แก้ปัญหาซื้อสิทธิ์ขยายเสียงให้ได้ผลทำแบบนี้ครับ (This is how to solve buying votes)


ขอบคุณท่านวุฒิสภาฯ (ส.ว.) ครับที่เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงโดยให้จ่ายค่าเดินทางมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครับ แต่คงไม่ได้ผลหรอกครับ เพราะการที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงรับเงินจากหัวคะแนนของว่าที่สมาชิกวุฒิสภาฯ  หรือสมาชิกสภาผู้แทนฯ (ส.ส.) นั้นไม่ใช่เพราะอยากได้เงินเพื่อเดินทางมาใช้สิทธิ์หรอกครับ แต่ที่รับเงินดังกล่าว (ขายเสียง) นั้นเพราะมีหัวคะแแนน (ผู้ทำหน้าที่ซื้อเสียง) ซึ่งเป็นคนที่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง (ว่าที่ ส.ว. หรือ ส.ส.) จ้าง หรือวานให้เป็นตัวแทนใจการซื้อเสีย) เป็นผู้เอาเงินมาให้ (ชื้อเสียง) เพื่อแลกกับสัญญาใจว่าจะเลือกบุคคลที่หัวคะแนนระบุครับ 

ดังนั้นการที่ ส.ว. เสนอให้จ่ายค่าเงินทางมาเลือกตั้งจึงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาครับ แต่จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณรัฐเปล่า ๆ และยังเป็นตัวกระตุ้นให้ซื้อเสียงมากขึ้น เพราะเป็นสัญญาณว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการเงินเป็นรางวัลในการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง แทนที่จะทำให้ความเข้าใจกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งว่า ‘การมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นหน้าที่ที่ต้องเสียสละและเป็นการตัดสินใจที่ทรงคุณค่ามากเพื่อเลือกนักการเมืองที่มีอุดมการณ์และมีฝีมือไปทำหน้าที่แทนเราในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น’ ครับ คือเราต้องช่วยการสร้างระบบการเมืองให้ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติดีกว่าครับ 

สำหรับผมเองนั้นเห็นว่าถ้าจะแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันจริงๆ นั้นต้องตัดวงจงการซื้อเสียงให้หมดไปจากการเลือกตั้งครับ โดยตัดการเชื่อมโยงของตัวละครการซื้อเสียง 3 ตัวนี้ออกจากการคือ (1) ‘ผู้จ้างหรือวานหัวคะแนนให้ไปทำหน้าที่ซื้อเสียง (ว่าที่ ส.ส. หรือ ส.ว.)’ เพราะไม่มี ส.ส. หรือ ส.ว. คนไหนหรอกครับจะเป็นคงซื้อเสียงด้วยตนเอง ที่ผ่านมาเป็นการซื้อเสียงผ่านตัวแทน คือหัวคะแนนทั้งสิ้นครับ (2) ผู้ทำหน้าที่ซื้อเสียง (หัวคะแนน) ซึ่งเป็นผู้ที่ ส.ส.หรือ ส.ว. ไว้ใจ และเป็นคนที่รู้จัก หรือมีอิทธิพลต่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในพื้นที่เป็นอย่างดี และ (3) ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ขายเสีย (ผู้ขายเสียง) 

วิธีการตัดวงจรนี้ก็คือทำให้ทั้ง 3 กลุ่มนี้ไม่ไว้วางใจกันอีกต่อไปโดยการออกกฎหมายให้บุคคลที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งมีโทษหนัก แต่ถ้าผู้กระทำผิดทำไปเพราะเกรงกลัวอิทธิพล หรือเห็นแก่ค่าจ้าง หรืค่าตอบแทน และเปลี่ยนใจเป็นพยานจนผู้จ้างวานได้รับโทษตามกฎหมาย ให้ถือว่าผู้กระทำผิดดังกล่าวไม่มีความผิดและเป็นผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ ซึ่งสาระในการออกกฎหมายตามหลักคิดนี้เป็นดังนี้ 

             ให้ตรากฎหมายว่า ผู้ใดรับเงิน หรือสิ่งตอบแทนใด ๆ เพื่อจูงใจให้ไปเลือกตั้งและลงคะแนนให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะนั้นมีโทษจำคุก 10 ปี หรือปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ผู้ใดที่รับจ้าง หรือวานให้เป็นผู้แทนทำหน้าที่ในการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมีโทษจำคุก 20 ปี หรือปรับ 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และบุคคลใดจ้างหรือวานให้บุคคลอื่นทำการซื้อเสียงมีโทษจำคุก 20 ปี และสิทธิสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต ในกรณีที่บุคคลที่ขายเสียง หรือผู้ได้รับจ้างหรือวานให้ทำหน้าที่ซื้อเสียงยอมเป็นพยานและมีหลักฐานชัดเจนจนกระทั้งผู้จ้างวางได้รับโทษตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าว่ไม่มีความผิดตามบทบัญญัตินี้ 

โดยบทบัญญัตินี้ผู้รับจ้างวางคงต้องเก็บหลักฐานการได้รับติดต่อจ้างวางไว้อย่างดี (เช่น แบบถ่ายวิดีโอไว้)  เผื่อถูกจับได้ก็จะได้มีหลักฐานให้ตนเองพ้นผิด และผู้ขายเสียง ถ้าจะเสี่ยงขายเสียงก็คงต้องหาหลักฐานของตนไว้เช่นกัน เผื่อถูกจับจะได้มีหลักฐานให้ตนเองพ้นผิด ถ้าไม่ทำก็เสี่ยงเอาเอง เพราะคงมีฝ่ายตรงกันข้ามจ้องหาหลักฐานเอาผิดอยู่แล้วเช่นกัน 

ด้วยระบบและกฎหมายดังกล่าว ผู้เชื่อว่า ส.ส. หรือ ส.ว. ต้องคิดหนักที่จะจ้างวานให้ใครเป็นหัวคะแนน เพราะไม่รู้ว่าจะถูกแทงข้างหลังเมื่อไหร่ และหังคะแนนที่ทำการซื้อเสียงก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน เพราะไม่รู้ว่าคนจะขายเสียงเป็นพวกใคร 

แต่กฎหมายปัจจุบันเอาผิดทุกฝ่าย จึงหาพยานยากครับ 

ผมแนวคิดไว้พิจารณานะครับท่าน ส.ว. และ ส.ส. ทั้งหลายครับ 

และถ้าจะช่วยกันทำให้ระบบการเมืองให้ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติแล้ว ขอให้ท่าน ส.ว. ที่ิคิดดีคิดงามเหล่านั้น และ ส.ส. ทั้งหลายช่วยกันแก้รัฐธรรมนูญยกเลิกมาตรา 109 ให้วุฒิสภาฯ (ถ้ายังจำเป็นต้องมี) มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี เช่นเดียวกันกับ ส.ส.​และมาตรา 272 ที่ให้สิทธิ ส.ว. ร่วมลงคะแนนผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากที่สภาผู้แทนพิจารณาแล้วตาม มาตรา 159 เพราะแม้ว่าบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรซึ่งประชาชนเลือกมาเห็นสมควรได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็อาจะแพ้โหวดในรัฐสภาได้ด้วยคะแนนเสียง ส.ว. 250 เสียง ซึ่งคัดเลือกโดยคณะกรรมการ ไม่ใช่เสียงประชาชนโดยตรงได้ 

การให้สิทธิ์ ส.ว. เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบผู้สมควรให้ดำรงตำแหน่ง กับการร่วมโหวตนั้นมีความแตกต่างกันที่ ถ้าร่วมโหวตแล้วชนะ ก็จะเป็นข้ออ้างว่าเป็นประชาธิไตย ต้องฟังเสียงข้างมาก แต่ถ้าให้สิทธิ์เพียงเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบนั้น หากสภาผู้แทนเห็นชอบให้คนใดคนหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วสมาชิกวุฒิสภาคนใดไม่เห็นชอบต้องมีเหตุผลตอบประชาชน 

ดังนั้นจึงสมควรต้องยกเลิกมาตรา 272 ดังกล่าวมาข้างต้น 

ท้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานนิยามการเมืองของผมที่ว่า ‘การเมืองเป็นกระบวนการตัดสินใจสารธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะ’ ดังนั้นการตัดสินใจเรื่องน่าจะมีรูปแบบการเลือกตั้งแบบไหนจึงจะยุติธรรม ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง หรือเลือกบุคคลที่สมควรเป็นนากยกแบบไหนจึงจะตอบโจทย์สาธารณะจริงเป็นสิ่งที่ทุกคนในประเทศนี้ควรมีสิทธิและเสียงในการเสนอ และร่วมคิดร่วมทำครับ เพราะประเทศนี้เป็นของทุกคน และทุกการตัดสินใจทางการเมืองส่งผลต่อทุกคนในประเทศนี้ รวมทั้งผมด้วยครับ

ฝากไว้พิจารณาครับ 

สมาน อัศวภูมิ

25 มกราคม 2565

หมายเลขบันทึก: 711407เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2023 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2023 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท