วิวาทะการปฏิรูปการศึกษาไทย (Education Reform) ตอน2


วิวาทะการปฏิรูปการศึกษาไทย (Education Reform) ตอน2

30 มกราคม 2566
: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

"เป็นเรือแจว เรือจ้าง ช่างขับขาน เป็นสะพาน ให้ข้ามตามวิถี เป็นพ่อแม่ที่สองตรองดูดี เป็นปูชนีย(บุคคล) ที่สำคัญ นั่นแหละครู"

ต่อข้อมูลดิบการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2565 เป็นต้นมา
ดังที่กล่าวแล้วว่า จากสมัย สปช.และ สปท. หนึ่งในวาระเร่งด่วน คือ การปฏิรูปด้านการศึกษาถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องปฏิรูปก่อนเป็นลำดับแรก ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา (1)-(4) และมาตรา 261

ความด้อยคุณภาพไร้ทิศทางของการศึกษาไทย และการพัฒนาศักยภาพของเชาวน์ปัญญา 4 แบบ (ไทยโพสต์, 31 มีนาคม 2561)
ในการพัฒนา-เปลี่ยนผ่านของสังคม การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญเพราะเป็นสติปัญญาของสังคมเป็นเรื่องของคุณภาพคน และเป็นสื่อสังคมที่ช่วยผู้คนให้รับรู้เท่าทันตนเองและโลกแวดล้อม
เคลาส์ ชวาบ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลก(World Economic Forum) ชี้ว่าเราจะสามารถจัดการสิ่งท้าทายเหล่านี้ จากการสร้างการศึกษาที่คำนึงถึงเชาวน์ปัญญาโดยรวมเรื่องสมอง จิตใจ และจิตวิญญาณ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของเชาวน์ปัญญา 4 แบบที่แตกต่างกันกล่าวคือ เชาวน์ปัญญา (1) ด้านบริบท-สมอง (2) ด้านความรู้สึก-จิตใจ (3) ด้านแรงดลใจ-จิตวิญญาณ และ (4) เชาวน์ปัญญาด้านกายภาพ-ร่างกาย เป็นปฐมบทสำคัญ ที่ต้องเสวนาในรายละเอียดถึงการรื้อสร้างการศึกษาที่จะมุ่งสนองตอบการเปลี่ยนกลืนของโลกใบใหม่ เพราะการตกงาน-สภาพการว่างงานของบัณฑิต 47.91% หรือคิดเป็นจำนวนเกือบ 5 แสนคน (ข้อมูลล่าสุด กุมภาพันธ์ 2561 สำนักงานสถิติแห่งชาติ) รวมถึงการทำงานที่ไม่ได้ตรงกับที่ได้เรียนมา นี่คือผลิตผลที่ผสมกลมกลืนกันระหว่างค่านิยมทางสังคมกับความด้อยคุณภาพไร้ทิศทางของการศึกษาไทย 

การคัดค้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
มีกระแสคัดค้านโดยกลุ่มข้าราชการครูผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรง ตามข่าวที่ผ่านมา แม้ทางรัฐสภาจะมีความพยายามผลักดันการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... มาโดยตลอด 
ข่าวเมื่อ 24 มิถุนายน 2564 ครู สพป.สมุทรสาคร ขอความร่วมมือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดร่วมลงชื่อคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 สมาคมผู้บริหารการศึกษาฯ จี้ทบทวนร่างกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ 
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ชมรมครูประถมศรีสะเกษลุกฮือค้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่ง พ.ศ.... ระบุข้อความ “เราไม่เอาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ที่เปิดช่องทางให้มีการบ่อนเซาะทำลายความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 6, 11, 13, 14 และ 48
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากครูทั่วประเทศ ออกมาคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.การศึกษาฉบับดังกล่าว ด้วยการแต่งชุดดำไว้อาลัยตั้งแต่วันที่ 10-16 มกราคม 2566 สืบเนื่องจากในร่างพ.ร.บ.การศึกษาฉบับดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากลในหลายมาตรา ธีระศักดิ์ สุวรรณปัญญา ประธานยุทธศาสตร์สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) ให้สัมภาษณ์คมชัดลึกออนไลน์ ว่า ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ อีกทั้งบางประเด็นอาจส่งผลกระทบความเป็นอิสระทางวิชาการ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปิดกั้น กดทับศักยภาพของผู้เรียน ในการพัฒนาตนเองสู่อนาคตในศตวรรษที่ 21
เมื่อช่วงวันที่ 10-11 มกราคม 2566 ร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …ที่เข้าสู่วาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่ได้รับการพิจารณาเพียงไม่กี่มาตราเท่านั้น จากนั้นสภาก็ล่ม ทำให้กฎหมายยังพิจารณาไม่เสร็จถึงฝั่งดังที่ผู้นำรัฐบาลหวังเอาไว้เป็นของขวัญแก่ครูในวันครูที่ 16 มกราคม 2566 ได้
นอกจากนี้ ล่าสุดข่าว 20 มกราคม 2566 สมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ดและชมรมครู 40 องค์กร เรียกร้องให้นำ พ.ร.บ.สภาการศึกษา พ.ศ.2546 มาบังคับใช้เต็มรูปแบบ รวมถึงเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำคืนเงินกองทุนเพื่อความมั่นคง โครงการเงินกู้ ช.พ.ค./ช.พ.ส.กว่า 25,000 ล้านบาท เพราะเป็นเงินที่ได้จากหยาดเหงื่อแรงกายของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ

กระทู้ถามที่ 293 ร. ขอคัดค้านและเสนอข้อเสนอแนะแก้ไข ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2564) โดย ณัฐวุฒิ กองจันทร์ดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดหนองบัวลำภู, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 258 ง วันที่ 26 ตุลาคม 2564 “ครู” คือแม่พิมพ์ของชาติ เปรียบเหมือนเบ้าหลอมที่คอยให้ความรู้ อบรมบ่มนิสัยนักเรียน และคัดค้าน “ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ตอบโดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565
ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ซึ่งยกเลิกข้อบังคับฯ ฉบับเดิม ปี พ.ศ.2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในปัจจุบัน ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี 4 ประเภท คือ
(1) ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง
(2) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
(3) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
(4) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์

วิพากษ์/ประเด็นปัญหาการปฏิรูปการศึกษา
(1) มีสภาพปัญหาที่ประสบมาตั้งแต่ปี 2560 ในจำนวนเด็กนักเรียน เด็กเกิดในแต่ละปีน้อยลง ทำให้มีสถานศึกโรงเรียนขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถควบรวมกันได้ จึงมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น การแจ้งนักเรียนผีเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรตนเอง จึงเกิดปัญหาตามมาคือ (1.1) อัตราครูผี (1.2) อาหารกลางวันผี (1.3) อาหารเสริมนมผี (1.4) รายหัวผี เท่ากับการโกงอัตราจำนวนเงินอุดหนุนต่อหัวจากภาครัฐที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เป็นการทุจริตเชิงนโยบายประการหนึ่ง แต่ทว่าเหตุปัญหาเหล่านี้หาได้เกิดแก่โรงเรียนสังกัด อปท.ไม่ เป็นความต่างเชิงบริหารการศึกษาระหว่างท้องถิ่นกับราชการส่วนกลาง ถือเป็นเรื่องแปลก นี่คงเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ต้องมีการกระจายอำนาจการศึกษาแก่ท้องถิ่นได้
(2) จากฐานข้อมูลเก่าเมื่อ 7 กันยายน 2561 ด้วยจำนวนเด็กกว่า 5 ล้านคน ในโรงเรียนสังกัด อปท. 13,000 โรงเรียน และ ศพด. กับโรงเรียนในสังกัด สพฐ. อีกกว่า 30,000 โรงเรียน จึงจะได้อาหารทั้งสะอาดปลอดภัยและมีคุณค่าสารอาหารตามที่เด็กควรได้รับ การปฏิรูป “อาหารกลางวันเด็ก” ไม่แค่อิ่มท้อง แต่ต้องมีคุณภาพ ถึงเวลาแล้ว “โภชนาการเด็ก” ต้องเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ทุกภาคส่วน “ใส่ใจจริงจัง” เพิ่มงบประมาณจาก 20 บาทต่อหัวให้เป็น 35 บาท แต่ด้วยงบประมาณรัฐกลับเพิ่มได้เพียง 22-36 บาท อัตราใหม่ตามขนาดสถานศึกษา ที่น่าจะไม่เพียงพอ ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.2/ว 9433 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2565
(3) นอกจากนี้การโกงอาหารกลางวันโรงเรียน ต้องไม่สมยอมกับผู้ขายและคนตรวจรับอาหาร “หมู/ผักสด” ว่าเบิกครบเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นไปตามหลักโภชนาการ ต้องมีการกำชับมาตรการป้องกันการทุจริตงบประมาณค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน 
(4) “เด็กคืออนาคตของชาติ” ด้วยจำนวนเด็กที่น้อย ดังนั้นเด็กทุกคนต้องได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดเพื่อให้เติบโตมีพัฒนาการสมวัย เป็นกำลังของประเทศสืบไป 
(5) การศึกษาปฐมวัย คือ ฐานรากของการศึกษาทุกระดับ ผลผลิต คือตัวผู้เรียน ครูควรเรียนรู้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์หลักสูตรและแผนการจัดประสบการณ์ ทำให้เกิดคุณภาพ ผลลัพธ์ของงานที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2561 มี 3 อย่าง คือ (1) ผู้เรียน (2) ครู (3) พลเมือง มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป ประเมินคุณค่าโดยรวมคือ SAR ได้มาตรฐานตามเป้าหมาย เป็น Best Practice (อ้างจากชวนชม ใจชะอุ่ม, 6 และ 8 มิถุนายน 2564)
(6) การศึกษาสร้างชาติได้อย่างไร สร้างสมรรถนะเด็กตามนโยบายชาติ-กฎหมาย ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรเน้น เก่ง ดี มีสุข ถอดรหัส สู่การปฏิบัติ ตามบริบท (อ้างจากชวนชม ใจชะอุ่ม, 17 ตุลาคม 2564)
(7) เหตุที่การศึกษาไทยแย่ลง เพราะผู้ปกครองคาดหวังมุ่งคุณภาพแบบโดดเด่นเชิงธุรกิจ จ่ายก็ยอม ขอให้ลูกไปเรียนโรงเรียนดังๆ แต่ครูหลายคนไม่ยอมให้ลูกเรียนโรงเรียนใกล้บ้านที่ตนเองสอน (อ้างจากชวนชม ใจชะอุ่ม, 12 พฤษภาคม 2562)
(8)จาก (6) (7) เห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นเป็นการล็อกตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีระยะเวลาที่ยาวนานมาก ก้าวไม่ทันโลกที่ disrupt อย่างรวดเร็ว ไม่สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของโลกปัจจุบัน
(9) ปัญหาหนี้สินครู รัฐบาลต้องใส่ใจ เช่นในเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สหกรณ์ สหกรณ์ครูฯ บางแห่งคิดดอกเบี้ยครูสูงถึง 7% ต่อปี ทั้งๆ ที่ดอกเบี้ยสวัสดิการควรจะต้องถูกกว่านี้ ยิ่งเมื่อก่อนดอกเบี้ยเคยสูงถึง 15% ครูที่กู้เงินมา 3 ล้าน แต่ต้องส่งจริงถึง 10 ล้าน ครูจึงเป็นหนี้ทั้งชีวิต ต้องลดภาระให้ครู โดยการลดดอกเบี้ยลงมา
(10) ข่าวการทุจริตโครงการในโรงเรียนโดยมีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นตัวอย่างประสบการณ์กรณีศึกษาได้เป็นอย่างดี เจ็บปวดกับนักการเมือง เพราะครูต้องถูกลงโทษทางวินัย ถูกปลดออก ไล่ออก เช่น คดี ป.ป.ช.โกงสนามฟุตซอลจังหวัดนครราชสีมา จนทำให้ต้องโดนปลดออกจาก ผอ.โรงเรียน และต้องขึ้นศาลคดีอาญาทุจริตสู้คดีที่ยาวนาน ปรากฏการณ์ข่าวดังการทุจริต ได้แก่ อาหารกลางวันเด็กนักเรียน (ผอ.ขนมจีน) สนามกีฬา (สนามฟุตซอล) ห้องเรียนอัจริยะ เขตพื้นที่การศึกษา

(11) ข่าวการประชุมสื่อสารสร้างความเข้าใจการบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้อปท.เข้าร่วมประชุมผ่านระบบการถ่ายทอดสด ช่อง OBECTV online เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566

 

อ้างอิง
ระเบียบ กฎหมาย 
กระทู้ถามที่ 293 ร. ขอคัดค้านและเสนอข้อเสนอแนะแก้ไข ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... (ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2564) ถามโดย ณัฐวุฒิ กองจันทร์ดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดหนองบัวลำภู, ตอบโดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 258 ง วันที่ 26 ตุลาคม 2564 หน้า 21, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/258/T_0021.PDF  
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 292 ง วันที่ 15 ธันวาคม 2565 หน้า 24-32, https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/292/T_0024.PDF  
หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.2/ว 9433 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2565 มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน อัตราใหม่ตามขนาดสถานศึกษา ต่อคนต่อวัน 22-36 บาท
หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.2/ว 4210 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2565 กำชับมาตรการป้องกันการทุจริตงบประมาณค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ..., มาตรา 3, กมธ.วีรบูล เสมาทอง, 10 มกราคม 2566, https://youtu.be/rbUu9i_W09c  
ขอสงวนความเห็นเพิ่มเติมคำนิยาม เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในเรื่องของการนิยามศัพท์ในมาตรา4 : วีรบูล เสมาทอง, 10 มกราคม 2566, https://youtu.be/ozVWxE4v7OQ 

หนังสือสั่งการ
หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.2/ว 9433 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2565 มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน อัตราใหม่ตามขนาดสถานศึกษา ต่อคนต่อวัน 22-36 บาท

หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.2/ว 4210 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2565 กำชับมาตรการป้องกันการทุจริตงบประมาณค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน

การประชุมสื่อสารสร้างความเข้าใจการบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และ 1 รายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04010/ว 14 ลงวันที่ 4 มกราคม 2566 และ หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.3/ว 77 ลงวันที่ 9 มกราคม 2566 ให้ อปท.เข้าร่วมประชุมผ่านระบบการถ่ายทอดสด ช่อง @OBECTVONLINE ในวันพุธที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 09.00 – 14.00 น.

บทความ
โภชนาการในเด็กปฐมวัย สู่แนวทางการพัฒนาสติปัญญา โดย รศ.(พิเศษ) พญ.สุนทรี รัตนชูเอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์, https://docs.google.com/presentation/d/1wujIE3W010oF-zO0D78VaF-BXeuMyhz3/mobilepresent?slide=id.p1 

เฟซบุ๊ก ชวนชม ใจชะอุ่ม, วันที่ 12 พฤษภาคม 2562, 6 มิถุนายน 2564, 8 มิถุนายน 2564, 17 ตุลาคม 2564

ข่าว
โลกใบใหม่, ไทยโพสต์, 31 มีนาคม 2561 อ้างใน เฟซบุ๊ก ชวนชม ใจชะอุ่ม, วันที่ 19 ธันวาคม 2565

มท.เต้น โกงอาหารกลางวันโรงเรียน อปท.สั่งผู้ว่าฯ ทั่ว ปท.เข้ม พบโรงเรียนสมยอม ผู้ขาย คนตรวจรับ เบิกครบ “หมู/ผักสด” ขาดอื้อ, ผู้จัดการออนไลน์, 31 พฤษภาคม 2561,19:04 น., https://mgronline.com/politics/detail/9610000054144 

ผู้ว่าโคราช ฯ ลุยสุ่มตรวจคุณภาพอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนดัง พร้อมขอให้ปิดประกาศรายการอาหารในแต่ละวันด้วย, tnews, 18 มิถุนายน 2561, https://www.tnews.co.th/region/463683
ผุดกระแสค้าน “ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ” แชทหลุด สพป. ระดมครูร่วมลงชื่อ, The Active, 24 มิถุนายน 2564, https://theactive.net/news/20210624-4/  
สมาคมผู้บริหารการศึกษาฯ จี้ทบทวนร่าง กม.การศึกษาแห่งชาติ, ไทยโพสต์, 1 กันยายน 2565, https://www.thaipost.net/education-news/212224/   
ครม.เพิ่มงบฯ ค่าอาหารกลางวันนักเรียน เด็กเล็ก-ป.6 ทั่วประเทศ, ข่าวสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 8 พฤศจิกายน 2565, https://ops.moe.go.th/ครม-เพิ่มงบฯ-ค่าอาหารกลา/  
ประโยชน์ทับซ้อนถ่วงแก้หนี้ครูจี้ลงโทษ สหกรณ์ฯหักหนี้ผิดกม.-ลด”ดบ.เงินกู้สวัสดิการ”, สำนักข่าวอิศรา, 12 ธันวาคม 2565, https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/114384-gov-teacher-debt-problem-payroll-credit-report-new.html  
ผอ.แจงดรามา ! อาหารกลางวันในโรงเรียน ยืนยัน ปฏิบัติตาม "Thai School Lunch" อย่างเคร่งครัด, CH7HD News, 14 ธันวาคม 2565, https://www.youtube.com/watch?v=pY0WXlpdbOA  
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565, ศธ.360องศา, 16 ธันวาคม 2565, https://moe360.blog/2022/12/16/professional-license  
ควรยุติ “ร่างพ.ร.บ.การศึกษา” เอาไว้ก่อน หรือ ไปต่อ, คมชัดลึก, 5 มกราคม 2566, https://www.komchadluek.net/news/education/540323  
เรียกร้องสภาไม่บรรจุวาระ 3 ครูประถมฮือต้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษา ชี้เปิดช่องบ่อนเซาะ ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, ผู้จัดการออนไลน์, 9 มกราคม 2566, https://mgronline.com/local/detail/9660000002131  
ครูทั่วประเทศ แต่งชุดดำ ค้าน “ร่างพรบ.การศึกษา” ฉบับ คสช. ชี้ ล้าหลัง-บังคับเด็กเป็นหุ่นยนต์, ประชาไท 13 มกราคม 2566, https://prachatai.com/journal/2023/01/102262  
ครูค้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษา, ไทยรัฐ, 20 มกราคม 2564, https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2015469 
กลุ่มตัวแทน 3 องค์กรหลักในแวดวงวิชาชีพครูฯบุกอาคารรัฐสภา ยื่นหนังสือถึง ส.ส.-ส.ว.พร้อมอ่านแถลงการณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ...ฉบับที่กำลังพิจารณาในสองสภาร่วมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ชมคลิปวิดีโอ), EduGuide 4.0, 23 มกราคม 2566, https://eduguideedunews.blogspot.com/2023/01/3.html?m=1 
กัดไม่ปล่อย “ม็อบครู” ออกแถลงการณ์ คัดค้าน“ร่างพ.ร.บ.การศึกษา”, คมชัดลึก, 23 มกราคม 2566, 12:32 น., https://www.komchadluek.net/news/education/541463 

NB : บทความนี้เผยแพร่ใน FB เพจสิทธิมนุษยชนและการแรงงาน, #วิวาทะการปฏิรูปการศึกษาไทย (Education Reform) (2), 24 มกราคม 2566 : ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น), https://www.facebook.com/100062494300418/posts/pfbid037Znz8vdcERGgp5tdPNm2jDdy1mSFz2eRrBQUoQ1MuvT3mL2qaBWTTyGi5ZaamaWFl/?mibextid=cr9u03 
.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท