แบบสรุปการจัดการความรู้ ด้านการเรียนการสอน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2563


คู่มือสรุปการจัดการความรู้เรื่อง เทคนิคการสอนออนไลน์ในรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพในช่วงโรคระบาด

  1. ในการสอนแต่ละครั้งผู้สอนจะใช้ใช้โปรแกรมร่วมกับ application หลายรูปแบบ เช่น ใช้ MS Teams ในการเรียนการสอน ใช้ D-learn ในการสอบและการส่งงาน ใช้ line ในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษา รวมไปถึงใช้ในการยืนยันตัวตน เชคชื่อ หรือ เก็บคะแนนการมีส่วนร่วมในห้องเรียนออนไลน์ ใช้กระตุ้นให้นักศึกษา ไม่หนีหายไปไหนในช่วงที่เราสอนออนไลน์ 
  2.  ในระหว่างเรียนต้องมีกิจกรรมให้นักศึกษาทำโจทย์  ฝึกการแก้ปัญหาและถ่ายภาพส่ง ผ่านระบบ D-learn โดยกำหนดเวลาในการทำ หลังเรียนจบมีบันทึกวิดีโอสอนไว้ให้นักศึกษาเข้ามาดูย้อนหลังได้ ในรายวิชาที่มีฝึกปฏิบัติควรมีการถ่ายคลิปวีดีโอให้นักศึกษาดูประกอบ หรือส่งให้นักศึกษาได้ดูมาก่อนเข้าเรียน
  3. การวัดผลควรเป็นข้อสอบที่เน้นการวิเคราะห์มากกว่าเป็นข้อสอบแบบถูกผิดหรือปรนัย เนื่องจากไม่สามารถคุมเรื่องของการลอกกันของเด็กได้ 100 เปอร์เซ็นต์  น้ำหนักคะแนนของการวัดผลต้องสอดคล้องกับการเรียน และส่งงานผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ระบบ D-Learn ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้สอนสามารถเปิดเป็นห้องสอบไว้แล้วโดยแยกลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย กับแบบอัตนัยชนิดเติมคำตอบสั้นๆ 
  4. ซึ่งป้องกันการลอกกันได้ระดับหนึ่งโดยการสุ่ม choice  คำถามเน้นไปที่การให้ได้ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ที่นักศึกษาจะถูกจำกัดด้วยเวลาการทำข้อสอบซึ่งเราสามารถประเมินได้ว่าหากผู้เรียนเข้าใจก็สามารถทำข้อสอบได้ทันตามที่เวลากำหนด เป็นต้น
  5. ข้อดีของโปรแกรม/application แต่ละรูปแบบ เป็นดังนี้

MS Teams

ข้อดี

  1. Microsoft Teams  โดยทั่วไปใช้เป็นโปรแกรมหลักในการสอนออนไลน์ ข้อดีคือ นักศึกษาสามารถเข้าได้โดยไม่ต้องสมัครอาจารย์ผู้สอนสามารถ add ชื่อนักศึกษาที่มีรหัสนักศึกษาเข้ากลุ่มได้ทันที่
  2. MS team ในการเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจากสามารถสอนได้ยาว ไม่มีการตัด (เช่น Zoom )
  3. MS team สามารถบันทึกคลิป VDO จากการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาที่อยู่ในทีมสามารถเข้าไปดูได้
  4.  ส่งไฟล์หากันได้ โดยใช้ Microsoft Office ในการจัดการ
  5.  มีทั้งแอพพลิเคชั่น ใน PC, Mobile
  6. สามารถแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาเรียน – แจ้งเตือนได้เมื่อมีประชุมหรือแชท
  7. Team เหมาะกับการใช้ให้นักศึกษาส่งงานเพราะจะไม่กินพื้นที่ server ของมหาวิทยาลัย  

 ข้อเสีย 

  1. หน้าจอในการแสดงผลได้จำนวนน้อยเห็นคนไม่ครบ
  2. ระบบ Streaming ยังไม่ดีพอ ไม่ลื่นไหล สู้ Zoom ไม่ได้  ภาพไม่ชัดเจน

ขั้นตอนการใช้งาน Microsoft Teams (ที่มาจาก สวส. RMUTT : http://www.ict.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2020/03/การเข้าใช้งานโปรแกรม-Microsoft-Teams.pdf)

Zoom 

ข้อดี

  1. เชิญ guess ได้ง่ายและมีการเลื่อนดูนักศึกษาได้สะดวกกว่า 
  2. รุ่นฟรี สามารถประชุมพร้อมกันได้สูงสุด 100 คน 
  3. รองรับการประชุมร่วมกันจากทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าผู้ร่วมประชุมจะใช้ PC, Mac, IOS, Android
  4. สามารถแชร์หน้าจอในกลุ่มผู้ประชุมได้แบบไหลลื่น โดยสามารถแชร์โดยตรงจากมือถือ นอกจากนี้ยังแชร์คอนเทนต์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ ไฟล์ใน Drop box, One Drive, Google drive และ box

ข้อเสีย   

Zoom ฟรีจะจำกัดเวลาในการสอนครั้งละไม่เกิน 40 นาที

D-learn 

ข้อดี

  1. เป็นโปรแกรมที่ดีสำหรับการสอบออนไลน์ ส่งงาน หรือทำแบบฝึกหัดออนไลน์
  2. ฟรี เป็นของมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถเข้าได้โดยตรง 
  3. หากออกข้อสอบปรนัยสามารถสลับตัวเลือกได้

ข้อเสีย

          -

Google classroom 

ข้อดี

  1. สามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้ การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครู่เดียว ผ่านบัญชีอีเมล์ Google Apps for Education
  2. สามารถจัดเก็บไฟล์งานให้อย่างเป็นระบบ ภายใต้ Folder “Classroom”
  3. สั่งงานและกำหนดวันส่งการบ้านได้ ตรวจงาน และให้คะแนนสะดวก ประหยัดเวลา
  4. เช็คได้ว่าใครยังไม่ส่งงาน
  5. สามารถออกข้อสอบโดยใช้ google form ทำได้ทั้งข้อสอบ choice ข้อสอบอัตนัย เขียนแล้วถ่ายรูปแนบไฟส์ได้ สามารถสลับข้อ สลับ choice ตั้งเวลาในการทำข้อสอบได้

โปรแกรม Microsoft office 

ข้อดี 

โปรแกรม Microsoft office เช่น MS ppt, MS word, MS outlook เป็นต้น ใช้จัดทำ หรือ แสดงเนื้อหาในการเรียนการสอนของแต่ละวิชาที่ สอน ออนไลน์ 

ข้อเสีย

          -

 โปรแกรม OBS 

ข้อดี

ใช้ในการจัดการหน้าจอแสดงผลสำหรับการสอนออนไลน์ ที่มีการใช้กล้องมากกว่า 1กล้อง หรือ ใช้แสดงผลการโปรแกรหลาย ๆ โปรแกรมได้ ใช้สลับหน้าจอ จัดการเสียง ลดเสียงรบกวนต่าง ๆ จัดมุมภาพ เป็นต้น 

Application line

ข้อดี

ใช้สำหรับติดต่อพูดคุยกับนักศึกษา รวมไปถึงใช้ในการยืนยันตัวตน เชคชื่อ หรือ เก็บคะแนนการมีส่วนร่วมในห้องเรียนออนไลน์ ใช้กระตุ้นให้นักศึกษา ไม่หนีหายไปไหนในช่วงที่เราสอนออนไลน์

ข้อเสีย

          -

Jupiter 

ข้อดี

Jupiter เหมาะสำหรับการ simulate เมื่อให้นศเขียนโปรแกรม 

ข้อเสีย

การ run code ในบางครั้งอาจจะมีปัญหา

 

YouTube 

ข้อดี

เมื่ออัดคลิปให้นักศึกษาต่างชาติ นักศึกษาสามารถเปิด subtitle ได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมตัดต่อเพื่อใส่คำบรรยายเพิ่ม )

ข้อเสีย

          -

การสร้างแรงจูงใจในการเรียน การทำให้นักศึกษาสนใจเรียนสามารถทำได้โดย

  1. ให้รางวัลเป็นคะแนนโบนัสสำหรับคนที่ตอบคำถามได้                                  
  2. เรียกถาม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาอยู่กับการเรียนการสอน และเป็นการให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น                         
  3. สุ่มเรียกชื่อตอบ ให้ตอบคำถามเพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา                            
  4. ให้นำเสนองานโดยการสุ่มชื่อ                               
  5. มีกิจกรรมขั้นระหว่างสอน เช่น quiz                       
  6. หลังจากสอนบรรยายเสร็จมีการทำแบบฝึกหัดท้ายคาบส่งภายในเวลาเรียนทำให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติและเกิดคำถาม                                    
  7. เชิญวิทยากรบรรยายในบางบทเรียน เช่น การตลาดดิจิทัล ได้มีการเชิญ วิทยากร ซึ่งเป็นไลฟ์โค้ช บรรยายการสร้างแบรนด์ การทำการตลาด มาบรรยาย เพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคตกับตัวนักศึกษาเอง                                  
  8. จัดกิจกรรม ให้นักศึกษานำเสนองาน ให้เวลาในการทำงานในคาบเรียน แล้วนำเสนอท้ายคาบ ให้เพื่อน ๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น    

 

วิธีการแก้ปัญหานักศึกษาไม่สนใจเรียนออนไลน์

  1. มีการควิซระหว่างเรียนโดยไม่บอกวันเวลาที่แน่นอน 
  2. สุ่มเช็คชื่อระหว่างการบรรยายทั้งนี้อาจสังเกตุว่าหากเงียบไปแบบผิดปกติ ให้ผู้เรียนลองทดสอบเสียงตนเองหรือตอบคำถามสั้นๆระหว่างการบรรยาย
  3. จัดกิจกรรมระหว่างสอน เพื่อให้นักศึกษาสนใจในช่วงเวลาที่สอน เช่น ให้ทำแบบฝึกหัด  quiz   นำเสนองาน
  4. เรียกชื่อถาม-ตอบในขณะเรียน ในบางครั้งใช้วิธีหักคะแนนเก็บ
  5. ให้นักศึกษา เปิด app line  คู่ขนานด้วย ถามคำถามเก็บคะแนนย่อย  โดยให้นักศึกษา พิมพ์คำตอบผ่าน line  ของตนเอง โดยจะมีการแสดงหน้าจอ line แบบ real time  นักศึกษาจะเห็นที่ตัวเองพิมพ์ผ่าน หน้าจอการเรียนออนไลน์ โดยการพิมพ์คำตอบ จะมีการกำหนดเวลาไว้ นักศึกษาต้องพิมพ์คำตอบที่ถูกต้องด้วยตนเองภายในเวลาที่กำหนด 
  6. ใช้ MS Stream ระหว่างสอน ซึ่งจะมีการเปิดกล้อง แต่จะมีการแบ่งช่วงการสอนออกเป็นหลายรอบ แต่สอน 4 ชม. จะแบ่งทำคลิปเป็น 5-6 ช่วง เพื่อให้เด็กได้พักคอมหรือมือถือ
  7. ในบางชั่วโมงมีการสอบ Pre-test และ Post-test

 

รูปแบบการการมอบหมายงานการบ้าน/การทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาที่ เหมาะสมกับการเรียนการสอนออนไลน์

  1. มอบหมายงานผ่านระบบ MS Team ในการบรรยายแต่ละครั้ง ร่วมกับการใช้ไลน์กลุ่มเพื่อการส่งงานของผู้เรียน
  2. ให้ค้นคว้าในเรื่องที่นักศึกษาสนใจ   ให้นักศึกษานำเสนอ และให้เพื่อนให้การประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของงาน
  3. มอบหมายงานให้ทำส่งภายในคาบเรียน
  4. มอบหมายงานให้ทำส่งภายในคาบเรียน
  5. ใช้โปรแกรม  D-learn ในการส่งงาน การบ้าน เนื่องจากสามารถแยกกลุ่มนักศึกษาหรือตรวจเชคงานแบบ ออนไลน์ได้ 
  6. มอบหมายงาน มีทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ทำงาน จะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิก จำนวน 2-3 คน เพื่อลดการรวมตัวกันของนักศึกษา และให้ระยะเวลาการทำงานที่นานขึ้น เนื่องจากบางคนอาจจะไม่สะดวกในการทำงาน นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถส่งงานได้ทั้งแบบไฟล์ วาดลงกระดาษ หรือในรูปแบบที่นักศึกษาสะดวก เนื่องจากนักศึกษาบางคนไม่มีคอมพิวเตอร์ 
  7. เมื่อทำงานนอกจากส่งชิ้นงานแล้วให้นักศึกษาอัดคลิป present การบ้านหรืองานของตัวเอง มีคะแนนความน่าสนใจ โดนคะแนนนี้จะมาจากเพื่อน ๆ

 

รูปแบบการวัดประเมินผลที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์

  1. ใช้ทั้งข้อสอบเป็นแบบปรนัย กับแบบอัตนัยชนิดเติมคำตอบสั้นๆ โดยเน้นไปที่การให้ได้ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ที่นักศึกษาจะถูกจำกัดด้วยเวลาการทำข้อสอบ
  2. ระบบ D-learn เป็นระบบที่หมาะสมกับการสอบ ทั้งข้อสอบแบบปรนัยและอัตนัย
  3. มีการให้คะแนนในส่วนของทักษะด้านปัญญา โดยดูจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน การตอบคำถาม และคะแนนในส่วนของการใช้สื่อฯ
  4. ให้คะแนนจากการบ้าน งานเดี่ยว งานกลุ่ม และการสอบ
  5. ข้อสอบควรเป็นข้อสอบคิดวิเคราะห์ในรูปของข้อสอบอัตนัยมากกว่าข้อสอบปรนัย
  6. การประเมินผล มีทั้งการ สอบ ภาคทฤษฎี และปฏิบัติ การเก็บคะแนนจากการบ้าน งานอื่น ๆ ที่มอบหมาย การนำเสนองานและการเข้าเรียน โดยจะแบ่งสัดส่วนคะแนนตามความเหมาะสมของรายวิชา
  7. ให้คะแนนจากแบบฝึกหัด การตอบคำถามระหว่างเรียนและการสอบที่เป็นตัวเลือกกับตอบคำถามสั้น ๆ

ข้อดีของการเรียนการสอนออนไลน์

  1. เพิ่มความอิสระในการเรียนรู้ให้กับทั้งนักศึกษา และอาจารย์ 
  2. ไม่ต้องมาเรียนแออัดในห้องเรียน
  3. ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องออกนอกที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น ลดโอกาสการไปเสี่ยงสัมผัสโรค
  4.  ผู้สอนสามารถแชร์ VDO หรือสื่อประกอบการสอนในรูปแบบอื่นขึ้นไว้ในห้องเรียน D-Learn เพื่อผู้เรียนได้ใช้ทบทวนได้ทุกเวลา
  5. สะดวก ทันสมัย สะดวก ทันสมัย ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น
  6. นักศึกษาสามารถทบทวนเนื้อหาย้อนหลังได้ จากคลิปวีดีโอที่อัดไว้ นักศึกษาสามารถทบทวนเนื้อหาย้อนหลังได้ จากคลิปวีดีโอที่อัดไว้ ดูทบทวนเมื่อไรก็ได้
  7. นักศึกษาสามารถเรียนได้ทุกที่ นักศึกษาบางคน สามารถช่วยที่บ้าน ลดภาระค่าใช้จ่าย ในการเช่าหอพักได้

ข้อเสียของการเรียนการสอนออนไลน์

  1. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนลดลง คุณภาพของการเรียนการสอนลดลง
  2. ไม่สามารถควบคุมการเข้าเรียนและการให้ความสนใจจากนักศึกษาได้
  3. มีปัจจัยอื่นรบกวนมากมาย ทำให้คุมเวลาหรือกิจกรรมระหว่างสอนไม่ได้
  4. เด็กไม่ตั้งใจเรียนเท่าที่ควร อาจารย์พูดหรือสอนคนเดียว 
  5. จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพรวมถึงความแรงของสัญญาณระบบเครือข่ายที่ต้องรองรับได้กับกรณีจำนวนผู้เรียนมากๆ เพื่อไม่ให้มีปัญหาการหน่วงของระบบภาพและเสียง
  6. ข้อจำกัดในการตรวสอบความโปร่งใสขณะที่ผู้เรียนทำข้อสอบในแต่ละครั้งจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบถึงความสุจริตของผู้สอบว่ามีมากน้อยเพียงใด
  7. ถ้าต้องการการสอนและการสอบวัดผล ที่ได้ประสิทธิภาพ เสมือนการสอนการสอบในห้องเรียน ต้องมีการลงทุนด้านอุปกรณ์ สำหรับการออนไลน์ ที่สูงมาก สิ้นเปลืองมาก ทั้งด้านอาจารย์ผู้สอนและด้านผู้เรียน 
  8. นักศึกษาจะหลุดสมาธิ ในการเรียนได้ง่ายเพราะ ไม่มีแรงกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมการเรียนภายในห้อง ส่งผลให้อาจเรียนไม่ค่อยเข้าใจ หรือใช้เวลามากกว่าปกติในการเข้าใจบทเรียน 

        แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนออนไลน์ 

  1. ยอมใช้เวลาในการเรียนการสอนแต่ละครั้งนานขึ้นจากปกติเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน
  2. เตรียมสื่อการสอนที่หลากหลายมากขึ้นและ แบบฝึกหัดที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป
  3. แก้ปัญหานักศึกษาอยู่ในห้องเรียนระหว่างสอนได้ตลอดเวลาโดยสอบย่อยระหว่างเรียน เรียกถามตลอดเวลา
  4. ปัญหาอินเตอร์เน็ตช้า (เน็ตมหาวิทยาลัย) เนื่องจากมีผู้ใช้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก การแก้ปัญหาก็ทำโดยการ เรียกนักศึกษาเข้าห้องก่อนเวลาเรียนจริง 15 นาที 
  5. ปัญหานักศึกษาลอกข้อสอบ แก้ปัญหาโดยการออกข้อสอบปริมาณมากเพื่อให้ระบบทำการสุ่มข้อสอบ สุ่มตัวเลือก เพื่อให้นักศึกษาลอกกันยากขึ้น
  6. ส่ง Link คลิปที่อัดสอนล่วงให้นักศึกษาดูก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในคาบเรียนไม่ใช้เวลานานจนเกินไป

ภาพกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจัดการองค์ความรู้ ด้านการผลิตบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - GotoKnow

หมายเลขบันทึก: 710908เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2022 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2022 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท