Supported Employment สำหรับผู้รับบริการจิตเวช (6323012)


เคสจิตเภทหญิง อายุ 37 ปี (เคยเสพสารเสพติดมาเป็นระยะเวลานาน) Allen Cognitive Level 5 อาการแสดงปกติคือผู้รับบริการเหม่อลอย ไม่สบตา ตอบคำถามช้า เบลอ มีอาการง่วง เหนื่อยง่าย จากการสัมภาษณ์พบว่าไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องขยับร่างกาย ไม่ค่อยอยากทำอาหาร ชอบฟังเพลงร้องคาราโอเกะเป็นหลัก

 

ในการจัดกิจกรรมกลุ่มวันที่ 27/10/65 ได้มีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ ดังนี้

  1. กิจกรรม Warm up: กิจกรรมยืดเหยียดร่างกาย คอ บ่า ไหล่ ขา

จากการสังเกตพบว่าผู้รับบริการหลบไปยืนด้านหลัง อยู่แถวเหลื่อมกับเพื่อน ๆ นับเลขเบา แต่สามารถทำท่าทางตามได้ถูกต้อง สลับแขนขาซ้ายขวาได้

 

  2.   กิจกรรมกลุ่มย่อย 4 คน ทำอาหาร (ยำวุ้นเส้น)

  • ขณะเริ่มกิจกรรม มีการเล่นเกมเล็กน้อย (ถามเร็วตอบเร็ว ให้บอกวัตถุดิบทำยำวุ้นเส้นให้ไวที่สุด) ผู้รับบริการสามารถตอบได้ และเมื่อสอบถามความรู้สึกก่อนเริ่มกิจกรรม ผู้รับบริการอาสาตอบก่อนเป็นคนแรก
  • แต่ในขณะทำยำวุ้นเส้น ผู้รับบริการไม่ค่อยออกความคิดเห็นกับคนในกลุ่มตอนปรึกษากันเรื่องสูตรน้ำยำและแบ่งงาน มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ค่อนข้างเงียบ เหม่อลอย เมื่อกระตุ้นจึงตอบเสียงเบาหรือพยักหน้าส่ายหน้า มีส่วนร่วมต่อเมื่อนำอุปกรณ์ใส่มือให้ทำ 
  • เมื่อเสร็จกิจกรรมได้ช่วยเก็บของให้เป็นระเบียบ ช่วยทิ้งขยะ ล้างจาน เมื่อสอบถามความรู้สึกผู้รับบริการตอบว่ากิจกรรมสนุกดี ทำแล้วคลายเครียด อร่อยด้วย
  • สรุปได้ว่า ขณะเข้าร่วมกิจกรรม ในช่วงแรกผู้รับบริการค่อนข้างตอบสนองไว แต่เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มนิ่งลง ต้องอาศัยการกระตุ้นจากนักศึกษา 

 

ปัญหาที่พบ: 

  • Attention เนื่องจากผู้รับบริการไม่สามารถคงความสนใจได้อย่างต่อเนื่องจนจบกิจกรรม
  • Consciousness ผู้รับบริการมีระดับความตื่นตัวต่ำ ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้น้อย ต้องอาศัยการกระตุ้น 
  • Social interaction skill ผู้รับบริการมีปฎิสัมพันธ์กับสมาชิกกลุ่มน้อย ไม่พูดคุยกับใคร ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นหรือบอกความต้องการของตนเอง น้ำเสียงเบา ไม่สบตาผู้พูด

 

จากการวิเคราะห์ภาพรวมในการทำกิจกรรมกลุ่ม นักศึกษาได้ตัดสินใจเลือกพัฒนา Work skills ด้าน Social interaction skill เป็นหลัก เนื่องจากมีความเห็นว่าเป็นทักษะด้านที่ผู้รับบริการยังบกพร่องอยู่มากที่สุด และหากฝึกทักษะนี้ก็อาจได้ทักษะด้าน Attention และ Consciousness ร่วมด้วย โดยทักษะนี้มีความจำเป็นต่อการเข้าสังคมและนำไปสู่ Communication ในการทำงานหรือประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป

 

โดยกระบวนการในการพัฒนาทักษะในด้านการสื่อสารนั้นครอบคลุมถึงการมองหน้าสบตา ให้ความสนใจคู่สนทนา และมีความกล้าแสดงความคิดเห็นหรือสื่อสารความต้องการของตนเองออกมา ซึ่งอาจพัฒนาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

  • กิจกรรมแสดงบทบาทสมมุติ โดยผู้บำบัดสมมุติสถานการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นโจทย์และให้ผู้รับบริการหาวิธีแก้ไขปัญหาพร้อมคิดประโยคสนทนา เช่น เมื่อจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในเรื่อง…ฉันควรพูดกับเขาว่า… และเมื่อเขาตอบกลับมาเช่นนี้ ฉันจะ… เป็นต้น
  • กิจกรรมจับสลากสนทนา โดยผู้บำบัดเตรียมสลากหัวข้อสนทนาต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการไว้ล่วงหน้า และให้ผู้รับบริการจับสลากขึ้นมา หลังจากนั้นให้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวนี้กับนักศึกษาให้ได้มีเดดแอร์น้อยที่สุดภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • จัดกิจกรรมคู่กับเพื่อนสมาชิกในศูนย์พักพิง อาจเป็นคนคุ้นเคยที่อยู่หอเดียวกันก่อน และค่อยเป็นคนที่ไม่รู้จัก จากนั้น Grade up เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตามลำดับ (โดยตัวกิจกรรมควรเลือกเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการพูดคุยตกลงกันเป็นหลัก โดยเน้นให้ผู้รับบริการทุกคนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน)

 

นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถใช้เทคนิค Therapeutic use of self ควบคู่ไปด้วยได้

  • แนะนำเทคนิคต่าง ๆ ในการเริ่มต้นบทสนทนา และทำให้การสนทนาราบรื่น รวมถึงการเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟังคู่สนทนา สบตา และมีการโต้ตอบที่ดี 
  • ให้กำลังใจและชื่นชมผู้รับบริการอยู่เสมอเพื่อเพิ่มความมั่นใจ คอยเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้รับบริการรู้สึกอยากที่จะลอง ให้เวลาผู้รับบริการ ไม่ขัดจังหวะ ไม่ด่วนตัดสิน ตั้งใจฟัง กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารหรือพูดแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมา จะช่วยพัฒนาความกล้าในการสื่อสารได้
คำสำคัญ (Tags): #supported employment#จิตเวช#ot
หมายเลขบันทึก: 710237เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท