นิยามพฤติกรรมขึ้้นอยู่กับบริบทสังคม (Definitions of Socialization Behaviors)


ตอนที่ผมเรียนวิชา ‘Socio-linguistics’ ซี่งน่าจะแปลว่าวิชา ‘ภาษาศาสตร์สังคม’ ที่ RELC ประเทศสิงคโปรเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วนั้น ผมเพิ่งเข้าใจความหมายและ้เห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนดังกล่าวในเชิงสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกันของคนในสังคมชัดเจนยิ่งขึ้นหลังจากได้สังเกตและมีประสบการณ์การมากขึ้น 

บทเรียนนี้สอนผมสองอย่างคือ (1) ประโยชน์จากสิ่งที่เราเรียนรู้อาจจะแสดงผลช้า หรือเร็วขึ้นอยู่กับความใส่ใจแลกะบริบทแวดล้อมของเรา และ (2) การประยุกต์ใช้ความรู้ข้ามศาสตร์ไม่มีข้กัดและทิศทางจริง ๆ 

แต่การเรียนรู้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์หรือโทษนั้นขึ้นอยู่กับการนำใช้ของบุคคล และสังคมนั้น ๆ เป็นสำคัญ บางอย่างแม้จะเป็นประโยชน์ แต่เรา หรือสังคมมองไม่เห็นคุณค่า สิ่งนั้นก็จะไม่มีค่าและไม่เป็นประโยชน์ครับ ดังตัวอย่างที่ผมจะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไปนี้

นิยามแรกคือ ‘ทางม้าลาย’ ซึ่งผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะคนในเมือง และคนขับรถ และคนข้ามถนน 

นิยามพฤติกรรมของคำว่า ‘ทางม้าลาย’ ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หรือหลายประเทศทั่วโลก ‘ทางม้าลายเป็นสัญลักษณ์ของทางข้ามถนนที่ปลอดภัยสำหรับคนเดินถนน และเป็นสัญลักษณ์ว่าผู้ขับพาหนะทุกชนิดต้องหยุดให้คนข้ามถนนทันทีที่เห็นคนกำลังข้ามถนน (คนขับพาหนะคนใดฝ่าฝืน จะได้รับโทษตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น)' ดังนั้นคนเดินถนนที่ข้ามถนนบนทางม้าลายจะปลอดภัยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ 

แต่นิยามพฤติกรรมของคำว่า ‘ทางม้าลาย’ ของประเทศไทยเราหมายความว่า ‘เป็นที่บังคับให้คนเดินถนนต้องข้ามถนนตรงที่มีทางม้าลาย (ข้ามที่ที่ไม่มีทางม้าลายอาจจะถูกจับ และตัวใครตัวเรา แปลว่าเสี่ยงเอาเอง) ส่วนผู้ขับขี่พาหนะทั้งหลาย ก็แล้วแต่สามัญสำนึก ใครใคร่หยุดก็หยุด ใครใคร่ไปก็ไป และคนเดินถนนก็ต้องรอจนกว่าจะปลอดภัยแล้วค่อยข้าม หรือแม้จะรู้สึกว่าปลอดภัยแล้วก็ยังอาจจะโดนชนได้ แต่ถ้าถูกชนแล้วจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายหรือไม่ก็แล้วแต่ว่าคุณจะเป็นใคร และคนขับพาหนะนั้นจะเป็นใคร’ 

นี่คือตัวอย่างของนิยามพฤติกรรมของคำที่ใช้ในแต่ละสังคม และแต่ละประเทศ ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นความหมายในการสื่อสารตามบริบทวัฒนธรรมในความหมายทางภาษาศาสตร์เท่าน้้น แต่เป็นความหลายในเชิงพฤติกรรมสังคมของแต่ละสังคมและแต่ละประเทศด้วย 

ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล 

โปรดพิจารณาครับ 

สมาน อัศวภูมิ

21   พฤศจิกายน 2565

 

หมายเลขบันทึก: 710502เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 05:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท