โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา


     สวัสดีค่ะ พวกเรานักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 กลุ่ม 2 เลขที่ 11-20 จำนวน 10 คนได้ไปจัดกิจกรรม ณ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 โดยได้จัดกิจกรรมทั้งหมด 2 กิจกรรมให้กับผู้ป่วยใน โดยพวกเราได้มองเห็นถึงข้อดี-ข้อเสียและจุดที่ควรนำไปต่อยอดพัฒนา การได้ไปจัดกิจกรรมดังกล่าวนั้นถือเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งของกลุ่มพวกเรา

 

เหตุผลที่เลือกกิจกรรม

  1. กิจกรรมที่ 1: กิจกรรมโยนบอลหรรษา

เนื่องจากเป็นการทำกิจกรรมกลุ่มและสมาชิกบางคนเป็นผู้ป่วยใหม่จึงจัดเพื่อสร้างสัมพันธภาพร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มและทีมนักศึกษา อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ป่วยได้ขยับร่างกาย ได้ออกแรงส่งบอลและเรียกชื่อเพื่อนให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว มีสมาธิ ส่งเสริมการทำงานประสานกันของตากับมือ และสมองทั้งสองซีก ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวและตอบสนองต่อสิ่งเร้า

      2. กิจกรรมที่ 2: กิจกรรม โปรดระวังลาวา 

ส่งเสริมเรื่องฝึกการทรงตัวขณะขยับร่างกาย การรับรู้ตำแหน่งของร่างกาย การวางแผนการเคลื่อนไหว ความสามัคคี การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงด้าน Cognitive และ Social emotional learning skill 

 

ประโยชน์ของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 โยนบอล
-ส่งเสริมการใช้งานกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อให้สามารถทรงตัวสำหรับทำกิจกรรมอื่นๆได้
-ส่งเสริมการทำงานสหสัมพันธ์กันของมือและตา และมือทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น กิจกรรมทำอาหาร , การตากผ้า เป็นต้น
-พัฒนาช่วงความสนใจ การคงสมาธิในการทำกิจกรรมและจดจ่อกับลูกบอล 
-ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม เนื่องจากต้องจดจำชื่อของเพื่อนๆ การเรียกชื่อ และการทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่น การไว้วางใจ การกล่าวขอโทษรวมทั้งการให้อภัยกันและกัน
- ส่งเสริมการวางแผนการเคลื่อนไหว การกะระยะ (feedforward)

กิจกรรมที่ 2 โปรดระวังลาวา
-ส่งเสริมทักษะการทรงตัวขณะทำกิจกรรม ทั้งขณะวางแผ่นกระดาษ ขณะก้าวเท้า และขณะยืนทรงตัวอยู่บนแผ่นกระดาษขนาดเล็ก
-ส่งเสริมทักษะในการวางแผนการเคลื่อนไหว
-ส่งเสริมทักษะด้านการทำงานเป็นทีม ให้เกิดความสามัคคี
-ส่งเสริมทักษะด้านการรู้คิด การทำตามขั้นตอนและเข้าใจกติกา
-ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น เมื่อกระดาษไม่พอหรือวางกระดาษไกลเกินไปจะทำอย่างไร ฯลฯ

 

ข้อควรปรับปรุงกิจกรรมที่ 1

- กิจกรรมมีการวางเงื่อนไขที่มากเกินไป ทำให้กิจกรรมไม่ลื่นไหล (ควรนำเงื่อนไขออกเหลือเเค่เรียกชื่อเพื่อนเเละโยนบอลให้)

- มีการใช้คำพูดที่ซับซ้อนเเละยาวในการอธิบายกิจกรรม ทำให้เกิด Cognitive overload (ควรใช้คำพูดที่กระชับ สั้น เข้าใจง่าย)

- มีการใช้เวลาในกิจกรรมแนะนำตัวค่อนข้างนาน และให้เงื่อนไขในการพูดความรู้สึก 3 คำ 

- ผู้รับบริการบางท่านมีปัญหาด้านสายตา (ควรใช้ป้ายชื่อขนาดใหญ่และเขียนตัวหนังสือให้ตัวใหญ่ เส้นหนา และสีชัดเจนเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน)

- ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย (ควรมีการให้คำแนะนำเช่น หากรับบอลไม่ได้ สามารถก้าวขาออกไปเพื่อรับบอล)

- การสร้างบรรยากาศของสมาชิกนักศึกษายังไม่สามารถช่วยกระตุ้นผู้รับบริการภายในกลุ่มได้

- สมาชิกนักศึกษายังขาดการสังเกตอาการ/พฤติกรรมของผู้ป่วย

- การสื่อสารภายในกลุ่มสมาชิกนักศึกษาขณะทำกิจกรรมกลุ่ม

ข้อควรปรับปรุงกิจกรรมที่ 2

- กิจกรรมมีขั้นตอนและให้เงื่อนไขที่มากเกินไป ทำให้เกิด Cognitive overload ไม่เหมาะสมกับระดับ ACL ของผู้รับบริการ ทำให้เกิดความล้าทางสมอง ไม่สามารถเข้าใจกติกาของกิจกรรมได้ (ควร analysis กิจกรรมให้มากขึ้นและละเอียดขึ้น คำนึงถึงความสามารถของผู้รับบริการ คิด grade up และ grade down ไว้ล่วงหน้าเพื่อสามารถใช้แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที โดยกิจกรรมที่เหมาะสมกับACLของกลุ่มผู้รับบริการดังกล่าวคือเลือกจัดกิจกรรมที่ผู้ชายมีความคุ้นเคย เคยพบเห็นรูปแบบการเล่นมาก่อน ถึงจะสามารถเข้าใจและทำตามได้ )

-ใช้เวลาสาธิตมากเกินไป และสาธิตโดยการป้อนข้อมูลให้ผู้รับบริการจำซ้ำๆ จนเกิดความล้าในการรับข้อมูล (แก้ไขได้ด้วยการให้ผู้รับบริการลงมือทำจริงและอธิบายสั้น กระชับ เข้าใจง่าย เว้นระยะเวลาให้ processing information ป้องกันความล้าจากการรับข้อมูลในรอบเดียว และมีเวลาในการทบทวนข้อมูลใหม่ที่พึ่งรับเข้ามา สามารถแก้ไขได้โดยปรับขั้นตอนของกิจกรรมให้มีความซับซ้อนน้อยลง เหลือเพียง 1-2 ขั้นตอน เช่น ให้ผู้รับบริการช่วยกันสร้างทางเพื่อไปยังจุดหมาย โดยไม่ต้องกำหนดให้มีการเก็บกระดาษ หรือต้องมีเท้าวางบนกระดาษตลอดเวลา )

- กิจกรรมมีขั้นตอนและมีการให้เงื่อนไขที่มากเกินจึงทำให้ความสนุกของกิจกรรมลดลง บรรยากาศอึดอัด รวมทั้งสมาชิกนักศึกษาในกลุ่มมีการเข้าหาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมน้อยเกินไป ( หากแก้ไขโดยการเข้าไปกระตุ้นและเข้าถึงผู้รับบริการให้มากขึ้น อาจทำให้บรรยากาศกลับมาสนุกสนานได้ นำจุดนี้ไปพัฒนาในการจัดกลุ่มครั้งถัดไป)

- ผู้รับบริการมีสมาชิกใหม่เป็นส่วนใหญ่ ทำให้คาดการณ์ถึงความสามารถผิดพลาดไป (สามารถฝึกได้โดยเน้นทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สร้างสัมพันธภาพใหม่เพื่อดูการตอบสนอง และประเมินเบื้องต้นจากการสังเกต เพื่อนำไปสู่การ approach ที่เหมาะสมระหว่างจัดกิจกรรม ทักษะนี้ต้องใช้ประสบการณ์และการฝึกฝน จะนำไปพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมครั้งถัดไป)

- กิจกรรมเน้นการทรงตัวค่อนข้างมาก วัสดุอุปกรณ์ไม่ค่อยเหมาะสมเนื่องจากกระดาษเมื่อเล่นกับพื้นกระเบื้องแล้วมีการเลื่อน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (จากการ analysis กิจกรรม ควรคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนได้ ผู้บำบัดควรเข้าไปช่วยเหลือใกล้ๆคอยดูความปลอดภัย คอยกล่าวบอกให้ระมัดระวังในการทำกิจกรรมเป็นระยะ)

- สมาชิกนักศึกษายังขาดการสังเกตอาการ/พฤติกรรมของผู้ป่วย (ควรกระจายบทบาทของสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมกลุ่มมากขึ้น และสามารถฝึกฝนและพัฒนาทักษะนี้ให้มากขึ้นได้โดยอาศัยประสบการณ์และการทบทวนความรู้อยู่เสมอ สมาชิกนักศึกษาทุกคนจะขอนำไปพัฒนาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อๆไป)

- การบริหารควบคุมเวลาในการจัดกิจกรรมยังไม่ดี ทำให้ใช้เวลาในการทำกิจกรรมมากเกินไป (Timer ควรหาจังหวะบอกเวลาเป็นระยะเพื่อให้ผู้นำกิจกรรมบริหารเวลาในการทำกิจกรรมได้เหมาะสม)

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ควรคำนึงถึงการใช้คำในการเรียกชื่อเกมในผู้รับบริการฝ่ายจิตเพราะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในการที่จะอยากร่วมกิจกรรม หรืออาจกระตุ้นอาการที่ผู้รับบริการเป็นอยู่จนทำให้เกิดความรู้สึกกลัวได้

 

พวกเราขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ นักกิจกรรมบำบัด ทุกๆคน ณ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา รวมทั้งคณาอาจารย์ที่ได้ให้โอกาสพวกเราทุกคนในการไปจัดกิจกรรมดังกล่าวนี้ หากมีโอกาสอีกครั้งพวกเราจะนำข้อควรพัฒนาต่างๆไปปรับแก้ไขและกลับมาจัดกิจกรรมที่ดีต่อไป หากมีสิ่งใดผิดพลาด พวกเราทุกคนขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบพระคุณค่ะ

 

สมาชิกกลุ่ม:

6323012 พิชญาอร มังกรกาญจน์ 

6323013 ภวิดา รัตนพงษ์วิเศษ 

6323014 กมลชนก พิกุล

6323015 คณิตา ฉัตรธนพงศ์

6323017 ชนิสรา คงวิวัฒนากุล (leader)

6323018 ชลธิชา วิลัยสิทธิ์

6323020 ฐิติรัตน์ ราชเสนา

6303023 ปรีชญา สุวรรณจินดา

6323024 ปัทมา บัวทิม (co-leader)

6323025 พิณศฐิตรา พิมหะศิริ

 

 

หมายเลขบันทึก: 710464เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2022 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท