ประสบการณ์การทำ Supported Employment กับผู้มีประสบการณ์ทางจิตเวชครั้งแรก


     

 

  

         สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน Blog ในวันนี้ดิฉันจะมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ Supported Employment กับผู้มีประสบการณ์ทางจิตเวชครั้งแรกของดิฉัน ( จากบทความที่แล้วที่ดิฉันได้เขียนถึงการใช้ Diversional Therapy )  ที่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี ซึ่ง  Supported Employment  ที่ดิฉันกล่าวไปข้างต้น เป็นการเลือกทักษะการทำงาน ( work skills ) ที่บุคคลให้ความสนใจและคุณค่าเพื่อส่งเสริมให้ บุคคลสามารถทำทักษะการทำงานนั้นได้ อย่างเหมาะสม

 

Brief case ให้เห็นภาพ หลังจากการจัดกิจกรรมรักษากลุ่มที่เน้น work skillsพร้อมประเมินซ้ำ + ปัญหาที่พบ (27/10/65)

จากกรณีศึกษา ผู้รับบริการหญิง อายุ 46 ปี มีรูปประจำตัวเป็นจิตเวช HIV ปวดข้อสะโพก ผู้รับบริการมีอาการหลงผิดจากความเป็นจริง Delusionจากการถามซ้ำและถามผู้ดูพบว่ามีความจริง และไม่จริง คิดว่าตัวเองหายจากโรคจิตเภทแล้ว ไม่ต้องทานยา อาการผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ประเมินระดับความเจ็บ ปวดบริเวณข้อสะโพก เมื่อต้องเคลื่อนไหว ระดับ Pain scale 10 / 10  อาการปวดทำให้ผู้รับบริการ ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ ผู้รับบริการมักพูดว่าปวด เจ็บ ออกมาบ่อยๆ ไม่อยากทำกิจกรรม มีการคงความสนใจในการทำกิจกรรมที่ดี หากผู้บำบัดดึงความสนใจของผู้รับบริการให้จดจ่อกับกิจกรรมหรือมีกิจกรรมให้ทำ Delusion หรือการบ่นปวดเจ็บข้อสะโพกจะหายไปชั่วขณะ สามารถทำตามคำสั่งได้ เมื่อมีอะไรไม่เข้าใจสามารถ ถามผู้บำบัดได้ กิจกรรม warm up การยืดเหยียดร่างกาย ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมยืดเหยียดร่างกาย เป็นอย่างดี มีการนับเล่นเสียงดัง ฟังชัด  เพื่อให้จังหวะตัวเองและเพื่อน ทำตามซ้ายขวาได้อย่างถูกต้อง ก่อนเริ่มกิจกรรม ผู้บำบัดได้มีเกมกระตุ้น Cognitive ถามเร็วตอบเร็ว โดยผู้รับบริการยกมืออาสาในการจะเริ่มต้นเกมก่อน และสามารถตอบได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเริ่มกิจกรรมกลุ่มผู้นำกลุ่มให้ผู้รับบริการทั้ง 4 คน แบ่งหน้าที่ในการทำยำวุ้นเส้น ผู้รับบริการมีการเสนอตัวว่าตัวเองอยากจะทำหน้าที่นี้ ได้ด้วยตนเอง ให้ความสนใจ ความร่วมมือและคงความสนใจในการทำกิจกรรม มีการเสนอความคิดเห็นของตนเองในการทำน้ำยำ และตอบคำถามเมื่อผู้รวมกลุ่มถามความคิดเห็น เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมผู้บำบัดแนะนำให้มีการแบ่งยำวุ้นเส้นให้กับกลุ่มอื่นๆ ผู้รับบริการอาสาในการนำยำวุ้นเส้นไปให้กลุ่มอื่นๆโดยที่ผู้บำบัดไม่ต้องกระตุ้น

ปัญหาที่พบ : ผู้รับบริการยังไม่สามารถเริ่มบทสนทนาได้ด้วยตนเอง แต่สามารถพูดคุยสื่อสารได้เมื่อมีคนถามหรือกระตุ้นให้ผู้รับบริการถาม

 

work skills อะไรที่เลือกพัฒนาให้กับผู้รับบริการต่อ

จากการประเมินครั้งที่แล้วผู้รับบริการให้ความสนใจในการทำอาหาร ผู้บำบัดจึงเลือกพัฒนาเลือกทักษะการทำอาหาร ( IADLs - Meal preparation and cleanup ) ให้กับผู้รับบริการ  

 

ทำไมถึงเลือก work skills ดังกล่าว

เนื่องจากเป็นกิจกรรมการทำอาหารเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการมี Volition สนใจ ( Interest ) ให้คุ้มค่า ( Values ) ชื่นชอบที่จะทำ และมีประสบการณ์เดิมในการทำกิจกรรมทำอาหารมาก่อน เมื่อทำกิจกรรมเสร็จสิ้นลง ผู้รับบริการเกิด Self-confidence มากขึ้น รวมถึงสามารถส่งเสริมเป็นกิจกรรมยามว่าง ( Leisure ) หรือกิจกรรมประกอบอาชีพ ( Work )ได้ด้วยเช่นกัน

 

 

มีกระบวนการพัฒนา work skills ดังกล่าวอย่างไร

กิจกรรมการทำอาหารเป็นกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริม

ทักษะทางสังคม ( Social -skill ) ผู้รับบริการจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันในกลุ่ม เพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำ และเสนอความคิดเห็น พูดคุยกันเพื่อหาข้อตกลง เพื่อจะได้ทำ ยำวุ้นเส้นที่เป็นส่วนกลาง

การวางแผน ( Planning ) การวางแผนการทำกิจกรรมกลุ่ม แบ่งหน้าที่ และรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองให้เสร็จเรียบร้อย

การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ( Problem solving ) เมื่อไม่มีกรรไกรสามารถใช้มือฉีกถุงวุ้นเส้นได้ด้วยตนเองโดยไม่มีการกระตุ้นจากผู้บำบัด

การทำงานสหสัมพันธ์ของมือและตา ( Eyes-hand coordination ) ผู้รับบริการมีหน้าที่ในการจัดเนื้อสัตว์ลงในจาน ต้องใช้การทำงานประสานกันของตาและมือเพื่อให้ใส่ได้ลงตำแหน่ง

ความจำ ( Long -term Memory ) เช่นเกมถามเร็วตอบเร็ว ผู้รับบริการต้องดึงความจำที่เคยทำยำวุ้นเส้นเพื่อมาตอบคำถามผู้บำบัดให้ได้เร็วที่สุด

 

สำหรับ Blog ในวันนี้ เป็นBlog สำหรับการศึกษา ดิฉันไม่ได้มีเจตนา ที่จะทำให้ผู้ใดเสื่อมเสียชื่อเสียง หากมีข้อผิดพลาดประการใดดิฉันขอ อภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

 

 6323020 ฐิติรัตน์ ราชเสนา

 

หมายเลขบันทึก: 710250เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท