Supported Employment


Brief case

ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี กิจกรรมแรกคือกิจกรรมออกกำลังกาย ผู้รับบริการสามารถทำตามได้ทุกขั้นตอน กิจกรรมที่สองจะเป็นกิจกรรมทำยำลูกชิ้นผู้รับบริการเลือกที่จะทำหน้าที่ในการหั่นผักต่างๆผู้รับบริการสามารถหั่นผักได้เป็นอย่างดีมีสีหน้าท่าทางที่สดใส เพราะเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการต้องการที่จะทำ ปัญหาที่พบผู้รับบริการจะไม่ค่อยสนทนากับสมาชิกภายในกลุ่ม

Work skill ที่เลือกพัฒนาให้กับผู้รับบริการ

Communication การสื่อสาร

เหตุผลที่เลือก Work skill ดังกล่าว

ผู้รับบริการไม่ค่อยสนทนากับผู้อื่น เช่น เมื่อตนเองต้องการที่จะออกความคิดเห็นก็ไม่สามารถพูดออกไปได้เนื่องจากเกรงใจสมาชิกในกลุ่ม เหตุการณ์ขณะทำกิจกรรมทำยำลูกชิ้น สมาชิกในกลุ่มบอกจะไม่หั่นลูกชิ้นผู้รับบริการไม่เห็นด้วยแต่ไม่กล้าออกความคิดเห็นและตอบตกลงไปตามที่เพื่อนออกความคิดเห็นในขณะทำกิจกรรมผู้รับบริการสนทนาน้อยมาก เมื่อจะทำอะไรมักจะเดินไปหยิบเลยโดยที่ไม่มีการพูดคุยสื่อสาร ทำให้เห็นถึงปัญหาตรงนี้

กระบวนการพัฒนา Work skill ดังกล่าวอย่างไร

เน้นเป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้รับบริการมีทักษะในการสื่อสารมากขึ้น รูปแบบกิจกรรมอาจจะให้เป็นการทำอาหารแบบเดิมแต่จะให้มีการวางแผนว่าจะทำอาหารอะไร ต้องซื้อวัตถุดิบอะไรบ้าง ใครมีหน้าที่ทำอะไร กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็นร่วมกัน และผู้บำบัดเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการโดยการเริ่มบอกให้ผู้รับบริการลองถามและพูดคุยกับสมาชิกภายในกลุ่ม อาจจะเป็นกระตุ้นโดยเริ่มจากถามเพื่อนข้างๆก่อนและค่อยๆลองถามเพื่อนในกลุ่มใหญ่ค่อยๆเริ่มไปทีละขั้นเพื่อให้ผู้รับบริการไม่ตึงเครียดหรืออึดอัดจนเกินไป

 

 

ณัฐิดา อู่อรุณ

นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่3

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

คำสำคัญ (Tags): #จิตสังคม#Work skill
หมายเลขบันทึก: 710255เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท