แนวคิดและทฤษฎีอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


แนวคิดและทฤษฎีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร., ๒๕๖๐) ได้ทำการรวบรวมแนวคิดและทฤษฎีอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยชี้ให้เห็นว่า โครงการอันเนื่องมาจากาพระราชดำริต่าง ๆ ล้วนมีแนวคิดทฤษฎีอันเกิดจากพระปรีชาสามารถตลอดจนพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เป็นหลักดำเนินการอยู่ในทุกโครงการฯ แนวคิดและทฤษฎีอันหลากหลายเหล่านี้ สำนักงาน กปร. ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำหน้าที่ในการประสานการดำเนินงานสนองพระราชดำริมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้รวบรวมและเรียงแนวคิดทฤษฎีเหล่านี้เพื่อเก็บบันทึกเป็นหลักฐานและข้อเท็จจริงของการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเชิงวิเคราะห์ และทำความเข้าใจกับสาระสำคัญในแต่ละเรื่อง จากการรวบรวมและเรียบเรียงแนวคิดและทฤษฎีอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสำนักงาน กปร. พบว่า มีแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญดังนี้

          - ทฤษฎี “แกล้งดิน” อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          - ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดิน โดย หญ้าแฝก พืชจากพระราชดำริ กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน

          - ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ “ฝนหลวง”

          - แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ “เครื่องดักหมอก” เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

          - หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง (dilution) ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “น้ำดีไล่น้ำเสีย” โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity flow)

          - หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (filtration) ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "บึงมักกะสัน"

          - ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้กระบวนการทางชีววิทยาผสมผสานกับเครื่องกลเติมอากาศแบบ “สระเติมอากาศชีวภาพบำบัด” (biological treatment aerated lagoon) ตามแนวพระราชดำริ “บึงพระราม ๙”

          - ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ (constructed wetland and air transfer for waste water treatment) ณ  บริเวณหนองสนม-หนองหาน

          - ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อน้ำบำบัดน้ำเสียและวัชพืชบำบัด (lagoon treatment and grass filtration) ณ แหลมผักเบี้ย

          - ทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ โดยใช้วิธีทำให้อากาศสามารถละลายลงไปในน้ำ (air transfer) เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และการเพาะตัวอย่างรวดเร็วของแบคทีเรีย จนมีจำนวนมากพอที่จะทำลายสิ่งสกปรกในน้ำให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”

          - ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี (physical-chemical process) ด้วยการทำให้ตกตะกอน (sedimentation) ตามพระราชดำริ สารเร่งตกตะกอน PAC (Poly Aluminum Chloride)

          - ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (flood management)

          - ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          - ทฤษฎีใหม่ การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร : อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน "เส้นทางเกลือ" อันเนื่องมาจากพระราชดำริตามหลักสังคมวิทยาการแพทย์ (medical sociology)

          - แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (self reliance)

          ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดและทฤษฎีในงานสาขาใดที่ได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาไว้ หลักสำคัญของทุกเรื่องก็คือความเรียบง่ายดังที่ได้ทรงใช้คำว่า “simplify” หรือ “simplicity” จะต้องเรียบง่ายไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งในแนวความคิดและด้านเทคนิควิชาการจะต้องสมเหตุสมผล ทำได้รวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนมุ่งไปสู่วิถีแห่งการพัฒนายั่งยืน (sustainability) อีกด้วย

 

แหล่งอ้างอิง

เมธา หริมเทพาธิป, รวิช ตาแก้ว และคณะ. (๒๕๖๔). "สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน". รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศปป.๕ กอ.รมน. และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หน้า ๔๔ - ๔๕.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (๒๕๖๐). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท