พระพุทธศาสนากับอนาคตของมนุษยชาติ โดย ศ. นพ. ประเวศ วะสี


พระพุทธศาสนากับอนาคตของมนุษยชาติ

ทางสายกลางกับอนาคตของมนุษยชาติ

 

  1. โลกวิกฤตอย่างยิ่ง อารยธรรมตะวันตกวิกฤต

อาการแห่งวิกฤต

  1. สาเหตุของวิกฤต = เสียสมดุลทุกมิติ – ตั้งแต่สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง จนถึงตัวมนุษย์เอง 
  2. ต้นเหตุวิถีคิดตะวันตก    ความรู้ = อำนาจ

อำนาจไปแย่งชิง

= วิถีคิดเชิงอำนาจ

  1. Einstein “We shall need a radically new manner of thinking, if mankind is to survive”

เราต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง

วิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง คืออะไร? ไอน์สไตน์ไม่ได้บอก

  1. คือ วิถีคิดเชิงปัญญา

ทางสายกลาง คือ ทางสายปัญญา

พระพุทธศาสนาสอนเรื่อง ทางสายกลาง หรือ สายปัญญา

  1. ปัญญา คือ ความเป็นเหตุเป็นผลล้วน ๆ หรือ อิทัปปัจจยตา สรรพสิ่งเป็นกระแสของเหตุปัจจัย ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด ซึ่งเป็นส่วนสุด (Extremes) ทั้งสอง

“เทฺวเม ภิกขะเว อันตา” ส่วนสุดทั้งสองภิกษุไม่ควรเสพ จึงเรียกว่าทางสายกลาง

  1. ทางสายกลางจึงเป็นทางสายปัญญาล้วน ๆ ไม่สุดโต่ง ไม่แยกข้างแยกขั้ว ไม่เอาตัวตน (อัตตา) เป็นที่ตั้ง
  2. และมีวิธีปฏิบัติหรือมรรค เพื่อลดอัตตา กิเลส ตัณหา เพื่อให้ปัญญาเป็นไปได้ 
  3. วิถีคิดแบบตะวันตก แม้เก่งในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่การคิด (จินตามยปัญญา) โดยปราศจาก ภาวนามยปัญญา ก็หนีไม่พ้นจากการตกเป็นเหยื่อของกิเลสตัญหา 

ฉะนั้น ตะวันตกแม้เก่งทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพียงใด ก็ตกเป็นทาสของกิเลสตัญหา นำเอาความรู้เป็นอำนาจไปต่อสู้แย่งชิง แม้เอาระเบิดปรมณูไปทิ้งใส่กันก็ทำได้ ก่อความรุนแรงทั่วไป จนกระทั่งเสี่ยงต่อการเกิดสงครามนิวเคลียร์
 

  1. ทางสายกลาง เมื่อพยายามลดความมีตัวตน จนแม้ถึงหมดความมีตัวตน ทำให้เกิดจิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) ทำให้เกิดความสุข และความสมดุลในตน = สุขภาวะ คุณภาพชีวิต และไมตรีจิตอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง อันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล = สันติภาพ

         พุทธศาสนาเป็นศาสนาเพื่อสันติภาพ

  1. ปัญญาทางพุทธศาสนา คือ ความเป็นกลางตามธรรมชาติหรือธรรม แม้พระตถาคตจะเกิดหรือไม่เกิด ธรรมธาตุก็ตั้งอยู่แล้ว จึงมีความเป็นสากล ไม่ต้องรู้จักหรือเรียกว่าพุทธก็ได้ ทางสายกลางเป็นความจริงตามธรรมชาติที่ใคร ๆ ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกวัฒนธรรม ก็ค้นพบได้ 

ธรรมจึงเป็นปัญญาสากล เหมาะแก่การที่มนุษยชาติจะใช้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่าง

 สมดุล
       ทางสายกลางจึงเป็นอนาคตของมนุษยชาติ

  1. ข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ ควรทำหลักสูตร 

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาอย่างสมดุล

     ปริยัติและปฏิบัติ

เป็นหลักสูตรกลางสำหรับนิสิตทั้งหมด ซึ่งมีหลายหมื่นรูป/คน และส่งนิสิตเหล่านี้ไปประสานงานกับวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีประมาณ ๔๐,๐๐๐ วัด ให้ทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล

ชุมชนเรียนรู้ = สังฆะ = อุดมคติทางพุทธศาสนา

  1. “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ทางพุทธศาสนา คือ


 

สามารถเขยื้อนสิ่งยากประดุจภูเขา คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล 

การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล คือ สิ่งสูงสุดของมนุษยชาติ นั่นคือสันติภาพโลก

 

“ราษฎรอาวุโส” ผู้ลิขิตถวาย

๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๕

 

 

หมายเหตุ      ทั้ง ๑๓ ข้อ โดยสรุปนี้ นิสิตปริญญาเอกสามารถทำวิทยานิพนธ์ศึกษาค้นคว้าใน                  รายละเอียดได้หลายแง่หลายมุม หลายขั้น หลายตอน

 

----------------------------------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 710757เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2022 05:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2022 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท