ระบบกรองน้ำด้วยวัสดุกรองจากธรรมชาติ ๑


ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมา โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการประยุกต์เกษตรทฤษฎีใหม่ (โครงการโคก หนอง นา …. ผมเรียกของผมเองว่า “สาโนนนา” … (ท่านคงไม่ว่าอะไร)) ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง มีแปลงโคกหนองนาเกิดใหม่มากกว่า ๒๕,๐๐๐ แปลงทั่วประเทศ … เฉพาะจังหวัดมหาสารคาม น่าจะไม่น้อยกว่า ๓,๕๐๐ แปลง …. 

แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่เกือบทั้งหมด ไม่ได้อยู่ในเขตบริการของน้ำประปาชุมชน เกษตรกรแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ด้วยการรองน้ำฝนและเจาะน้ำบาดาลในแปลงฯ แต่ปัญหาในหลายพื้นที่คือน้ำบาดาลกร่อย ทำให้ไม่สามารถจะใช้น้ำบาดาลได้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้จึงเป็นเพนพอยท์ (pain point) สำคัญ ที่ต้องแก้ไข

ระบบกรองน้ำด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น หิน กรวด ทราย และ ถ่าน เหมาะสมที่สุดสำหรับแก้ปัญหานี้ เนื่องจากราคาถูก เกษตรกรสามารถสร้างเอง ดูแลรักษาเองได้ วัสดุที่ใช้สามารถหาได้เอง ผลิตได้เองโดยไม่ต้องซื้อ  

ผมเคยพานิสิตศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบของน้ำ ก่อนและหลังจากผ่านระบบกรองน้ำด้วยวัสดุธรรมชาติแบบ ๔ ถัง ที่เผยแพร่โดยอาจารย์โจน จันได … ท่านใดสนใจดูคลิปที่นี่ครับ  ระบบที่เราทำขึ้นในตอนนั้น (๒๕๖๔) ยังใช้งานอยู่จนถึงวันนี้ ดังภาพ 

ข้อค้นพบที่สำคัญ ๆ ตอนนั้นได้แก่ 

  1. สามารถกรองน้ำผิวดินที่มีสีขุ่นเหลือง ให้เป็นน้ำไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สามารถนำไปใช้ในการอุปโภคได้ 
  2. น้ำที่ผ่านการกรองจากถังถ่านไม้ไผ่ มีค่า pH สูงขึ้นโดยเฉลี่ย เป็น  8.0 – 10.0 ขึ้นอยู่อัตราส่วนระหว่างถ่านกับน้ำ 
  3. ปริมาณของธาตุเหล็กลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อผ่านการกรองจากถังถ่านไม้ไผ่  ปริมาณของธาตุแคลเซียมเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณโซเดียมมีค่าลดลง ตามข้อมูลดังตารางด้านล่าง 

ปีนี้ ๒๕๖๖ ผมกำลังพานิสิตพัฒนาระบบกรองน้ำระบบคล้ายกันนี้ เราทำกันมาได้ครึ่งทางแล้ว ดังรูปด้านล่าง … ผมตั้งใจว่า จะกลับมาเริ่มเขียนบันทึก เพื่อสื่อสารระหว่างผู้สนใจ ที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันในเรื่องนี้  … ท่านใดสนใจก็ติดตามครับ ….

หมายเลขบันทึก: 715811เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have some info that might show that scaling up applications is good for Thailand

https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/122963-inves09-545-10099.html ..สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบว่า งานจัดซื้อจำนวน 8 โครงการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดอำนาจเจริญ รวม 11 เครื่อง จำนวนเงิน 15,400,000.00 บาท ราคาเฉลี่ย 1,400,000 บาท/เครื่อง มีปัญหาการใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้ง 11 แห่ง หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถใช้ประโยชน์เครื่องแปลงขยะฯ ได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่คุ้มค่า และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งเสียโอกาสในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในด้านอื่น คิดเป็นมูลค่า 15,394,000 บาท พร้อมแจ้งข้อเสนอแนะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญแก้ไขปัญหาต่อไป.. ก็เป็นเอกชนกลุ่มเดียวกับ บริษัท อีเกิ้ล ดรีม จำกัด [บริษัท วอเทอร์ป๊อก จำกัด]ที่เป็นเจ้าของสินค้าในบัญชีนวัตกรรมไทย (see https://innovation.bb.go.th/ ) ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Purifying Unit) ปรากฏชื่อเป็นคู่สัญญา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลายแห่ง [See also https://www.nstda.or.th/innovation/ ]

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท