กิจกรรมพัฒนา work skills ในผู้ป่วยจิตเวช


ดิฉันนางสาวปรีชญา สุวรรณจินดา นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ดิฉันได้มีโอกาสกลับไปจัดกิจกรรมกลุ่มให้กับผู้รับบริการที่ศูนย์พักพิงคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี โดยกิจกรรมที่จัดเป็นการเน้นทักษะการกลับไปทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมผู้รับบริการให้กลับออกไปใช้ชีวิตและดูแลตนเองได้ในโลกภายนอก โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้

Brief case

ชื่อ ขวัญ (นามสมมติ) เพศหญิง อายุ 43 ปี Dx : schizoaffective disorder (F25)

มีภาวะอารมณ์ไม่มั่นคง ไม่ชอบกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อต้องทำกิจกรรมออกกำลังกาย มีการชักสีหน้า สบถบ่นตลอดเวลา แต่สามารถทำกิจกรรมได้จนจบ สามารถทำตามได้ทุกท่า ในส่วนของกิจกรรมทำอาหาร ในกิจกรรมทำแซนวิช ผู้รับบริการสามารถทำตามขั้นตอนได้ สามารถเริ่มทำได้เอง เริ่มพูดคุยกับเพื่อนร่วมกลุ่มโดยมีผู้บำบัดเป็นผู้กระตุ้นให้เริ่มบทสนทนาจึงต่อบทสนทนาเองได้ ในขั้นตอนการแบ่งไส้แซนวิชกับเพื่อนข้างๆ เนื่องจากเพื่อนข้างๆตักเยอะ ผู้รับบริการเห็นจึงชักสีหน้าหันไปตะโกนใส่ว่า "แบ่งคนอื่นบ้างสิ อย่าเห็นแก่ตัว" หลังจากนั้นผู้รับบริการก็ไม่พูดคุยดับเพื่อนคนดังกล่าวอีกเลย เมื่อเริ่มกิจกรรมสลัดโรลมี ผู้รับบริการมีท่าทางใจเย็นลงเมื่อผู้บำบัดเข้าไปพูดคุยหลงลืมบางขั้นตอนในการทำกิจกรรม ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้  เมื่อลดความช่วยเหลือลงโดยกระตุ้นให้คิด ผู้รับบริการก็ยังไม่สามารถคิดวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ต้องมีการชี้ไกด์ให้ดู จึงจะลองพยายามแก้ไขปัญหาแต่ยังไม่ถูกต้อง มีการใส่ไส้ในปริมาณที่เยอะมาก ไม่แบ่งให้ผู้อื่น จะให้ตัวเองกินให้อิ่ม ต้องมีการพูดให้คำแนะนำจึงจะแบ่งปันให้ผู้อื่น สุดท้ายผู้รับบริการสามารถทำอาหารออกมาได้สำเร็จและนำไปให้กับผู้ดูแลที่ศูนย์ชิมด้วยตนเองรวมทั้งแบ่งปันให้ผู้บำบัดด้วย

ปัญหาที่พบ :

  • เคสยังไม่สามารถลองผิดลองถูกหรือแสดงการแก้ไข้ปัญหาได้
  • ยังใช้คำพูดในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นไม่เหมาะสม
  • ยังไม่สามารถแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่นได้เองหากไม่มีการกระตุ้นให้ทำ
  • หลงลืมในบางขั้นตินที่ต้องใช้ความละเอียด เช่น ห่อแป้ง

work skills อะไรที่เลือกพัฒนาให้กับผู้รับบริการต่อ

การทำอาหารง่ายๆที่ไม่ต้องใช้ความร้อน : แซนวิชและสลัดโรล

พัฒนาต่อยอดอย่างไร : ให้ทำถึงในขั้นตอนการบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์เตรียมจำหน่ายเช่น โฟม ,ใบตอง ,ถุงพลาสติก,จาน เนื่องจากผู้รับบริการมีประสบการณ์ในการนำอาหารใส่บรรจุภัณฑ์ แต่ขาดประสบการณ์ในการทำอาหาร แนะนำให้ฝึกฝนและหาโอกาสในการทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อสร้างประสบการณ์พัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของตนเอง

(จากการสอบถามทางศูนย์ ทางศูนย์จะเริ่มมีการจัดกิจกรรมทำอาหารให้ผู้รับบริการทำอาทิตย์ละครั้ง)


ทำไมถึงเลือก work skills ดังกล่าว

จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการมีความต้องการในการประกอบอาชีพทำอาหารขาย และตนเองอยากทำอาหารให้คุณแม่ที่ป่วยอยู่รับประทาน เคยมีประสบการณ์ทำอาหารแต่นานมากๆแล้วก่อนตนจะป่วย เมื่อเข้ามาอยู่ที่ศูนย์พักพิงตนจึงขาดโอกาสในการทำกิจกรรมดังกล่าว และจากการสังเกตผ่านการทำกิจกรรมงานคราฟในครั้งก่อนหน้า ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมที่คุ้นเคยและทำตามขั้นตอนได้ไว ฉะนั้นทางผู้เขียนจึงอยากแนะนำกิจกรรมทำอาหารเพื่อต่อยอดความสามารถและความต้องการของผู้รับบริการ

มีกระบวนการพัฒนา work skills ดังกล่าวอย่างไร

1) แซนวิช

วัตถุดิบ&อุปกรณ์ :

  • ขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ 1 ห่อ
  • มีด 2 เล่ม
  • ครีมสลัด 1 ถุง
  • ผักสลัด
  • ไส้แซนวิส (ทูน่า,ปูอัด,แฮม,) อย่างละ 1 ห่อเล็ก
  • ถาดรอง
  • ถ้วย/ชาม/จาน
  • ช้อน
  • ถุงมือ

ขั้นตอนการทำ

ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบจะให้ผู้รับบริการช่วยกันเตรียม เช่น หั่นแครอท เด็ดผัก ล้างผัก+จานชาม ฉีกปูอัด เมื่อจัดเตรียมวัตถุดิบเสร็จก็จะให้ผู้นำสาธิตการทำทีละขั้นตอนไปด้วยกันดังนี้

  1. นำผักสลัดวางบนขนมปัง
  2. ใช้ช้อนตักไส้ทูน่าวางบนผักสลัด
  3. นำขนมปังอีกแผ่นวางทับไส้ทูน่า
  4. นำไส้ปูอัดทาลงบนขนมปัง
  5. ใส่แฮม 1 แผ่นวางบนไส้ปูอัด
  6. นำผักสลัดมาวางบนแฮม
  7. วางขนมปังแผ่นที่ 3
  8. นำมีดมาตัดขนมปังในเเนวเฉียง หรือแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ส่วน

ในขั้นตอนตอนการนำไส้มาปาดลงบนขนมปัง ผู้รับบริการบางคนกะปริมาณได้พอดีเหมาะสมกับขนมปัง แต่ในผู้รับบริการของเคสผู้เขียนไม่สามารถกะปริมาณตามความเหมาะสมได้ ใช้ปริมาณที่เยอะตามที่ตนอยากกิน ผู้บำบัดต้องคอยพูดเตือน

สามารถแบ่งของกับเพื่อนในกลุ่มได้ถ้าผู้บำบัดชี้นำ

2)สลัดโรล

วัตถุดิบ&อุปกรณ์ :

  • เเป้งเปาะเปี๊ยะ
  • ผักสลัด
  • แครอท
  • แตงกวา
  • ปูอัด
  • น้ำจิ้มซีฟู้ด+น้ำสลัด
  • ถ้วย/จาน/ชาม
  • ช้อน
  • มีด 2 เล่ม
  • เขียง
  • ถุงมือ

ขั้นตอนการทำ

ผู้เขียนเป็นผู้นำในกิจกรรมนี้ โดยสาธิตให้ดูรอบเดียวและให้ผู้รับบริการเริ่มทำด้วยตนเอง ผู้รับบริการทุกคนสามารถเริ่มทำกิจกรรมเองได้ทั้งหมด

  1. ขูดแครอท/หั่นแตงกวา (ผู้บำบัดเป็นคนทำ)
  2. เริ่มต้นนำแผ่นแป้งจุ่มน้ำ ฉีกผักสลัดเป็นชิ้นเล็กวาง 2 ด้าน ตามด้วยแครอท แตงกวาหั่นยาว และปูอัดสุดท้าย
  3. วิธีการม้วน นำแป้งคลุมไส้ กดลงเบาๆ ม้วนไปจนสุดเพื่อให้ไส้แน่น จัดให้เห็นช่อผักสวยๆ ทำซ้ำเช่นเดิม --> ผู้รับบริการยังจัดวางตำแหน่งไส้ให้พอดีเพื่อม้วนแป้งยังไม่ได้ ยังกะปริมาณที่เหมาะสมไม่ได้ ต้องได้รับคำแนะนำและการให้ความช่วยเหลือ
  4. หั่นครึ่ง (ทำ 1 ครั้งได้ 2 ชิ้น ) พร้อมเสริฟ

ความรู้สึกและความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมดังกล่าว : ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองสามารถทำอาหารได้ออกมาหน้าตาดูดีและรสชาติอร่อย อยากนำไปประกอบอาชีพเมื่อตนได้ออกไปจากศูนย์ รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสทำกิจกรรมดังกล่าวหลังจากไม่ได้ทำมานาน อยากจะทำกิจกรรมทำอาหารอีกครั้งและอยากลองทำเมนูที่ทำยากกว่านี้ อยากนำไปให้ผู้ดูแลของตนเองที่ศูนย์

คำแนะนำในจัดกิจกรรมต่อยอดเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้รับบริการ : ควรส่งเสริมให้ผู้รับบริการรู้จักการแบ่งปันให้กับเพื่อนร่วมกลุ่มในเรื่องของปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ร่วมกัน การกะปริมาณให้เหมาะสมในการทำ ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากขึ้นโดยการกระตุ้นคิด หากผู้รับบริการเริ่มแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ลองแนะนำให้ทำเป็นเมนูที่ต้องใช้ความร้อนในการอุ่น ต้ม นึ่ง รวมทั้งควรส่งเสริมทักษะทางสังคม กำหนดสถานการณ์ให้ผู้รับบริการต้องพูดคุยกับเพื่อนร่วมกลุ่ม เป็นต้น 

 

หมายเลขบันทึก: 710240เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2022 00:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท