ใครควรจะเป็นผู้แจ้งความจริงแก่ผู้ป่วย


การแจ้งความจริงแก่ผู้ป่วยนั้นไม่ได้เป็นการพูดคุยที่เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว
            ผู้แจ้งความจริงแก่ผู้ป่วยควรเป็นผู้ที่รับผิดชอบให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ใกล้ชิด และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ ซึ่งน่าจะเป็นหน้าที่ของแพทย์เจ้าของไข้ เพราะการแจ้งความจริงแก่ผู้ป่วยนั้นไม่ได้เป็นการพูดคุยที่เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว  แต่จะมีหัวข้ออื่นๆ ที่จะต้องพูดคุยกันตามมาอีกหลายเรื่อง เช่น  ข้อสงสัยที่ผู้ป่วยอาจจะมีในเรื่องต่างๆ   การอยากถามเกี่ยวกับการวินิจฉัย  หรือการวางแผนการรักษา  เป็นต้น
หมายเลขบันทึก: 71052เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ผมโชคดีที่ไม่ต้องเป็นผู้แจ้งข่าวร้ายให้ผู้ป่วยด้วยตัวเอง เพราะเป็นผู้รับปรึกษาในระยะหลังๆ แต่ก็ต้องคอยดูว่าผู้ป่วยได้รับรู้ปัญหาของตัวเองไปแล้วหรือยังและรับปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน

ตอนผมศึกษาเรื่องนี้ในผู้ป่วยรังสีรักษา

  • ร้อยละ ๙๒ อยากรู้จากปากหมอ
  • ร้อยละ   ๘ อยากรู้จากคนในครอบครัว

เหตุผลอันหนึ่งที่ผมฟังแล้ว อึ้ง คือ ผุ้ป่วยหวังว่าหมอน่าจะรู้วิธีในการบอกเรื่องร้ายๆแบบนี้ครับ 

ทีมที่ทำงานอยู่ด้วยกันเคยสัมภาษณ์เด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 คนที่ทราบแล้ว ว่าตนเองมีเชื้อ HIV ว่า ถ้าเลือกใหม่ได้ เขาคิดว่าใครที่เหมาะสมและควรจะเป็นคนบอกข่าวร้ายนี้แก่เขา

เด็กส่วนใหญ่ บอกว่า คนที่รักเขา  และจะช่วยให้เขาผ่านเหตุการณ์ร้ายนี้ไปได้

ซึ่งปรากฏว่าเด็กส่วนใหญ่เลือกคนในครอบครัว

มีแค่ 2-3 คน เลือกหมอ

ที่เชียงราย เราเลยมีการแนะนำวิธีบอกข่าวร้ายนี้ให้แก่ผู้ดูแลเด็กตั้งแต่วันอบรมเตรียมความพร้อมก่อนรับยาเลยค่ะ

อาจต่างกับผู้ใหญ่ เพราะวุฒิภาวะ การรับรู้และเข้าใจ และบริบทอื่นๆ ต่างกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท