีพทางการแพทย์ มีหน้าที่ในการประเมิน และบำบัดรักษา ผู้รับบริการที่มีปัญหาในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ตลอดทุกช่วงวัยจนถึงช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

  • Promote : ส่งเสริมความสามารถในการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิตให้ได้มากที่สุด ภายใต้การดำเนินของโรคที่เสื่อมลงไปเรื่อยๆ จนผู้ป่วยเสียชีวิต (Occupational performance) ด้วยการประเมินและให้การบำบัดอย่างเข้าใจในบริบทส่วนบุคคล และการดำเนินของโรค

 

  • Maintain : ให้การช่วยเหลือในการบริหารจัดการกับอาการปวด การหายใจ อาการเหนื่อยล้า ทางกายและทางจิตใจ ของผู้ป่วย รวมถึงการให้คำปรึกษากับผู้ดูแล และญาติ, ให้การช่วยเหลือใน เรื่องการจัดการมรดก การเขียนพินัยกรรม โดยนักกิจกรรมบำบัดสามารถประเมิน Performacne skills ได้ว่าเหมาะสมหรือไม่ในการเซ็นต์เอกสาร

 

  • Modify : ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านรวมถึงในสถานพยาบาลให้มีความปลอดภัย และเหมาะสมกับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย มององค์รวมถึงครอบครัว ผู้ดูแล และตัวผู้ป่วย ให้ผู้รับบริการได้เลือกสถานที่การดูแลในระยะสุดท้ายด้วยตนเอง

 

  • Prevent : ให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย และแนวทางการป้องเพื่อ ลดความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บกับผู้ดูแล และตัวผู้ป่วย รวมถึงป้องกันภาวะความเครียดสะสมในผู้ดูแล

 

แหล่งอ้างอิง : Position paper occupational therapy in palliative care จาก Occupational therapy Australia 2015 และนำมาเชื่อมโยงตาม Approach ของ OTPF 4th edition, 2020

 

Key concepts ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

1.Valued Occupation 

     นักกิจกรรมบำบัดใช้ Client-centerd approach ในการค้นหากิจกรรมที่มีคุณค่าและมีความหมายกับผู้ป่วย 

 

2.Doing, Being, Becoming, Belonging Occupations

  • Doing คือ กิจกรรมที่ผู้ป่วยกระทำได้เองซึ่งขึ้นกับความสามารถและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เช่น การดูแลตนเอง, การออกไปนอกบ้าน เป็นต้น
  • Being คือ กิจกรรมที่แสดงความเป็นตัวผู้ป่วยเอง  มีความเป็นมนุษย์ มีอัตลักษณ์ประจำตัว มีประสบการณ์ในอดีต ตัวตนในปัจจุบัน 
  • Belonging คือ กิจกรรมที่แสดงการคงอยู่ของผู้ป่วย การเล่าเรื่องราวสำคัญกับครอบครัว การทำพินัยกรรม 
  • Becoming คือ กิจกรรมที่ต้องใช้การตัดสินใจเลือกมา มีความเสี่ยง มีข้อจำกัด และสามารถค้นหาวิธีในการได้มาซึ่งกิจกรรมนั้นได้

 

3.Occupational changed over time 

     การดำเนินของโรคต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความต้องการของผู้รับบริการมีการเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ

 

4.Affirming life and preparing for death

  • Affirming life คือ การยืนยันถึงการได้มีชีวิต ได้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต คงไว้ซึ่งการดำเนินชีวิตปกติ โดยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เลือกได้จัดการด้วยตนเอง
  • Preparing for death คือ การเตรียมความพร้อมสู่การจากไปอย่างสงบ ผู้บำบัดช่วยเหลือในการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายมากที่สุด 

 

5.Safe and Supportive environment 

     นักกิจกรรมบำบัดมีส่วนร่วมในการสอนทักษะการดูแลผู้ป่วยที่สำคัญให้กับครอบครัว และช่วยให้ครอบครัวผ่ายช่วงเวลาที่ยากลำบาก และโศกเศร้าไปให้ได้ (Assistive devices, Home modification, Discharge plan, Crisis management, Energy conservation, edema management, Fall prevention, Positioning, ROM, Mobility and Transfer training)

 

A Model for Occupation-based Palliative Care

สรุป เป้าหมายหลักของนักกิจกรรมบำบัดคือ การช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีประสบการณ์ในการจากไปอย่างสงบสุข นั้นคือ “ a Good death “ (Mills & Payne, 2015) ซึ่ง A Good death สามารถนิยามได้ดังต่อไปนี้

  • Pace 
  • Holism 
  • Awareness 
  • Preparedness
  • sense of control
  • Being able to contribute with others

(Jacques & Hasselkus, 2004 )

จาก Key concepts ทั้ง 5 ข้อ ทำให้นักกิจกรรมบำบัด แสดงถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัวของผู้ป่วย ยอมรับ การจากไปอย่างสงบ “ a good death ” 

How to prepare for a good death |

รูปภาพจาก : https://ideas.ted.com/how-to-prepare-for-a-good-death/

“We can choose how we live – why not how we leave? A free society should allow dying to be more deliberate and imaginative”

 

แหล่งที่มา 

 ความหมายของ Palliative care > https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/palliative-care 

บทบาทของ OT > https://otaus.com.au/publicassets/6d5829df-2503-e911-a2c2-b75c2fd918c5/Occupational%20Therapy%20and%20Palliative%20Care%20(August%202015).pdf

Model > https://www.researchgate.net/publication/324718012_A_Model_for_Client-centered_Occupation-based_Palliative_Care_A_Scoping_Review

บทความปิดเรื่องจาก > https://aeon.co/essays/if-you-could-choose-what-would-make-for-a-good-death

 

ขอขอบคุณในการอ่านบทความนี้

จัดทำโดย

6423002 น.ส.ชัญญานุช ขุนนุ้ย

6423012 น.ส.รัตนวลี บางจริง

6423015 น.ส.กัญภาภัค อาชีวกุลมาศ 

6423024 นายพีรพัฒน์ ห่านชัย

6423028 นายศุภัสสินธ์ุ ทองสุขแสงเจริญ

 

หมายเลขบันทึก: 715996เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2023 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2023 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท