แบบสรุปการจัดการความรู้ ด้านบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2564


คู่มือสรุปการจัดการความรู้เรื่อง เทคนิคการหารายได้จากการให้บริการวิชาการผ่านศูนย์ความเป็นเลิศ

เพื่อรองรับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย

เทคนิคในการหารายได้จากการให้บริการวิชาการผ่านศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 5 ประเด็น ดังนี้

1. เทคนิคในการรับงานวิเคราะห์ทดสอบผ่านศูนย์ความเป็นเลิศ

1.1 ควรมีสถานที่และระบบการรับงานที่ชัดเจน

1.2 ควรมีคู่มือการใช้บริการ และรายการการวิเคราะห์ทดสอบทั้งหมดที่เป็นทางการ 

1.3 ควรมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบแต่ละรายการอย่างชัดเจน เพื่อให้สะดวกต่อลูกค้าที่จะขอใช้บริการ เช่น กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการชำระเงิน มีขั้นตอนอะไรบ้าง ติดต่อใคร รวมถึงคู่มือขั้นตอนสำหรับอาจารย์ที่ยังไม่เคยทำงานร่วมกับศูนย์และต้องการจะรับงานวิเคราะห์ทดสอบผ่านศูนย์ความเป็นเลิศ

1.4 ควรทำเป็นเว็บไซต์ทั้งเรื่องของงานวิเคราะห์ทดสอบ ราคา รวมถึงการประชาสัมพันธ์ความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในศูนย์ให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามได้ และ

1.5 ควรมีการจัดทำระบบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การให้บริการมีมาตรฐานรับรองซึ่งจะทำให้มีความน่าเชื่อถือ ผู้รับบริการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

2. เทคนิคในการรับทำงานวิจัยหรือให้คำปรึกษาด้านงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอกผ่านศูนย์ความเป็นเลิศ

2.1 ควรกำหนดรูปแบบการรับงานภายนอกที่ชัดเจน

2.2 ควรประชาสัมพันธ์แนวทางการปฏิบัติรวมถึงระเบียบที่เกี่ยวข้องให้บุคลากรทราบโดยทั่วถึง หรือ

2.3 ควรมีการจัดการอบรมแนะนำเกี่ยวกับการรับงานวิจัยผ่านศูนย์ความเป็นเลิศให้แก่อาจารย์และเจ้าหน้าที่เพื่อให้ทราบถึง รูปแบบ กฎระเบียบ ขั้นตอน ระเบียบการเบิกเงิน ค่าตอบแทน การขออนุมัติต่าง ๆ 

2.4 ควรมีการแยกประเภทของงานวิจัยที่จะให้คำปรึกษาอย่างชัดเจนในแต่ละด้าน

2.5 ควรจัดให้มีการรวมกลุ่มและจัดทำข้อมูลบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่สามารถรับทำงานวิจัยหรือให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภายนอกได้ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการประชาสัมพันธ์หรือสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย 

2.6 ควรมีผู้ที่รับผิดชอบหรือช่วยประสานงานในเรื่องระเบียบ การทำสัญญา และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดำเนินการได้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. เทคนิคในการจัดโครงการอบรมเพื่อก่อให้เกิดรายได้โดยผ่านศูนย์ความเป็นเลิศ

3.1 ควรจัดทำแผนการจัดอบรมที่ชัดเจนและครอบคลุมด้านต่าง ๆ ในรอบปี เพื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้ที่สนใจ เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สวทช. วว. ฯลฯ โดยประสานงานกับภาควิชา/สาขาวิชา/หลักสูตร ในการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อนำโครงการฝึกอบรมของภาควิชา/สาขาวิชา/หลักสูตร มาจัดลำดับความเป็นไปได้ของตลาด ทั้งนี้

3.2 ศูนย์ความเป็นเลิศควรเป็นผู้จัดการเบิกจ่ายสำหรับโครงการที่จัดผ่านศูนย์ทั้งหมดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาควิชา/สาขาวิชา/หลักสูตร โดยต้องยึดระเบียบการเงินและพัสดุที่ถูกต้อง เพื่อมิให้เกิดปัญหาภายหลัง 

3.3 ศูนย์ความเป็นเลิศควรอบรมหรือชี้แจ้งให้ภาควิชา/สาขาวิชา/หลักสูตร ได้เข้าใจถึงกระบวนการ ลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดโครงการฝึกอบรมผ่านศูนย์ 

3.4 หลักสูตรที่จะจัดอบรมควรเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นจำนวนมาก เป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับ รับรองจากหน่วยงานภายนอก ที่สามารถนำไปประชาสัมพันธ์หาลูกค้าได้อย่างชัดเจน เช่น ในกรณีของหลักสูตรด้านดิจิทัล จะมีหน่วยงาน สดช. รับรองหลักสูตรฝึกอบรมดิจิทัลภาครัฐ เป็นต้น 

3.5 ศูนย์ความเป็นเลิศสามารถเพิ่มฐานลูกค้าและประชาสัมพันธ์ความถนัดของศูนย์แก่บุคคลทั่วไปได้ง่าย โดยการแบ่งรูปแบบการฝึกอบรมเป็นแบบไม่เก็บค่าอบรม และแบบเก็บค่าอบรม โดยแบบไม่เก็บค่าอบรมควรจะเป็นการอบรมแบบขั้นพื้นฐาน เนื้อหาไม่ยากมากเป็นระดับเบื้องต้น ใช้เวลาในการอบรมน้อย และแบบเก็บค่าอบรมควรจะเป็นเนื้อหาที่ยากขึ้น เฉพาะทางมากขึ้น และอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มฐานลูกค้าได้ก็คือ การอบรมในลักษณะการสัมมนา (อาจจะเป็นแบบออนไลน์) ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มาแชร์ปัญหาและวิธีการรับมือ ก็ยังจะเป็นการต่อยอดไปสู่ การจ้างงานผ่านศูนย์อีกทางหนึ่งด้วย

4. เทคนิคในการทำให้ห้องปฏิบัติการมีมาตรฐานรับรอง

4.1 ควรกำหนดให้มีการจัดทำห้องปฏิบัติการมีมาตรฐานตามระบบต่าง ๆ เช่น ISO17025 ESPReL ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าห้องปฏิบัติการนั้นจะขอการรับรองมาตรฐานใด จะทำให้เกิดประโยชน์กับการให้บริการ แน่นอนว่าลูกค้าจะให้ความเชื่อถือ ถ้าห้องปฏิบัติการนั้นได้รับการรับรองมาตรฐาน

4.2 ควรทำให้ห้องปฏิบัติการได้การรับรองที่ชัดเจนในแต่ละมาตรฐาน โดยกำหนดเป็นนโยบาย มอบหมายผู้รับผิดชอบ สนับสนุนการดำเนินการและงบประมาณบางส่วน ซึ่งจะทำให้ให้สามารถรับงานบริการวิเคราะห์ทดสอบได้มากขึ้น 

4.3 อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลห้องปฏิบัติการนั้นต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางของแต่ละมาตรฐาน

4.4 การเข้าร่วมอบรมอย่างเดียวโดยไม่นำมาปฏิบัติจะไม่ส่งผลอะไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องได้รับความเห็นชอบและการสนับสนุนจากผู้บริหารด้วยทั้งด้านของอุปกรณ์ เครื่องมือ การปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้น ๆ รวมถึงผลตอบแทนต่าง ๆ ที่จะเกิดกับร่วมผู้ปฏิบัติงาน 

5. แนวทางอื่น ๆ ที่ทำให้ศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดรายได้ 

5.1 การจัดทำผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากผลงานวิจัยของคณาจารย์ จัดช่องทางประชาสัมพันธ์และจำหน่าย 

5.2 การหาผู้ประกอบการที่สนใจนำผลิตภัณฑ์หรือผลงานวิจัย นวัตกรรมของคณาจารย์ไปพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์

5.2 ศูนย์ความเป็นเลิศควรประชาสัมพันธ์รูปแบบการดำเนินงาน ระเบียบและกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ให้กับบุคลากรในคณะฯได้ทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีช่องทางในการดำเนินงานร่วมกับศูนย์ได้

ภาพกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

https://rb.gy/jghrj7

หมายเลขบันทึก: 710911เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2022 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2022 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท