9 ข้อผิดพลาดที่เธอต้องหยุดในขณะทำการสอน


เป็นผู้ฝึกสอนมาได้ 2-3 ปี ฉันมีโอกาสในการสังเกตและสะท้อนสิ่งที่ดีและแย่ในการสอนที่พวกครูทั้งหลายได้ทำ และนี่คือข้อผิดที่ครูควรจะหยุดในขณะสอน

1. จุดประสงค์การสอนที่ไม่แจ่มชัด: แผนการสอนที่แย่เกิดมาจากจุดประสงค์การสอนที่ไม่แจ่มชัด

บ่อยครั้งแผนการสอนที่ดีที่สุดมาจากความเข้าใจในภาษาที่จะสอนที่มีความแจ่มชัด พร้อมทั้งมีบริบทที่ภาษานั้นจะใช้ จุดประสงค์การสอนที่แจ่มชัดแสดงให้เห็นถึงภาษาที่ต้องการสอนใช้ในสถานการณ์อะไร และจะใช้ภาษาที่สอนอย่างไร (ซึ่งมีทั้งทักษะหลักและทักษะย่อยๆ) รวมถึงบริบทและภาระงานที่กำหนดมาด้วย

ตัวอย่างของจุดประสงค์ในการสอนควรจะเป็น:เมื่อสิ้นสุดการสอน ผู้เรียนจะสามารถใช้ Present Perfect Tense ที่เกี่ยวกับประสบการณ์เรื่องการเดินทาง และสามารถตอบได้อย่างคล่องแคล่วกับคำถามที่ปรากฏในบทสนทนาได้

การมีจุดประสงค์มากเกินไปจะทำให้บทเรียนที่ดีไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะว่าจะมีความต้องการให้ได้บรรลุทุกประสงค์ หากต้องการให้บทเรียนนั้นประสลผลสำเร็จ หนึ่งจุดประสงค์ดีกว่าจุดประสงค์ 5 อย่างที่ไม่มีความแจ่มชัด

2. ครูพูดมากเกินไป

บ่อยครั้งความรู้สึกในการเข้าห้องเรียนอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาขึ้น 2 ประการ แต่มีผลลัพธ์เดียวกัน อันดับแรกคือความกลัว ในขณะที่ครูกลัวการเงียบของผู้เรียน โดยอาจคิดว่านักเรียนไม่สนใจและไม่ฟัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พวกนักเรียนอาจกำลังประมวลผลสิ่งที่ครูสอนอยู่ก็ได้ ความปรารถนาที่จะลดความเงียบลงคือการคุยมากเกินควร แต่สำหรับผู้เรียนแล้ว การที่ครูพูดเป็นสิ่งที่มากเกินไป และเสียงที่ไม่เข้าใจ ที่พวกเขาต้องใช้ความพยายามจึงจะเข้าใจ ผลลัพธ์ประการที่สองคือผู้เรียนหยุดฟังครู โดยคิดไปเองว่ากำลังฟังการบรรยายอยู่ ปฏิกิริยาอื่นๆคือการมองว่านักเรียนเป็นคนก้าวร้าว อันเนื่องมาจากกว่าครูพยายามควบคุมทุกส่วนๆในห้องเรียน โดยการสมาทานกับแนวคิดที่ล้าสมัย ที่มองว่า “ครูรู้ดีที่สุด” ซึ่งอาจมาจากรูปแบบการสอนเชิงบรรยายและมีครูเป็นศูนย์กลาง 

อย่าไปคิดว่าผู้เรียนหมดหวังหรือโง่เง่าเต่าตุ่น ครูยุคใหม่ควรคิดถึงการพูดของครูกับนักเรียนแบบสมดุล และวางแผนกิจกรรมโดยคิดถึงการสื่อสารในใจ กิจกรรมคู่หรือเป็นกลุ่ม เช่น การสัมภาษณ์หรือการสำรวจ จะกระตุ้นให้เกิดการพูดมากกว่าเงียบ ให้ใบงานเป็นคู่ดีกว่าแจกเป็นรายบุคคล จะกระตุ้นให้นักเรียนพูดและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจมีโบนัสที่ให้กับเด็กๆที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (อันนี้ขึ้นกับครู) และยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดเรียนได้ด้วยตนเอง

3. จงตรวจสอบการสอนอย่างมีสติ

บ่อยครั้งที่ครูที่ยิ่งใหญ่มักจะวางแผนกิจกรรมที่สนุกและเน้นให้เด็กๆได้ออกลีลาท่าทาง แต่บางครั้งก็ไม่เป็นตามที่ต้องการ ส่วนหนึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะจุดมุ่งหมายทางการสอนไม่มีความแจ่มชัด ลองพยายามยุทธวิธีใหม่ดู เช่น ใช้คำถามในการตรวจสอบการสอน (ICQs)ม พยายามสอนอย่างช้าๆ, สาธิตกิจกรรมที่สำคัญ (หรือให้นักเรียนช่วยทำด้วย) , ใช้ประกาศหรือแสดงประโยคแรกด้วยตัวของตัวเอง, ให้นักเรียนช่วยให้คำแนะนำหรือวิจารณ์การสอนด้วยตัวของนักเรียนเอง

4. มีความคาดหวังแบบเดียวกันกับนักเรียนทุกคน

บางครั้งครูมีการวางแผนที่ดีมากๆและใช้พวกมันซ้ำแล้วซ้ำอีก ประเด็นเกิดขึ้นตรงที่ครูมีการสอนที่ใช้แล้วสนุก นักเรียนผลิตภาษาที่ต้องการได้มากมาย และครูก็ใช้แผนนี้อีก โดยคาดหมายให้นักเรียนทุกคน สามารถผลิตภาษาได้เหมือนๆกับครั้งที่ผ่านมา สิ่งนี้ไม่ยุติธรรมและเป็นไปไม่ได้สำหรับนักเรียนแต่ละคน และนำไปสู่ความวกวนกับทุกๆคน

จงจำไว้ว่า การวางแผนการสอนควรจะสะท้อนถึงความต้องการของเด็ก และแต่ละชั้นควรแตกต่างกัน  หากการสอนเป็นไปได้อย่างดีและนักเรียนก็ทำได้ดี และทำไมต้องสนใจด้วยหละ? ภาระงานมีการจัดตั้งขึ้นหรือไม่? นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันหรือไม่? มีความคล้ายคลึงในชั้นเรียนของคุณหรือไม่? ส่วนใดควรปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงสำหรับชั้นอื่นๆ? การเปลี่ยนการออกแบบ แผนการสอน ฯลฯ ส่วนใดที่จำเป็นต่อชั้นใหม่? องค์ประกอบพื้นฐานใดที่เหมาะกับนักเรียนชั้นอื่นๆ?

5. การจัดลำดับที่ไม่ค่อยดีและภาษาที่ทำให้เด็กๆเรียนรู้ได้ดี

หนึ่งประเด็นสำหรับครูที่เพิ่งสอนคือการจัดลำดับการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำถามที่ครูควรถามในการวางแผนการสอนมีดังนี้:

-จุดประสงค์หลักและจุดประสงค์รองมีความชัดเจนหรือไม่?

-บริบทของบทเรียนมีคามชัดเจนหรือไม่?

-ภาษาที่จะสอนมีการเสนออย่างชัดเจนและมีประสิทธิผลในท่าทีที่เหมาะสมหรือไม่?

-นักเรียนมีโอกาสในการฝึกภาษาในการกำหนดไว้ก่อนหรือไม่? (controlled way) พวกนักเรียนจะฝึกฝนอย่างไร เป็นคู่ หรือฝึกเอง?

ครูมีการแก้ไขข้อผิดพลาด และให้ผลสะท้อนกลับก่อนมีกิจกรรมที่ไม่ต้องมีครูควบคุมหรือไม่? (freer activities)

-นักเรียนมีการฝึกแบบอิสระ (freer activities) หรือผลิตภาษาใหม่ที่แตกต่างสิ่งที่ครูสอนหรือไม่? (different task-type) พวกนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมนี้อย่างไร เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม?

-บทเรียนทั้งหมดเป็นไปได้อย่างดีหรือไม่? การเปลี่ยนจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเป็นไปตามตรรกะหรือมีจุดมุ่งหมายหรือไม่?

-ในแต่ละภาระงานมีภาษาที่ช่วยให้นักเรียนสามารถฝึกปฏิบัติภาษาในตอนท้ายของชั่วโมงด้วยความมั่นใจหรือไม่? ภาระงานทุกชิ้นมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนและสะท้อนจุดมุ่งหมายบทเรียนหรือไม่?

-บทเรียนตอบสนองวิธีการเรียนรู้ เช่น การออกท่าทาง, ทางตา, ทางหูหรือไม่?

-ภาระงานเป็นไปตามวัฒนธรรม, เหมาะสมกับอายุ, และเชื่อมโยงกับความต้องการของนักเรียนหรือไม่?

6. ไม่สาธิตหรือให้อบบอย่างหรือตัวอย่างในเรื่องไวยากรณ์ 

ในหมู่คำบ่นที่รุมล้อมบรรดาครูคือ “นักเรียนของฉันไม่รู้ไวยากรณ์ แต่ฉันสอนพวกเขาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว การสอนแค่โครงสร้างอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องสอนให้นักเรียนประยุกต์ใช้มันได้ด้วย บ่อยครั้งแค่เสนอโครงสร้าง แต่เวลาไม่พอในการสาธิตและให้แบบอย่างภาษาที่จะสอนได้ (ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างแบบบอกเล่า, ปฏิเสธ, และคำถามก็ตาม) และฝึกจนนักเรียนสามารถใช้ได้ด้วยความมั่นใจ เมื่อมีการสอนโครงสร้าง สาธิตถึงภาษาที่ใช้พร้อมกับประโยคที่เห็นได้เด่นชัด หรือสอนแบบให้นักเรียนยกตัวอย่าง (เป็นการฝึกเชิงสื่อสารมากกว่าอีก) ฝึกดริลเป็นกลุ่มและรายบุคคลเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถออกเสียงได้ถูกต้อง ก่อนจะให้ภาระงานฝึกที่มีครูควบคุม เมื่อให้พวกเขาฝึก บอกให้พวกเขาสังเกตภาษา เช่น ภาษาที่เพิ่งเรียนไปถูกไปทั้งหมดหรือเปล่า? และภาษาที่ได้เรียนไปใช้อย่างไร? สิ่งที่ต้องจำก็คือ ยิ่งมีตัวอย่างมากเท่าใด เด็กก็ยิ่งรับเข้ามาในสมองและใช้ได้มากขึ้นเท่านั้น

7. การนำเสนอโครงสร้างก่อนความหมาย

ไวยากรณ์อังกฤษมีความสลับซับซ้อนและบางทีก็บิดเบี้ยว จะมีลักษณะอยู่บางลักษณะที่ไม่พบในภาษาอื่น จงจำสิ่งนี้อยู่ในใจว่า การทำให้ผู้เรียนรู้ความคิดรวบยอดทางไวยากรณ์เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งนี้ก็เหมือนกับความคิดรวบยอดอื่นๆ ความคิดรวบยอดทางไวยากรณ์ต้องชัดเจนก่อนสิ่งอื่นเพื่อให้ผู้เรียนจำสิ่งนี้ในใจ ต่อมาค่อยเขียนให้ผู้เรียนดู สิ่งนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและใช้ภาษาได้อย่างง่ายๆ ตัวช่วยที่เป็นรูปภาพ เช่น รูปภาพ หรือวิดีโด, เส้นกำหนดเวลา, ภาพวาด, หรือแม้กระทั่งการเล่านิทานสามารถบอกความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการบอกเป็นประโยค

8. การเถรตรงเกินไป

การเดินไปเข้าชั้นเรียนชั้นใหม่เป็นประสบการณ์ที่น่ากลัว ครูบางคนรู้สึกว่าไม่ได้เตรียมตัวมาอย่างดี หรือไม่มั่นใจขณะทำการสอน และสิ่งนี้เป็นสาเหตุให้ครูจะเถรตรงกับแผนการสอนหรือหนังสือเรียนมากเกินไป โดยการลืมความต้องการและคำถามที่นักเรียนต้องการจะถาม หนึ่งในของเล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการสอนคือการเชื่อมโยงกับผู้เรียน โดยการทำความเข้าใจ และช่วยนักเรียนให้เกิดการพัฒนา ดังนั้นครูต้องมีความยืดหยุ่น เพราะครูอาจไม่ทำตามแผน แต่ทำตามความต้องการของเด็กที่เกิดขึ้น ไม่ว่าอาจเป็นการตอบคำถามของเด็ก หรือหัวข้อที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นและต้องการการติดตาม หากพูดแบบสำนวน จงอย่ากลัวในการไปสู่ทางใหม่ทีนานๆก็จะเกิดสักครั้ง 

9. การบ่งชี้ข้อผิดพลาด

การแก้ไขข้อผิดเป็นสิ่งสำคัญในแผนการสอน บ่อยครั้งที่ครูรีบและละเลยสิ่งเหล่านี้ โดยที่ไม่รู้เลยว่ามันมีความสำคัญ ขั้นการแก้ไขข้อผิดเป็นขั้นตอนที่สำคัญในบทบาทวิชาชีพครู นักเรียนต้องการจะรู้ว่าภาระงานที่ทำเสร็จบรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่ โดยการตรวจคำตอบและได้รับผลสะท้อนจากข้อผิด หากไม่มีขั้นตอนนี้ เด็กจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเขาทำถูก? สิ่งนี้หมายถึงทั้งการเขียนและการพูดด้วย

ครูต้องดูไปที่องค์ประกอบทางเสียง, พยางค์, การใช้โทนเสียง, และการดริลเพื่อให้ถูกต้อง จงวางแผนเพื่อขั้นตอนการแก้ข้อผิดบนแผนการสอนของคุณ  

แปลและเรียบเรียงจาก

Sharon Maloney. 9 mistakes you need to stop making with your teaching

https://hongkongtesol.com/blog/2017/03/9-mistakes-you-need-stop-making-your-teaching

หมายเลขบันทึก: 713998เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2023 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2023 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท