จอมพล (ประเทศไทย)


  “จอมพล” (ประเทศไทย)

RTA OF-10 (Field Marshal).svg

*อินทรธนูจอมพลไทย

Flag Thai Field Marshal.svg

*ธงหมายยศจอมพลไทย

   “จอมพล” เป็นยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพไทย โดยมียศที่เทียบเท่ากันของทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ จอมพล (ทหารบก) จอมพลเรือ (ทหารเรือ) และจอมพลอากาศ (ทหารอากาศ) (ตามพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. ๒๔๗๙)   โดยเป็นยศสูงกว่าพลเอก และเป็นรองแต่เพียงจอมทัพไทยเท่านั้น (จอมทัพเป็นตำแหน่งมิใช่ยศทางการทหาร จอมทัพไทยหรือพระมหากษัตริย์ทรงดำรงยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ) 

 -ปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะรับเงินเดือนอัตราพลเอกพิเศษ (เทียบเท่าอัตราจอมพลเดิม) แต่ไม่ได้รับพระราชทานยศจอมพล เนื่องจาก ยศจอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ เป็นยศสำหรับจอมทัพไทยเท่านั้น

 -ประวัติ

   -ยศจอมพลในประเทศไทยมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริตามแบบธรรมเนียมทหารในต่างประเทศ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลแก่ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จเรทหารทั่วไป เป็นพระองค์แรก ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลแก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก และพระราชทานยศจอมพลเรือแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงย้ายมาเป็นเสนาธิการทหารบก ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลให้ด้วย

  -ภายหลังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง มีการปรับสายการบังคับบัญชาทหาร จากกองทัพน้อย กองพล กรม กองพัน เหลือเพียงระดับกองพัน จึงไม่มีการพระราชทานยศจอมพล จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการขอพระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ยศจอมพลให้แก่ผู้บัญชาการทหารบก ยศจอมพลเรือแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ และยศจอมพลอากาศแก่ผู้บัญชาการทหารอากาศ และต่อมาได้มีการขอพระราชทานยศจอมพลสามเหล่าทัพให้เฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว

 -นายทหารผู้ได้รับพระราชทานยศจอมพลคนสุดท้าย คือ จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2515 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการแต่งตั้งยศจอมพลอีกเลย มีเพียงแต่งตั้งยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สามเหล่าทัพ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย, ปลัดกระทรวงกลาโหม รวมถึงการพระราชทานยศแบบพิเศษ เช่น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 ขณะที่พลเอกเปรมฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อ พ.ศ. 2531 ขณะที่พลเอกชาติชาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร เมื่อ พ.ศ. 2540 อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ, พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2534 อดีตผู้บัญชาการทหารเรือและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ[4] และ พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2546 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ ในการพระราชทานยศจอมพล จะพระราชทานคทาจอมพล ที่มีลักษณะเป็นรูปครุฑพ่าห์ ด้านล่างของด้ามคทาประดิษฐ์เป็นรูปทรงมัณฑ์ 3 ยอด ประดับด้วยแก้วผลึกสีเขียวสลับแดง ที่ด้ามมีจารึกนามจอมพลพร้อมด้วยวันที่ได้รับพระราชทาน

  -ปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะรับเงินเดือนอัตราพลเอกพิเศษ (เทียบเท่าอัตราจอมพลเดิม) แต่ไม่ได้รับพระราชทานยศจอมพล เนื่องจาก ยศจอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ เป็นยศสำหรับจอมทัพไทยเท่านั้น

 -รายพระนามจอมทัพไทย

  -พระมหากษัตริย์ไทยทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพไทย ดำรงพระยศจอมพล จำนวน 5 พระองค์ คือ

พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม วันเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันถวายเครื่องหมายพระยศจอมพล วันสิ้นสุดรัชกาล
King Chulalongkorn, Rama V.jpg พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
(สวรรคต)
King Vajiravudh portrait photograph.jpg พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453
(จอมพลทหารบก)
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453
(จอมพลเรือ)
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
(สวรรคต)
King Prajadhipok portrait photograph.jpg พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468
(จอมพลทหารบกและจอมพลเรือ)
2 มีนาคม พ.ศ. 2478
(สละราชสมบัติ)
King Ananda Mahidol portrait photograph.jpg พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488
(จอมพลทหารอากาศ)
7 ธันวาคม พ.ศ. 2488
(จอมพลทหารบก)
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(สวรรคต)
Anefo 911-6993 Aankomst Koning (cropped).jpg พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 24 มีนาคม พ.ศ. 2493
(จอมพลเรือ)
26 มีนาคม พ.ศ. 2493
(จอมพลทหารบกและจอมพลทหารอากาศ)
13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(สวรรคต)

6. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
 

*นายทหารชั้นจอมพล 11 ท่าน

 1. เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)

2. เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)

3. แปลก พิบูลสงคราม

4. ผิน ชุณหะวัณ

5. หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล)

6. ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี

7. สฤษดิ์ ธนะรัชต์

8. เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร - ได้รับพระราชทานยศจอมพล หลังจากเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ไต้หวัน เมื่อ พ.ศ. 2503 (ขณะเสียชีวิตมียศเป็นพลอากาศโท ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ)

9. ถนอม กิตติขจร

10.เกรียงไกร อัตตะนันทน์ - ได้รับพระราชทานยศจอมพล หลังจากเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อ พ.ศ. 2515 (ขณะเสียชีวิตมียศเป็นพลโท ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1)

11. ประภาส จารุเสถียร

คำสำคัญ (Tags): #"จอมพลไทย"
หมายเลขบันทึก: 711279เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2023 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2023 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท