"วิถีชาวลาว: ชนเผ่าขมุ" (Khamu)


“แบ่งปันน้ำใจสู่เมืองลาว:บ้านเผ่าขมุ ตำข้าวครกมอง วิถีชีวิตดั้งเดิม ไม่มีห้องน้ำขี้เยี่ยวในป่า”

ลุยลาว EP26:สะพายลูกน้อยตำข้าวครกมือ บ้านพู(ผู้)ไท ที่มีเเต่มะกอง(โส้)  บรรยากาศแบบนี้หาดูยาก - YouTube
ลุยลาว EP22:ตำข้าวโบราณเเบบมะกอง(โส้) ตำข้าวครกมอง เมืองนอง สะหวันนะเขต -  YouTube
พาชมวิถีชีวิตของคนลาว ชาวบ้านตำข้าวเม่า | Laos people living - YouTube
ตำข้าวครกมอง วิถีแบบโบราณที่หาดูได้ยาก (Rice mill original lifestyle) ที่  สปป.ลาว - YouTube

*กลุ่มชาติพันธุ์ “เผ่าขมุ" (Khamu)

  *-ประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ :

       -กลุ่มชาติพันธุ์ขมุ (Khamu) ถือเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายทางตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนลาวและจัดอยู่ในกลุ่ม "ลาวเทิง" คนขมุที่อยู่ในลาวนั้นสามารถจำแนกออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน ตามความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และการเมือง เป็นต้นว่า ขมุแกว่น ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ระหว่างชายแดนล้านช้าง สิบสองปันนาและสยาม ถือเป็นกลุ่มที่มีสถานภาพสูงกว่าชนขมุกลุ่มอื่น เพราะเดิมในกลุ่มขมุแกว่นมีเจ้าแคว้นคอยคุมเส้นทางการค้าบริเวณชายแดน ซึ่งบรรดาพ่อค้าชาวจีนยูนนานหรือชาวจีนฮ่อใช้เป็นเส้นทางค้าขาย ดังนั้นการผ่านเขตแดนต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าแคว่นก่อน ขณะที่ขมุยวนและขมุลื้อไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เนื่องจากขึ้นอยู่กับเมืองที่มีอำนาจมากกว่า "ขมุยวน" หมายถึงกลุ่มชนขมุที่ขึ้นอยู่กับคนไทยวนภายใต้ดินแดนของสยาม ขณะที่กลุ่มชนขมุลื้อจะขึ้นอยู่กับเขตสิบสองปันนา ส่วนชน "ขมุร็อก" และ "ขมุยิ้ม" จัดได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยและขึ้นอยู่กับเมืองหลวงพระบาง คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณปากทาหรือบริเวณที่น้ำทาจรดแม่น้ำโขง 

    -เมื่อลาวตกอยู่ภายใต้อาณานิคมฝรั่งเศสราวปี พ.ศ. 2436-2496 พบว่ามีกลุ่มชนขมุเข้ามาเป็นแรงงานในบริษัททำไม้ของฝรั่งเศสจำนวนมาก โดยทำหน้าที่เป็นควาญช้าง เลี้ยงช้างและแรงงานตัดไม้ ชักลากไม้ออกจากป่า (ชมัยโฉม สุนทรสวัสดิ์, 2521) แต่พอหลังจากหมดสัญญาจ้างก็มักจะเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง ขณะที่มีบางส่วนเท่านั้นแต่งงานกับหญิงพื้นเมืองและตั้งรกรากถิ่นฐานในไทยตามจังหวัดต่างๆ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน กาญจนบุรี และอุทัยธานี 

    -แต่หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากลาวช่วงปี พ.ศ. 2496 เหตุการณ์ภายในลาวก็ไม่ได้สงบราบรื่น แต่กลับกลายเป็นสมรภูมิรบในสงครามอินโดจีน อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ สงครามกลางเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดขั้วอำนาจในรัฐบาลลาวขึ้นสามขั้วด้วยกันคือ กลุ่มแรก ลาวฝ่ายซ้ายหรือรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่มีเวียดนามและรัสเซียหนุนหลัง ขณะที่กลุ่มที่สอง คือ ลาวฝ่ายขวาที่นิยมกษัตริย์หรือเจ้าชีวิตลาวได้รับการหนุนเสริมจากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มที่สาม คือ รัฐบาลลาวกลางที่มีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นผู้นำ การเริ่มต้นสงครามในลาวช่วงปี พ.ศ. 2497 ได้สร้างความกดดันให้กับคนขมุไม่น้อย พวกเขาต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นกำลังในการรบทั้งในขบวนการประเทศลาวในกองทัพ CIA และในกองทัพแนวลาวรักชาติ 

 *ชื่อเรียกตัวเอง 

    *กำมุ (Kmhmu/Kammu).. เป็นชื่อที่เรียกตัวเอง มีความหมายว่า "คน" 

    *ตะมอย (Tmooy/Tmoi)  เป็นชื่อที่เรียกตัวเองที่ใช้จำแนกกลุ่มกำมุที่อยู่นอกเหนือจากกลุ่มของตนเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ตะมอย หมายถึง พวกเรากลุ่มอื่น หรือ “พวกเขา” (guest or visitor) ซึ่งเป็นกำมุนอกจากกลุ่มเรา โดยจะเรียกชื่อถิ่นฐานต่อท้ายคำว่าตะมอย เช่น 

   -ตะมอยดอย หมายถึง ขมุที่อยู่บนเขา 

   -ตะมอยลื้อ กลุ่มคนขมุที่มีถิ่นฐานอยู่ใกล้กับคนไทลื้อ เป็นต้น 

  *ชื่อที่คนอื่นเรียก 

      -ขมุ (Khamu) เป็นชื่อที่คนไทลื้อและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เรียกคนกำมุโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม คนกำมุต้องการให้คนภายนอกกลุ่มเรียกตนเองว่า "กำมุ" มากกว่า "ขมุ" เนื่องจากคำหลังมีความหมายในเชิงดูถูกดูแคลน (ดำรง ทายานิน, 2548) 

      -ข่ามุ (Khamu) เป็นชื่อที่คนไทลื้อ คนลาวและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เรียกคนกำมุ โดยคำว่า "ข่า" แฝงความหมายของคำว่า "ผู้รับใช้" หรือ "ขี้ข้า" เนื่องด้วยบริบททางประวัติศาสตร์ คนกำมุมักจะอยู่ใต้ปกครองของชนชาติลาว เมื่อครั้งเมืองหลวงพระบางเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรลาวล้านช้างหรือคนกำมุมักเป็นแรงงานให้กับคนไทลื้อซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่พวกเขาปฏิสัมพันธ์อยู่เสมอ  อย่างไรก็ตาม คนกำมุประสงค์ให้คนอื่นเรียกตนเองว่า "ไทยใหม่"     อนึ่ง เกิดข้อสังเกตที่น่าสนใจต่อคำว่า "ข่า" อาจจะเป็นคำที่ไม่ได้มีความหมายในเชิงดูถูกมาตั้งแต่ต้น แต่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อบริบทเปลี่ยนแปลงไปหรือคำนี้เป็นคำในเชิงดูถูกกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติคสาขามอญ-เขมร (เช่น กำมุ ถูกเรียกว่า ข่ามุ หรือ มลาบรี ถูกเรียกว่า ข่าป่า) มาตั้งแต่ต้นแล้ว (Proschan, 1997)  

*อื่น ๆ :

-*​ภาษา

    -ตัวอักษรที่ใช้เขียน :  แต่เดิมชาวขมุมีภาษาเขียนและว่าตามตำนานเรื่องเล่าแล้วตัวอักษรที่ใช้เขียนเลือนลางจางหายไป แต่ปัจจุบันคนขมุบางกลุ่มได้ทำการประดิษฐ์คิดค้นภาษาเขียนของชาวขมุขึ้นใหม่แต่ยังใช้ไม่แพร่หลายนัก

    -ภาษาพูด :  ขมุ  ภาษาคำเมือง ภาษาไทย (ชาวขมุจะมีภาษาพูดเป็นของตนเองตามสำเนียงเสียงท้องถิ่นและจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่แล้วจะสามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ เพราะมีการเรียนรู้ทางภาษาระหว่างกัน)

    -ตระกูลภาษา :  นักภาษาศาสตร์ ได้ทำการศึกษาภาษาขมุและจำแนกให้ภาษาของคนขมุเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร

 

 

คำสำคัญ (Tags): #"ขมุ" (Khamu) 
หมายเลขบันทึก: 710601เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2022 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2022 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท