ควอนตัมดอท การค้นพบความมหัศจรรย์และงานวิจัยทางเคมีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น


คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมการเสวนาพิเศษสืบเนื่องจากการประกาศผลรางวัลโนเบล  ประจำปี 2566 ซึ่งผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ทั้ง 3 คนมีผลงานการค้นพบและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมดอท Quantum dot .... จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส และมีนักวิจัยที่ได้ศึกษา วิจัย ค้นหว้า และประยุกต์ใช้ควอนตัมดอท จนค้นพบและเข้าใจ “ควอนตัมดอท” เป็นอย่างดี 

ผมสมัครเข้าฟัง “ควอนตัมดอท”  ทั้งโดยคิดว่า “ลองไปเรียนรู้เรื่องที่ไม่เคยรู้(จัก) ดูบ้างจะเป็นไร” กับ “ไปเรียนรู้จากคนรู้จักในเรื่องที่ไม่เคยรู้ก็น่าจะดี”  ทำตัวเป็นนักเรียนอีกครั้ง และดันไปอยู่ในคลาสของคนรู้จัก.... ความรู้มีมากมายเกินกว่าจะนับได้ แต่สมองอันน้อยนิดก็มีพร่องอยู่ ไปเติมสาระกันบ้างก็น่าจะดีไม่น้อย 

ชื่นชม ชื่นชอบกิจกรรมนี้มาก เพราะได้เปิดโลกทางความรู้และความคิดเรื่องราวของ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ที่มีการคิดค้น ค้นพบ และนำใช้ เพื่อมวลมนุษยชาติ ได้รู้จัก “ควอนตัมดอท” แม้จะเพียงผิวเผิน และได้กลับไปสู่วิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านเคมีที่ผมมีความรู้เพียงหางอึ่ง  แม้จะเรียนจบวิทยาศาสตรบัณฑิตมาก็ตาม และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการได้เห็นมุมว่า เราสามารถจะเรียนรู้ “ศาสตร์” ที่เราเรียนมาด้วยอีกสาขาหนึ่งของรางวัลโนเบล “เศรษฐศาสตร์”  ที่มี ศาสตราจารย์เคลาเดีย โกลดิน มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด  จาก  ผลงานการค้นคว้าวิจัยที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับช่องว่างและความไม่เท่าเทียมทางเพศในตลาดแรงงาน ผลงานการวิจัยที่ศึกษาการทำงานของผู้หญิงในตลาดแรงงานทั่วโลกตลอด 200 ปีที่ผ่านมา พบว่า ค่าจ้างในการทำงานของผู้หญิงไม่เคยทัดเทียมเทียบเท่ากับผู้ชาย และความแตกต่างเรื่องค่าจ้างยังคงเกิดขึ้นต่อไป แม้ผู้หญิงจะมีการศึกษาสูงกว่าผู้ชาย  (https://tna.mcot.net/world-1252979)  

ควอนตัมดอท จึงน่าสนใจในมิติของการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และการนำไปใช้ในทางการแพทย์ แต่เศรษฐศาสตร์แรงงานและสวัสดิการนั้น ก็น่าสนใจไม่น้อยหากมองในแง่ของ “ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ” อันเป็นมิติหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติและกระแสสังคมในมิติของความเท่าเทียมของมนุษย์

เราอยู่และทำงานในแวดวงวิชาการ เราจึงชื่นชมคณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญาอันมีอยู่น้อยนิดให้ได้รู้ว่า “การเรียนรู้” ยังไปต่อได้สำหรับคนในวัยที่เกิดและเติบโตมาตั้งแต่โทรทัศน์ขาวดำ จากถึงยุคที่ใช้ควอนตัมดอทผลิดจอภาพโทรทัศน์ QLED

 

เด็กหลังห้อง ณ มอดินแดง

11 ตุลาคม 2566

หมายเลขบันทึก: 714882เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2023 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2023 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท