๑๐ ทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุดแต่โรงเรียนไม่ได้สอน


นั่งฟัง Podcast ผ่าน Youtube ที่ Mission To The Moon โดยคุณรวิศ หาญอุตสาหะ

ในหัวข้อ “๑๐ ทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุดแต่โรงเรียนไม่ได้สอน”

 


ในฐานะผู้ทำงานในวงการการศึกษา มันเป็นเรื่องสำคัญมากว่า เวลาหน่วยงานการศึกษาไทยจะสอนเด็กควรสอนอะไร ไม่ใช่ คิดสอนแค่สาระการเรียนรู้ ทั้ง ๘ บวกสาระประวัติศาสตร์ที่เพิ่งประกาศออกมาเท่านั้น

ชีวิตมนุษย์มันมากกว่านั้น เราควรทักษะอะไรบ้างที่เด็กเขาต้องออกไปเผชิญหน้ากับโลกยุคใหม่

 

จาก Podcast นี้ ขอสรุปตามคุณ @gibnarkveg462 ที่เขียนไว้ในความคิดเห็น ดังนี้

 

The ๑๐ most important life skills nobody taught me : Anthony Yeung

 

๑. How to be happy? 

ทำอย่างไรถึงจะมีความสุข บางครั้งอาจต้องการคำแนะนำในการค้นหา เช่น การทำสมาธิ การปฏิบัติธรรม เป็นวิธีที่ช่วยให้พบกับความสุขได้แต่หลายคนทำไม่เป็นด้วยตัวเอง

 

๒. How to be fearless? 

จัดการกับความกลัวอย่างไร ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีความกลัวแต่เป็นวิธีการบริหารจัดการความกลัวเมื่อต้องเผชิญกับมัน โดยเฉพาะความกลัวเกี่ยวกับความผิดพลาด บางคนอาจจะก้าวผ่านความกลัวได้ยากกว่าคนอื่น ใช้เวลานานกว่า 

 

๓. How to see my own programming? 

จะมองเห็นโปรแกรมในตัวเราเองได้อย่างไร คนส่วนใหญ่มักจะเกิดและเติบโตในแบบที่คล้ายกับครอบครัวในมุมในมุมหนึ่ง  เพราะความใกล้ชิด/ความคุ้นเคย ถ้าเรารู้ถึงการมีสิ่งนั้น (และไม่ชอบ) เราก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นได้ ในหลายๆอย่างควรเปลี่ยนไม่ใช่เพราะไม่ชอบ แต่เปลี่ยนเพราะกาลเวลา หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป 

 

๔. How to learn? 

วิธีการเรียนรู้ของเราเป็นอย่างไร เราชอบการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในแบบไหนซึ่งของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น ชอบเรียนด้วยการอ่าน พูด เขียน หรือทดลองทำด้วยตัวเอง ถ้าเราค้นพบรูปแบบการเรียนรู้ของเราเองจะทำให้การเรียนรู้ทุกอย่างง่าย ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก 

 

๕. How to connect to myself? 

เราจะเชื่อมโยงและตระหนักรู้ในตนเองได้อย่างไร การรู้จักตัวเอง เป็นเรื่องเชิงจิตวิทยาที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน

 

๖. How to connect to people? 

วางตัวอย่างไรให้เข้ากับผู้อื่นได้ ทำอย่างไรจะมี EQ สูง ความสามารถในการอ่านคนอื่นผ่านภาษากาย เมื่อไหร่ควรพูด/ ไม่พูดในสภาพแวดล้อม/วัฒนธรรมต่าง ๆ 

 

๗. How to stop seeking approval? 

จะปล่อยวางความต้องการเป็นที่ยอมรับได้อย่างไร เพราะถ้าเราต้องเป็นคนที่ต้องการการยอมรับจากคนอื่นตลอดเวลาเรามีโอกาสที่จะเหนื่อยมาก (ต้องเอาใจคนตลอดเวลา) มี Self-Esteem ต่ำ และต้องทำสิ่งที่ตัวเองไม่ได้อยากจะทำจริงๆ เพียงเพื่อให้คนยอมรับ  

 

๘. How to say NO? 

ทำอย่างไรจะรู้จักการปฏิเสธ แต่ก็เป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน 

 

๙. How to get in shape? 

เราจะดูแลรูปร่าง/ รูปลักษณ์อย่างไร เป็นมากกว่าการดูแลโภชนาการและการออกกำลังกาย เพราะโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อนมากและมีอะไรใหม่ๆ มาให้เรียนรู้ตลอดเวลา 

 

๑๐. How to be decisive? 

เราจะตัดสินใจอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร เป็นกระบวนการหนึ่งที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน เพราะการตัดสินใจเลือกอย่างหนึ่งอาจทำให้ต้องปฏิเสธบางสิ่ง ต้องประเมินว่าเลือกอย่างไหนถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด
 

…………………………………………………………………………………………………………

หน่วยงานหลักของประเทศไทย ควรกลับมาตั้งคำถามทบทวนตัวเองได้แล้วว่า เราอยากให้เด็กไทยเป็นอย่างไร เราอยากให้สังคมไทยเป็นอย่างไร และเราอยากให้ประเทศไทยเป็นอย่างไร

ความรู้อะไร ทักษะอะไรที่เด็กไทยควรมี สิ่งไหนสอนในโรงเรียนได้ สิ่งไหนสอนในโรงเรียนไม่ได้ (ก็ควรเป็นเนื้อหาเพิ่มเติม) 

หลายครั้งที่ผู้กุมอำนาจความคิดเหล่านั้น หลงทาง เห็นประเทศไหนดี ก็ต้องไปเลียนแบบเขามา ทั้ง ๆ ที่บริบทของประเพณีวัฒนธรรมก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

บางทีระดับสติปัญญาและคุณธรรมในใจก็เป็นสำคัญที่คนกุมอำนาจเหล่านี้ควรมี ซึ่งผมได้บอกว่า ระดับการศึกษา ใบปริญญาใหญ่ ๆ จะดีเสมอไป จบสูงแต่คิดไม่ได้ คิดไม่เป็นก็เยอะ ภาพสะท้อนก็ลองพิจารณาดูสภาพสังคมในปัจจุบัน ก็จะค้นพบคำตอบนั้น

 

เกิดมาทั้งที เอาดี (คิดดี พูดดี ทำดี) ให้ได้

 

บุญรักษา ทุกท่าน ;)…

..

..

หมายเลขบันทึก: 711068เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2023 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2023 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจที่ทำได้หลายข้อและเรียนรู้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายเย่ๆสวัสดีปีใหม่ครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์ขจิต ;)…

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท