ความทรงจำที่ประทับใจ : ใครว่า "เด็กดื้อ"


ทุนชุมชน ทุนนักศึกษา "ทุนความรู้คือทุนแห่งพลัง" ที่ทุก ๆ คนมีแฝงและฝังอยู่ในตนเองอย่างมากล้น

ทุก ๆ ครั้งในช่วงที่ตารางสอนออกมา เวทีเสวนาของพวกเราเหล่าอาจารย์ก็จะหยิบยกประเด็นกันขึ้นมาสอบถาม พูดคุยกันว่า "เด็กห้องนี้เป็นอย่างไร ดื้อไหม ใครเคยสอนห้องนี้มาบ้าง"


อาจารย์หลาย ๆ ท่านก็บอกว่าห้องนี้น่ารัก ห้องนี้ดื้อ ห้องนี้เป็นอย่างงั้น ห้องนั้นเป็นอย่างนี้ โปรแกรมนี่พูดง่าย โปรแกรมนั้นสอนยาก ถ้าเป็นเด็กคณะฯ เราก็พอคุยได้ ถ้าเป็นคณะอื่นก็พูดยาก


แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ ถ้าต้องเจอ "เด็กดื้อ"
.


เหตุการณ์แห่งความประทับใจที่เริ่มต้นจากความวิตกและกังวล เมื่อโชคชะตาจะต้องไปจัดการเรียนการสอนและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาโปรแกรมธุรกิจบริการ กศ.บป. วิทยาเขตน่าน

ที่ใครต่อใครให้สมญานามว่า "ดื้อมาก"


นักศึกษาดื้อกันจริงหรือ???

ถ้าดื้อ คือ การไม่ทำหรือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ที่เรา (อาจารย์) ตั้งไว้ ก็ต้องย้อนกลับมาดูกฎหรือระเบียบที่เราตั้งไว้ว่า "เหมาะสมกับเด็กหรือนักศึกษาหรือไม่


นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่จะมาเรียน ผู้ที่จะมาศึกษา แน่นอนเขาต้องมาเพื่อศึกษาหาความรู้แน่นอน


แล้วทำไมเขาถึงดื้อล่ะ ?
ไม่อยากเรียนล่ะ?


มาสาย หลับในห้อง ไม่ส่งงาน ไม่ตั้งใจเรียน....


 
เขาไม่ได้ดื้อหรอกครับ


แต่ "เขาอยากเรียนรู้" อยากเรียนรู้มากกว่าในห้อง 4 เหลี่ยม
อยากทำมากกว่านั่งจดหรือนั่งฟัง

นักศึกษาทุก ๆ มีศักยภาพ (มาก ๆ) มากกว่าที่จะมานั่งนิ่ง ๆ ดูสไลด์ อ่านหนังสือ หรือจดเลคเชอร์


การเรียนรู้ การศึกษามีมากมายหลายแบบ การใช้ศักยภาพของเราเป็นโจทย์ในการเรียนรู้เชื่อมโยงกับรายวิชา เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขในการเรียนรู้กับทุก ๆ ฝ่าย

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชีวิตจริง ที่เกี่ยวข้องกับงานและชีวิต เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ได้ว่า "เด็กดื้อจริง ๆ" ครับ


แต่เป็นการดื้อที่อยากจะทำสิ่งที่เราคาดไม่ถึง อยากทำสิ่งที่ดี ๆ สิ่งที่เป็นประโยชน์ อยากทำ อยากลอง การดื้อ ดึง และดัน ทำสิ่งที่ดี สิ่งที่เกิดจากทุนและศักยภาพภายในกรอบงานหรือกรอบแนวคิดที่กำลังศึกษา ทรงคุณค่าและทรงพลังกับการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง

การเรียนที่อยู่นอกเหนือจากหนังสือ ตำรา ทฤษฎี เป็นการบูรณาการพลังชีวิตกับพลังความรู้อย่างน่าอัศจรรย์


ความทุ่มเทของนักศึกษาทำให้ "ทึ่ง" ในการกระตือรือร้น

อยากที่จะเรียน อยากที่จะรู้ อยากที่จะดู อยากที่จะเห็น อยากที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความสร้างสรรค์ตามพลังที่เขามีอยู่

ทุนชุมชน ทุนนักศึกษา "ทุนความรู้คือทุนแห่งพลัง" ที่ทุก ๆ คนมีแฝงและฝังอยู่ในตนเองอย่างมากล้น

(การศึกษาดูงานที่ น่านวัลเลย์รีสอร์ท บ้านผาตูบ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน)


"อาจารยผู้ (คุณ) อำนวย" ถ้าสามารถดึงทุนแห่งพลังของทุก ๆ คนออกมาแสดงให้เจิดจ้า จะเกิดอานุภาพแก่กล้ากับสังคมและประเทศชาติ

ความสุขจากการเรียนที่เกิดจากการปฏิบัติที่เหมาะและสมกับบริบทของผู้เรียน จะความสุขจากการรู้ เป็นความรู้สุขที่ยั่งยืนและคงทน


เป็นความสุขที่ทำให้เกิดรอยยิ้ม ยิ้มทั้งปาก ยิ้มทั้งหน้า ยิ้มทั้งใจ

นักศึกษาสามารถโชว์ศักยภาพ โชว์ทุน ซึ่งเปรียบเสมือนนักแสดงในบทหรือตำแหน่งต่าง ๆ

ใครถนัดประสานงาน ถนัดสรุป ถนัดฝ่ายบัญชี ถนัดฝ่ายสถานที่ ทุก ๆ ฝ่าย ทุก ๆ คนได้ทำงานเพื่อ "เรียนรู้ร่วมกัน"

การเรียนและรู้ เปิดกว้างสู่ชุมชน และปราชญ์ชุมชนอย่างหลากหลาย


เจ้าของธุรกิจ องค์กร บริษัท ยินดี เต็มใจที่จะให้ความรู้ ให้ประสบการณ์ "ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ" ทุก ๆ คน "ร่วมรับผลประโยชน์"

 

(การศึกษาดูงานโรงงานทำเครื่องเงิน จังหวัดน่าน)

 

แววตาแห่งความสนใจ แววตาที่สดใสและใคร่รู้


เป็นการเรียนรู้จากของจริง การทำงานจริง และชีวิตจริง


การเรียนรู้ที่ลงทุน (เงิน) ต่ำ และได้ทุน (ศักยภาพ) ของคนสูง

ใครว่า "นักศึกษา" ดื้อ...


ไม่หรอกครับ เขาไม่ดื้อหรอกครับ


โดยเฉพาะนักศึกษาโปรแกรมธุรกิจบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาเขตน่าน (ทุ่งศรีทอง)


ทุกคนน่ารัก ทุกคนตั้งใจเรียน ทุกคนร่วมมือและร่วมใจกันทำงาน ร่วมรับความรู้และความสุขกันอย่างเต็มที่

ขอบคุณนักศึกษาทุกท่าน


ที่สร้างความทรงจำประทับใจไม่มีวันลืม


ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

หมายเลขบันทึก: 71062เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
สงสัยว่าเด็กดื้อ กลายเป็นเด็กดี ที่ไม่ดื้อ........  เพราะการจัดการเรียนรู้ได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ใช้ทุนที่มีอยู่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ปลดพันธนาการจากห้องสี่เหลี่ยม........อย่างงี้ใครจะดื้อลงครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ดิศกุล
  • นักศึกษาทุกคนน่ารักมากครับ
  • โดยหลังจากที่เรียนจบแล้วพบว่ายังมีความผูกพันธ์ทางจิตใจกันอย่างยิ่งเลยครับ
  • เป็นทั้งการปลดเปลื้องพันธการในการเรียนรู้และทลายกำแพงที่กั้นระหว่างมิตรไมตรีอันดีครับ
การจัดการเรียนการสอนเป็นลักษณะกิจกรรมและดูงานเป็นการสอนที่เด็กดื้อกลายเป็นเด็กไม่ดื้อได้ เพราะ เค้าเรียนรู้จากของจริงปฏิบัติจริง ทำให้เต้ามีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับ เป็นการสอนที่ดีและเด็กคงจำได้ดีด้วยนะคะ
เข้ามาเรียนรู้ค่ะ การจัดการกับเด็กดื้อให้กลายเป็นเด็กไม่ดื้อเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวค่ะ แต่ก็จะพยายามจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการของพวกเขาให้มากที่สุดค่ะ เพราะสิ่งที่หว้าเจอเป็นประจำก็คือ นักศึกษาห้องไหนมีปัญหามักจะส่งให้อ.ลูกหว้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท