ยากับความเชื่อทางศาสนาที่ผสานเป็นการนับถือศาสนาและความเชื่อทางยาแบบไทยๆ


ความเชื่อก่อนการนับถือศาสนา(ศาสนาผี)

  • ชาวอุษาคเนย์เป็นผู้รักสงบ่อยู่กับธรรมชาติ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าเขา ป่าให้อาหาร ให้ที่อยู่ แม่น้ำมีน้ำตลอดแล้ง ความเคารพกับธรรมชาติจึงจะทำให้อยู่รอด ชาวอุษาคเนย์มีความกตัญญู พ่อแม่ดูแลลูก เติบใหญ่มาลูกดูแลพ่อแม่ แม้กระทั่งตอนล่วงลับแล้วยังมีความผูกพันธ์เป็นที่รักและเชื่อว่ามีวิญญาณที่ออกจากร่างกายจะมาเกิดใหม่ช่วยปกปักรักษาในรูปแบบที่เป็นคนรอบตัว สัตว์ สิ่งของ หรือถ้ายังไม่ไปเกิดก็จะวนเวียนช่วยเหลือลูกหลาน ลูกหลานก็ต้องให้ความกตัญญูโดยทำบุญทำพิธีกรรมที่ติดต่อกับวิญญาณ เพื่อปลดปล่อยไปสู่ภพภูมิที่ดี บางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญที่มีอัตรายเกือบชีวิตแล้วแคล้วคลาด ก็มักจะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ ความลี้ลับของป่า เสียงที่ไม่ทราบที่มา ความมืด สายลม สายฝน ท้องฟ้า ก้อนเมฆ ฟ้าแลป ฟ้าร้อง ที่ไม่สามารถอธิบายด้วยความรู้ของตนเองได้ จะใช้ความเชื่อในสิ่งลี้ลับในการอธิบาย ความเชื่อในเรื่องผีและสิ่งลี้ลับจึงอาจเป็นพี้นฐานความเชื่อของชาวอุษาคเนย์ก่อนจะมีการนับถือศาสนา เชื่อในเรื่องของผีและสิ่งลี้ลับ นี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวิธีการธรรมดาของธรรมชาติที่เข้าใจได้ในวิถีทางปกติชน ผู้ที่อธิบายเรื่องนี้จึงต้องเป็นผู้มีบุญ หรือร่ำเรียนวิชาทางผีมาซึ่งเรียกว่าหมอผี แต่ผีอาจเป็นที่พึ่งทางใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผีที่เป็นฝ่ายดี ได้แก่ผีบรรพบุรุษ ผีบ้าน ผีเรือน แต่โดยทั่วไปจะเชื่อว่าผีจะทำหน้าที่เฝ้าปกปักรักษา ได้แก่ ผีเจ้าป่า ผีเจ้าเขา โดยมีการสร้างศาลเจ้าสร้างเป็นรูปเรือนมีเสาร์เดียวหรือหลายเสาร์ไว้กราบไหว้บูชามีการจุดธูปเทียนบอกกล่าวและสักกระด้วยดอกไม้เพื่อให้ผีที่อยู่ในศาลนั้นพอใจและอยู่อย่างสงบ หากทำผิดผี ผีไม่พอใจจะ่ออกมาทำความให้ผู้ผิดผีนั้นต้องมีอันประสพกับปัญหาและร้ายที่สุดอาจต้องมีอันเป็นไป แต่ถ้าหากทำให้ผีพอใจก็จะได้รับการปกป้องและปกปักรักษาบรรดาลสมดั่งปรารถนาทุกอย่างที่เป็นคุณกับผู้บูชาและสังคมโดยรวม ในแนวคิดศาสนาผีนี้ ผีคือกฎที่ห้ามลบหลู่ และถือเป็นกฎหมายที่ผู้นำชุมชนใช้เป็นเครื่องมือในควบคุมพลเมืองให้อยู่ภายในปกครองมิให้ออกนอกลู่นอกทาง เป็นสัญญาใจที่มีต่อผีที่รู้การกระทำทุกอย่าง การกระทำความผิดแล้วไม่สารภาพออกมาจะมีอันได้รับการลงโทษจากผีให้มีอันเป็นไปในทางที่ไม่เป็นคุณกับผู้ปิดบัง ที่อยู่ของผีจะอยู่ทุกหนแห่งดังนั้นจึงไม่มีที่ใดที่ผีไม่รู้ คนธรรมดาไม่อาจติดต่อกับผีได้ มีเพียงผีที่แสดงให้เห็นในบางครั้งหรือตามหลอกหลอนเมื่อมีการผิดผี เมื่อมีการผิดผีจะต้องมีพิธีกรรม ผู้ทำพิธีกรรมจะเป็นหมอผีผู้มีวิชาอาคมสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นผู้ทำพิธีกรรมให้เพื่อให้พ้นภัย ผู้ที่ผิดผีจะต้องหาเครื่องเส้นไหว้หรือจ่ายค่าเครื่องเส้นไหว้ให้กับหมอผีก่อนหรือหลักการทำพิธีกรรม เมื่อทำพิธีกรรมเสร็จสิ้นความผิดผีจึงจะหมดไป 
  • ในทรรศนะความเชื่อนี้ โรคภัยที่เกิดกับคน สัตว์จึงมีแนวความคิดว่าเกิดจากการกระทำของผีเช่นกัน การจะหายจากโรคภัยต้องทำให้ผีพอใจ โดยกระทำตามพิธีกรรมที่ผู้มีบุญหรือหมอผีเป็นคนแนะนำ บางครั้งผู้มีบุญหรือหมอผีก็แนะนำให้ปฏิบัตตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ห้ามกระทำหรือให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้หายจากโรค อาการเจ็บป่วย หรืออาจจะมียาหรือสมุนไพรเพื่อการรักษาลางครั้งก็เรียกว่ายาผีบอก ก็มี
  • นวัตกรรมทางยาไม่ได้ขึ้นกับแนวคิดความเชื่อแต่หากขึ้นกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีในยุคสมัยนั้นๆ โดยถ้าเป็นยาของชาวอุษาคเนย์อาจจะมียาหม้อ ยาลูกกลอน เป็นต้น 

แนวคิดความเชื่อของชาวอุษาคเนย์กับศาสนาพราหมณ์

  • การเข้ามาของศาสนาพราหมณ์จากอินเดียวัฒนธรรมความเชื่อจากภายนอกอุษาคเนย์อันเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นปกติธรรมดาของสังคมก่อนจะมีการผสมกลมกลืนรับเอาตามส่วนที่จะพอรับเข้ามาเป็นวัฒนธรรมของตนเอง หรืออาจจะรับมาทั้งหมด แล้วปรับเปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมร่วมรากเดียวกันจนมาถึงปัจจุบัน เทพเจ้าและเรื่องราวต่างๆอาทิ การกระทำความดีของเทพเจ้า พิธีกรรม เทวรูป ตัวอักษร ภาษา เสียงสวดสรรเสริญ  ผสานกับความเชื่อที่ว่าเทพเจ้าสถิตย์ที่ภูเขา อาจต้องมีการกำหนดภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สถิตของเทพเจ้า คนธรรมดาหากต้องการประสบความสำเร็จ หรือขอพรให้ได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งอาจต้องทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการบูชา การบูชายันต์ อาจจะต้องมีเทวะสถานเพื่อประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เทพเจ้าได้รับรู้ ในการกระทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธ์ต้องดำเนินการด้วยพรามห์ที่มีความรู้ในพิธีกรรมเป็นอย่างดีไม่ใช่พราหมณ์ผู้สั่งสอนโดยทั่วไปอาจเป็นพราหมณ์ที่มาจากราชสำนัก เช่นพิธีราชาภิเษกที่ต้องอาศัยพราหม์จากราชสำนักผู้รู้ขั้นตอนของเทพเจ้า ในการราชาภิเษกมหาราชผู้เปรียบประดุษเทพเจ้าปรกครองบ้านเมือง  พราหมณ์จึงน่าเลื่อมใสและเป็นอารยะ การเข้ามาของพราหมณ์ได้ถูกจับตามองจากชาวอุษาคเนย์ผู้มีทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องผีและสิ่งลี้ลับ หลายเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าพิธีกรรมอาจเข้าใจในชนชั้นสูงซึ่งตอนนี้มีสถานะเป็นดั่งเทพ น่าเกรงขามแปลกแตกต่างจากชาวในปกครองโดยทั่วไป มีเพียงราชสำนักและชนชั้นสูงเท่านั้นที่รับเอาขนบธรรมเนียมแบบพราหมณ์เข้ามาอย่างเข้าใจแก่นแท้ของเทพเจ้าในขณะที่ชาวเมืองได้สรรเสริญในความเป็นสมมุติเทพของผู้นำของพวกเขา และพยายามที่จะเป็นให้ใกล้เคึยงกับชนชั้นผู้นำนั้น ในบางนิกายของพราหมณ์มีการบูชาศิวลึง และในบางพื้นที่ของอิสานได้แปลงเปลี่ยนเป็นปลัดขิกโดยปรับเปลียนเป็นของขลังของเกจิอาจารย์เมื่อมีการลงคาถาอาคมยึดติดกับตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของปลัดขิกไม่ได้สัมพันธ์กับเทพเจ้าดังความเชื่อเดิม การประกอบพิธีกรรมก็เช่นเดียวกันมีการประกอบพิธีกรรมโดยพราหมณ์ในขั้นตอนต่างๆเพื่อเรียกขวัญ อุทิศส่วนกุศลผลบุญให้กับผู้ล่วงลับ เพื่อความพอใจผีเจ้าป่า เทวดา พญาแถน แต่ก็ไม่ได้สัมพันธ์กับเทพเจ้าตามความหมายเดิม
  • ทัศนะแนวคิดของของพราหมณ์เกี่ยวกับการเกิดโรคอาจมีแนวคิดว่ามีการทำผิดต่อเทพเจ้า การสวดอ้อนวอนจะทำให้เทพเจ้าเมตตา และกำจัดความเจ็บป่วยนั้นให้หายไป การดื่มน้ำอัมฤตย์ หรือการได้กินสมุนไพรวิเศษ ก็จะทำให้โรคนั้นหายไปเป็นปลิดทิ้ง อาจคล้ายคลึงกันกับความเชื่อของอุษาคเนย์ในเรื่องของผี โดยเปลี่ยจากสิ่งที่เทพเจ้าดลบันดาลเป็นเกิดจากผีเป็นผู้กระทำ ที่มาของวิธีการรักษาจึงคล้ายคลึงกัน สมุนไพรที่ผีบอก น้ำมนต์ อาจจะใช้ อาบ ดื่ม กิน จึงแล้วแต่สิ่งที่พราหมณ์ผู้รู้ว่าผีหรือเทวดาต้องการอย่างไรเป็นผู้บอกให้กระทำ

แนวคิดความเชื่อของชาวอุษาคเนย์กับศาสนาพุทธ

  • พุธศาสนาได้เข้ามาในอุษาคเนย์ภายหลังที่มีการเข้ามาของพราหมณ์ พุธศาสนาอาจเข้าได้กับชนทุกระดับได้ดีกว่าพราหมณ์จึงมีความแพร่หลาย คำสอนที่สามารถสัมผัสได้เป็นพื้นฐานเช่นขันธ์ 5 ศีล5 ก็สามารถเจ้าใจได้ถึงแม้อาจจะแปรเปลี่ยนไปไม่ตรงตามความหมายเดิมไปบ้าง แต่ในเรื่องของแนวทางปฏิบ้ติธรรม5 นั้นมีผู้รับรู้หรือจำได้ในจำนวนจำกัด แต่ในการรับเอาพุทศาสนาจะคล้ายกับพราหมณ์ คือในชนชั้นสูงจะรับมาอย่างที่ใกล้เคียงกันกับต้นแบบความรู้ความเข้าใจแบบพุทธในขณะที่ปุถุชนธรรมดาอาจรับและเข้าใจในแบบของตนที่แตกต่างออกไป พุทธไม่มีคาถา แต่ด้วยภาษาทำให้ศาสนาศักดิ์สิทธิ์

แนวความคิดความเชื่อของชาวอุษาคเนย์กับศาสนาอื่นๆ

  • แนวความเชื่อทางศาสนาอื่นๆ อาทิเช่น อิสลาม คริส มีทรรศนะและแนวคิดการรักษาของตนเองที่น่าสนใจ แต่ในอุษาคเน์ได้ซึมซับรับเอาแนวความเชื่อตามทรรศนทางพราหมณ์และพุทธ ก่อนที่ศาสนาอื่นๆจะเข้ามาแย่งพื้นที่จึงมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

ประวัติความเป็นมาของใบเสมา:https://www.finearts.go.th/khonkaenmuseum/view/10031-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2

หมายเลขบันทึก: 712204เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2023 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2023 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท