กิจกรรมบำบัดกับภาวะเปราะบาง


     สวัสดีค่ะทุกท่าน หลังจากที่ดิฉันได้ไปทำการประเมินและทำกิจกรรมให้แก่ผู้รับบริการที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรี โดยดิฉันได้พบกับ คุณแอ(นามสมมติ) อายุ 46 ปี และได้ทำการประเมินโดยใช้แบบประเมิน PFFS-T พบว่าคุณแอได้คะแนน 11 คะแนน คือ มีภาวะเปราะบางระดับน้อย โดยมีHigh 2+ Scores คือ ยาและจำ การประเมินจึงนำมาสู่การออกแบบการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเพื่อเพิ่มทักษะการทำงานให้คุณแอสามารถไปทำงานได้โดยพึ่งพิงคนอื่นน้อยที่สุด

     กิจกรรมที่ออกแบบให้คุณแอ คือ กิจกรรมประดิษฐ์เครื่องประดับจากลูกปัด เนื่องจากผู้รับบริการมีความต้องการที่จะกลับไปค้าขายของ โดยอยากขายเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ กำไล และผู้รับบริการชอบที่จะทำกิจกรรมงานประดิษฐ์ โดยก่อนทำกิจกรรมจะให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมจำภาพทายรูปก่อน โดยจะมีรูปสร้อยคอ กำไลข้อมือรูปแบบต่างกันไป จากนั้นให้ผู้รับบริการจดจำตำแหน่งของแต่ละภาพแล้วให้ผู้รับบริการทายภาพให้ถูกต้องตามตำแหน่งที่วางไว้ โดยอาจเพิ่มความยากมากขึ้นโดยการสลับตำแหน่งของภาพไปเรื่อย ๆ  หรือ เปลี่ยนรูปภาพใหม่ เช่น เปลี่ยนเป็นรูปอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำสร้อยคอ กิจกรรมนี้ทำเพื่อให้ผู้รับบริการมีการตื่นตัวและฝึกการรู้คิด(Cognition) ทางด้าน Attention และ Memory มากขึ้น จากนั้นจึงเริ่มเข้ากิจกรรมการทำสร้อยคอ ในการทำกิจกรรมจะเปิดกว้างให้ผู้รับบริการได้ออกแบบ วางแผนและลงมือได้ด้วยตนเอง โดยผู้บำบัดคอยดูแลและให้ความช่วยเหลือ กิจกรรมประดิษฐ์สร้อยจากลูกปัดจะช่วยส่งเสริมทักษะด้านการวางแผน (Planning) การแก้ไขปัญหา(Problem solving) การคงสมาธิ(Attention) ได้ใช้งานกล้ามเนื้อมือและกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine motor skill) และเพิ่มทักษะการทำงาน(Work skill) 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก : Beads Cloud (@beadsclouduk) • Instagram photos and videos

อุปกรณ์ลูกปัด
วิธีการทำแบบต่าง ๆ 

ขอบคุณรูปภาพจาก : DIYกำไลลูกปัดสุดฮิตพร้อมร้านแหล่งซื้อลูกปัดสวยๆ | TrueID Creator

     นักกิจกรรมฝึกทักษะเรื่องของการทำงาน(Work skill) ได้แก่ การจัดการการเงิน โดยลองให้ผู้รับบริการได้ลองคิดและตั้งราคาสร้อยที่ตนเองทำขึ้น ว่าควรมีราคาเท่าไหร่ มีต้นทุนเท่าไหร่บ้าง ส่งเสริมให้มีการวางแผนให้ลองคิดว่าหากเราออกไปทำงานจริง ๆ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ต้องหาที่อยู่ หางานหาต้นทุนในการประกอบอาชีพอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถวางแผนและนำไปใช้ในการประกอบอาชีพจริง ๆ ได้ นักกิจกรรมบำบัดฝึกผ่านการทำกิจกรรมโดยต่อยอดจากกิจกรรมประดิษฐ์สร้อยจากลูกปัดโดยมีการเพิ่มเงื่อนไขเรื่องการซื้อขาย การคำนวณเงิน และมีการทดลองค้าขายจริง ๆ ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มกับสมาชิกคนอื่นหรือทำกลุ่มร่วมกับผู้บำบัด เป็นการเพิ่มทักษะการทำงานและทักษะทางสังคม(Social skill) 

นอกจากนี้ส่งเสริมเรื่องของการทำงานของร่างกาย การรู้คิด การผ่อนคลายผ่านกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การออกกำลังกาย การบริหารสมอง การบริหารนิ้วมือ การหายใจผ่อนคลายความเครียดเพื่อส่งเสริมทักษะในด้านอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางกายและทางจิตใจนำไปสู่เป้าหมายในการมีงานทำของตนเองได้สำเร็จ

ขอบคุณรูปภาพจาก : การฝึกหายใจและขับเสมหะ – ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก (mahidol.ac.th)

 

นางสาวอรุณี ดอกมะลิ รหัสนักศึกษา 6323032 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 710516เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท