“เราเป็นขั้นบันได หรือระลอกคลื่น?” : ปัญญาปฏิบัติกับนัยยะแห่งการพลิกฟื้นสุขภาวะประเทศไทย


ถือเป็นวงประชุมออนไลน์เล็กๆอีกวงที่ทรงคุณค่า
ประชุมกรรมการบริหาร “เครือข่ายวิถีรมณีย์” 24 มี.ค.66


นอกจากเรื่องแจ้งให้ทราบว่าได้อีกสองภาคีมาร่วม คือ มูลนิธิกระจกเงา และศูนย์สร้างสุขของครูดอย แถวคลองบางมด กทม.แล้ว
ยังได้พูดคุยถึงแผน 5 ปี ซึ่งมีการอภิปรายจากกรรมการหลายท่านวันนี้อย่างน่าสนใจ


วงคุยวันนี้ เราชี้ให้เห็นปณิธานสำคัญของท่านอาจารย์ป๋วย โดยเฉพาะในบทวรรณกรรม “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” 
อาจารย์ ดร.วิรัตน์ ได้สะท้อนว่า แนวคิดจากอาจารย์ป๋วยได้ถูกส่งต่อ และแปลงเป็นงานพัฒนาสารพัดด้าน โดยเฉพาะเรื่อง “รัฐสวัสดิการ” และการให้ความสำคัญความสุข หรือสุขภาวะมวลรวมของประชาชนในประเทศ มากกว่าตัวเลข GDP


การเปลี่ยนแปลงหลายองค์กร หลายพื้นที่ มีนโยบายมาตามแนวทางนี้แล้ว แต่มักขาดความเข้าใจในองค์ประกอบสำคัญ คือ ขาดมิติวัฒนธรรม ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้การสมาธานหลักคิดของอาจารย์ป๋วยยังห่างไกลจากความเป็นจริง แต่ยังรวมถึงความห่างจากสิ่งที่เรียกว่า Health Literacy แปลเป็นไทยว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ อันถือเป็นเทรนด์หลักที่ทางฝั่งสา’สุข วิ่งผลัก วิ่งดัน กันจนขาลาก


ในขณะที่งานขยับไป คนทำก็คนร่วมไม่น้อยก็ออกอาการหอบกันแฮ่กๆ  ทำไมยิ่งทำยิ่งล้า ยิ่งทำยิ่ง Burn Out
มันต้องมีอะไรบางอย่างผิดพลาดแน่ๆ
.........................................................................................................
เวลาเราเหลือน้อยลงทุกที (ตามอายุ) ทั้งที่ผ่านมา ก็เห็นก็ทำ ล้มลุกคลุกคลานกันมาก็มาก ถ้าจะทำอะไรต่อจากนี้ ก็ขอเป็นวิถีใหม่ กระบวนการใหม่ๆ สร้างนวัตกรรม หรืออะไรที่ไม่ซ้ำซ้อน หรือซ้ำรอยเดิมๆ

 
Scale Up หรือ“ขยายผล” จึงไม่ใช่แนวทางของชีวิต “นักรบ” ที่ต้องคมคายกับชีวิตด้านใน และการเดินทางที่หลีกเร้นสู่ความสันโดษแต่ทรงพลัง
ผมแลกเปลี่ยนความคาดหวังนี้ ซึ่งก็ตรงกับที่อาจารย์วิรัตน์ และน่าจะอีกหลายท่านที่ร่วมวง
............................................................................................................

Self Actualization หรือความภาคภูมิใจในตัวตน เป็นสุขภาพขั้นสูง ที่มนุษย์พึงบรรลุถึง 
อันนี้ตามทฤษฎีจิตวิทยาที่มาสโลว์ว่าไว้ แต่คน/โครงการ/หน่วยงาน มักมองข้ามไป และคิดว่าไปไม่ถึง 


อาจคิดว่า ความภาคภูมิใจนี้ มันจับต้องยาก มันซับซ้อนเกินกว่าจะแปลงรูปร่างมาติดตามประเมินได้ แต่อย่างว่า วิชาการก็ต้องขยับตามให้ทัน ถ้ามัวรอข้อมูลจากวงกว้างมากไปมันก็ไม่ทัน
ขอบคุณอาจารย์วิรัตน์ที่เปิดมุมมองนี้


“แสงจันทร์มีอยู่ แต่จะเอาเครื่องมือที่ไหนไปวัดว่ามีมากน้อยอย่างไร ?
มิพักต้องพูดถึงแสงรำไร กับ KPI ความงดงาม?”
.................................................................................................................
ปัญญาจากการลงมือทำ หรือที่เรียกว่า “ปัญญาปฏิบัติ” กำลังเป็นทางรอดของสังคมใหญ่
หาใช่การออกแบบที่วน Loop เดิมที่หมกมุ่นกับการเอาฐานข้อมูลไปกำหนดกลุ่มเป้าหมาย  การเอาข้อมูลส่วนรวมเป็นตัวตั้ง 
Approach หรือวิธีวิทยาในการเสริมสร้างพลังแบบเดิมเช่นนี้ มีแต่จะ Out และไม่ตอบโจทย์ยุคสมัย


เห็นไม๊ โลก สิ่งแวดล้อม ชุมชนที่เต็มไปด้วยมรสุมการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลัน ทันใด คลุมเครือ  ยากจะทำนายคาดเดา
VUCA + BANI World ตรงนี้คือสิ่งท้าทายให้เราเท่าทันและต้องปรับตัว 

 


.................................................................................................................
“ปัญญาปฏิบัติ” ซึ่งมาจากคนกลุ่มเล็กๆที่ตกผลึกประสบการณ์ 
อาจจะสื่อสารเป็นถ้อยความ คำพูด การแสดง  ภาพ สัญลักษณ์ ฯลฯ อย่างใดก็ได้
การสร้างความเปลี่ยนแปลง หาใช่ “ขั้นบันได” แบบเครื่องยนต์กลไก 
แต่ความเปลี่ยนแปลงแผ่ออกไป ดั่งระลอกคลื่น 
กระเพื่อมขึ้นลง วงแล้ววงเล่า
ต่อเนื่อง ลื่นไหล ดับสูญ เกิดใหม่ เป็นวัฏจักรดั่งจิตวิญญาณ
ที่ขับขานอย่างมีชีวิตชีวา


.................................................................................................................
เสียงคนรุ่นใหม่ (ผมจำชื่อไม่ได้) สะท้อนการเรียนรู้ในวันนี้
เขารู้สึกถึง เมล็ดพันธุ์ที่กำลังถูกบ่มเพาะภายในใจตัวเอง
(อืม.... ดีจัง ฟังเราแล้ว รู้สึก รู้เนื้อรู้ตัวถึงความคิด และการรับรู้ของตัวเองด้วย แบบว่ามี “ตาใน” ....อันนี้เจ๋ง)
จะใช้ชื่อ “วิถีรมณีย์” , “สุนทรียพลานามัย” หรืออะไรก็ว่าไป ผมคิดว่า มันจะเป็นคำประกอบอยู่ในสิ่งที่เรากำลังจะบอกกับสังคม บอกหน่วยงานต่างๆ ให้เข้าใจ 


ไม่ว่าจะเป็น ปณิธาน “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” ของท่านอาจารย์ป๋วยหรือ “Health Literacy” ที่กำลังจะกลายเป็นพื้นที่ทางความคิดและปฏิบัติการแห่งยุคสมัย


ถ้าไม่เข้าใจ มิติวัฒนธรรม และไม่ตระหนักถึงพลังแห่งปัญญาปฏิบัติ ไม่เข้าใจรูปลักษณ์ของสนามพลังทางสังคมอันเป็นระบบนิเวศเปิดที่มีชีวิตแล้ว 


คำว่า สุขภาวะที่แท้จริง ยิ่งทำก็อาจจะยิ่งห่างไกล
.................................................................................................................
บันทึกไว้พอสังเขป เฉพาะนัยยะสำคัญที่โดนใจ
หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนที่สนใจนะครับ


#ปัญญาปฏิบัติ
#วิถีรมณีย์
#Healthliteracy
#จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน
#ป๋วยอึ้งภากรณ์

เครดิตภาพคลื่นน้ำ , VUCA & BANI World และปิรามิดความต้องการของมนุษย์ตามทฤษฎี Maslow จาก pixels.com , coach for goal และ healthline.com ตามลำดับครับ



ความเห็น (1)

Aren’t we (human) on the path (predicted by a theory: ‘the more we learn, the less we know/understand’ and its corollary: ‘the more options, the less sure’) through the edges of chaos leading to Ockham’s Razor, when zero-tolerance is the means to pare off (using Pareto principle ;-) less-essential considerations?

Honesty [by any religion] is perhaps more relevant than politically correct views.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท