การพัฒนาทักษะทางสังคมในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพทางจิต


สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาววิชญาดา ศรัณยสกุล เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 วันนี้ดิฉันจะมาพูดถึงทักษะทางสังคมเพื่อพัฒนาสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางจิตที่ดิฉันได้ไปประเมินความสามารถของผู้รับบริการ ณ สถานที่คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนนทบุรี 

วันที่ 27 ตุลาคน 2565 ที่ผ่านมาเป็นวันสุดท้ายของการจัดกิจกรรม ณ สถานคุ้มครอง ดิฉันและเพื่อนๆในสาขากิจกรรมบำบัดได้ออกแบบจดทำกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งเปิดกลุ่มจัดเป็นกิจกรรมการยืดเหยียดร่างกาย ใช้เวลาในการทำกิจกรรมเปิดกลุ่ม 10 นาที จากนั้นแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 4 กลุ่มในการทำอาหาร กลุ่มของดิฉันเลือกเป็นการทำยำลูกชิ้น 

ประเมินจากการสังเกตผู้รับบริการ พบว่าตอนทำกิจกรรมยืดเหยียดผู้รับบริการมีปัญหาในการรับรู้ซ้าย-ขวาและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงทำให้ได้ท่าทางที่ไม่สุดช่วงของข้อไหล่ ความทนทานในการยืนทำกิจกรรมได้น้อย ในส่วนกิจกรรมทำอาหาร พบว่าสามารถจดจำขั้นตอนและอธิบายการทำยำลูกชิ้นได้บางขั้นตอน มีการแบ่งหน้าที่กับสมาชิกในกลุ่มได้ สามารถเริ่มแนะนำตัวเองได เมื่อไม่สามารถแก้ปัญหาได้สามารถเรียกผู้บำบัดเพื่อขอความช่วยเหลือได้ ตอนแรกผู้รับบริการต้องการทำแซนวิชหรือผัดกระเพราแต่พอกลุ่มตนได้ทำยำลูกชิ้นก็สามารถยืดหยุ่นกับเสนอที่ให้ได้ หลังจากทำกิจกรรมกลุ่มในวันนี้พบว่าผู้รับบริการสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่มได้ มีการชวนถามเพื่อหาข้อเสนอความคิดเห็นภายในกลุ่มได้ ผู้รับบริการบอกว่ามีงานทำของกลุ่มพลาสติกซึ่งมีเพื่อนชวนไปทำ 

จะพัฒนาในเรื่องทักษะทางสังคม เนื่องจากต้องการให้ผู้รับบริการมีปฎิสัมพันธ์กับสมาชิกในทีม ผู้รับบริการมีความกังวลในการเข้าไปทำความรู้จักเพื่อนที่อยู่ในสถานที่คุ้มครองแห่งนี้ ผู้รับบริการสามารถสื่อสารได้แต่ไม่สามารถเริ่มต้นบทสนทนาได้ 

กิจกรรมกลุ่มครั้งนี้จัดทำเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรม เนื่องจากผู้รับบริการไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นๆนอกจากกิจวัตรประจำวัน ทำให้ผู้รับบริการบางรายไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมใดๆ นอกจากการทำกิจกรรมตามรูปแบบของสถานที่คุ้มครองและความต้องการของผู้รับบริการมีความสนใจการทำอาหาร แต่ไม่มีโอกาสได้ทำ การให้ผู้รับบริการได้ลงมือทำอาหารจะทำให้ผู้รับบริการเห็นคุณค่าในตนเอง ช่วยเพิ่มทักษะการเข้าสังคมการสร้างปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในทีมและผู้นำกิจกรรมกลุ่มได้อย่างเหมาะสม มีการเรียนรู้มารยาททางสังคม การเคารพและให้เกียรติสมาชิกในทีมอย่างเท่าเทียมกัน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งหน้าที่ ร่วมกันเพื่อทำให้กิจกรรมบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งช่วยฝึกให้ผู้รับบริการควบคุมอารมณ์ของตนเองขณะทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และส่งเสริมทักษะการทำอาหารให้แก่ผู้รับบริการที่อยากทำอาชีพขายอาหารหลังออกจากสถานคุ้มครอง ซึ่งขั้นตอนการจัดกลุ่มทำยำลูกชิ้น  

-การเลือกสมาชิกในทีม จำนวน 4 คนจะเป็นการเลือกจากคนที่มีระดับ allen cognitive level ระดับสูงสุด-ต่ำสุด ตามลำดับ ซึ่งผู้รับบริการที่ดิฉันได้รับมอบหมายอยู่ในระดับ ACL 4.6 ขึ้นไป เริ่มต้นด้วยการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้นำและสมาชิกในการทำกลุ่มกับผู้รับบริการทั้ง 4 คน ผู้นำกลุ่มใช้คำถามนำในการแบ่งหน้าที่ในการทำ เช่น หน้าที่หั่นผัก,ลวกลูกชิ้น เป็นต้น ผู้รับบริการทั้งหมดสามารถแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนมีการช่วยเหลือในบางหน้าที่ที่ผู้รับบริการบางท่านที่ทำไม่ถนัด เมื่อเตรียมวัตถุดิบเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายจะเป็นขั้นตอนการยำ โดยผู้นำกลุ่มได้มีการกระตุ้นถามถึงจำนวนลูกชิ้นที่จะแบ่งให้พอดีกับสมาชิกในทีม เนื่องจากสอบถามสมาชิกในทีมรสชาติของแต่ละท่านรับประทานไม่เหมือนกันจึงให้แยกกันทำรสชาติที่ตัวเองชอบและต้องการ หลังจบกิจกรรมผู้นำกลุ่มได้สอบถามความรู้สึกที่ได้ทำกิจกรรมในวันนี้ พบว่า ผู้รับบริการมีความสุขและสามารถเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการอีกครั้ง มีการแบ่งและนำอาหารเพื่อไปแจกเพื่อนๆในหอพักอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 710263เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท