เครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์ (​Tools for Strategy Development)


แม้จะไม่ประกาศหรือมีข้อตกลงว่าในการพัฒนากลยุทธ์ หรือยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน หรือธุรกิจก็ตาม แต่นักวางแผนยุทธศาสตร์ หรือนักวิชาการวางแผนมักจะนำใช้ SWOT เป็นเครื่องมือในการพัฒนา หรือจัดกทำยุทธศาสตร์ขององค์การเป็นส่วนใหญ่ เสมือหนึ่งว่า​ SWOT เป็นเทคนิควิธีที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนากลยุทธ์ ทั้งๆ ที่จริง ๆ เรามีเครื่องมืออื่นๆ มีมากในการพัฒนา หรือกำหนดกลยุทธ์ (Evans, 2013)

ผมเคยชี้ให้เห็นปัญหานี้ ทั้งในการสอนนักศึกษา หรือการมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ค่อยมีสนใจหรือใส่ใจในปัญหานี้ เพราะก็เป็นแค่ความเห็นของนักวิชาการไทยคนหนึ่งเท่านั้น แต่โชคดีที่ผมได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือของ ​Evans ที่รวบรวมเครื่องมือในการพัฒนาหรือสร้างกลยทธ์ไว้กว่า 80 รายการ 

จริงแล้วด้วยข้อสังเกตและความสงสัยข้างต้น ผมเองก็ได้ค้นคว้าหนังสือเกี่ยวกับกลยุทธ์และการพัฒนากลยุทธ์กว่า 20 เล่ม รวมทั้งหนังสือของ Micheal E. Porter (1996) แต่ก็ยังไม่มีเล่มไหนที่ให้ความกระจ่างชัดในเรื่องนี้นอกจาก Evans ดังกล่าวมาข้างต้น 

Evans แบ่งเครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์ไว้ทั้งหมด 8 กลุ่ม คือ (1) เครื่องมือที่จะช่วยให้เราเข้าใจงานขององค์การเรามากขึ้น (2) เครื่องมือในการกำหนดเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ (3) เครื่องมือในการพยากรณ์ความต้องการของตลาด (4) เครื่องมือในการติดตามความได้เปรียบการแข่งขัน (5) เครื่องมือในการระบุช่วงว่างเขิงกลยุทธ์ (6) เครื่องมือในการระบุกลยุทธ์  (7) ​เครื่องมือในการระบุกลยุทธ์รวม และ (8)  เครื่องมือในการระบุความเสี่ยงและโอกาสขององค์การ 

ผมคงไม่นำเครื่องมือทังหมดมาเขียนไว้บทเขียนของผม แต่จะนำมาเขียนไว้เฉพาะส่วนที่ผมเห็นว่าจะไขข้อสงสัย และสนับสนุนแนวคิดที่ผมกล่าวมาข้างต้นในสองสามบทเขียนต่อจากนี้ไปครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

6 เมษายน 2566

เอกสารอ้างอิง

Evans, V. (2013). Key stratey tools: The 80+ tools for every manager to build a winning strategy. Harlow, England: Pearson. 

Porter, M.E., editor (1996). On Competition. Boston: Harvard Business School Publishing.

หมายเหตุ : ในวงวิชาการของไทยแปลคำว่า Stratey ไว้ 2 คำ คือ ยุทธศาสตร์ กับ กลยุทธ์  และบางครั้งก็ใช้คำว่า ยุทธศาสตร์ คือ ​แนวทางหลัก ส่วน กลยุทธ์ เป็นแนวทางย่อยของยุทธ์ศาสตร์ สำหรับผมนั้นท่านจะเลือกใช้คำไหน ก็แล้วแต่ชอบ แต่ทั้งสองคำหมายถึง Strategy  ส่วนแนวทางย่อยนั้น ถ้าท่านเลือกใช้คำว่ายุทธศาสตร์ แนวทางย่อย ก็เรียกว่ายุทธศาสตร์รอง และถ้าใช้กลยุทธ์ ก็เรียกว่า กลยุทธ์รอง เสียก็จะไม่ได้สับสนครับ 

หมายเลขบันทึก: 712241เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2023 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2023 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท