๑๐๐๕. การบริหารเงินด้วยตนเอง


การบริหารเงินด้วยตนเอง

ในความเป็นจริงของชีวิตจริงนั้น…การบริหารเงินด้วยตัวของเราเองนั้น มีความสำคัญมากต่อการใช้ชีวิตจริงของเราเอง รวมถึงการนำความรู้เรื่องการบริหารเงินเป็น นำมาใช้กับการทำงานไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานของภาครัฐ หรืองานขององค์กรต่าง ๆ ที่ตัวเราเองต้องทำงานให้…

การบริหารเงิน มีความสำคัญกับตัวเราเองมาก ๆ เพราะหากตัวเราเองไม่มีความซื่อสัตย์ สุจริต แล้ว อย่าหวังเลยว่าจะมีความสุข เพราะอาจถูกตรวจสอบ สุดท้ายก็ต้องออกจากงาน…การบริหารเงินเป็นเริ่มต้นที่ตัวของเราเอง จากการที่ต้องฝึกให้มีความประหยัด…ซื่อสัตย์…เก็บออมเงินให้ได้และให้เป็น รู้จักประหยัดใช้แต่สิ่งที่จำเป็น มีความมัธยัสต์ อดออม ไม่ฟุ้งเฟ้อตามกระแสสังคม…สิ่งแรกที่ต้องรู้จัก คือ การรู้จักถึงความพอเพียงในสิ่งที่ต้องการ มิมีความอยากได้ไปเสียทุกสิ่งอย่าง…เรียนรู้ว่า สิ่งใดควร - ไม่ควร…ต้องเข้าใจว่าเงินหายาก ยิ่งยุคสมัยนี้แล้ว หากหามาได้ควรแบ่ง ใช้ เก็บ กิน…การใช้มิควรที่จะสุรุ่ยสุร่าย…ต้องรู้จักเก็บ ออมไว้เพื่อใช้ในยามจำเป็น…ลด ละ เลิกสิ่งที่เป็นอบายมุขต่าง ๆ ตัวเราสามารถแยกแยะออกว่า สิ่งใดที่ดี-ไม่ดี รู้จักหักห้ามใจของตนเองได้ ถ้าเราฝึกคิดที่จะทำ…ฝึกการที่จะต้องชนะใจตนเองให้ได้ และให้เป็น

ในยุคนี้…เป็นยุคที่กระแสสังคมแรงมากในเรื่องของการใช้จ่ายเงิน อาจนำมาให้ซึ่งความทุจริต ทำงานที่มิชอบ นำตนเองไปในทางเสียหาย และเสื่อมเสียได้…แต่ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับตัวของเราเองที่ต้องดูแลจิตใจ หักห้ามใจ มิให้มุ่งไปในทางที่เสียหาย เพราะหากเราทำดี ผลดีก็จะย้อนกลับมายังตัวของเราเอง…หากเราทำไม่ดี สิ่งไม่ดีจะตามตัวเรามาเช่นกัน ทำให้เราเกิดความทุกข์ใจขึ้นได้

การบริหารเงินให้เป็นนั้น…เป็นสิ่งที่ในตำราจะสอนในภาพกว้าง ๆ เท่านั้น แต่คนที่ต้องลงมือกระทำ นั่นคือ ตัวของเราเองว่าเราจะสามารถบริหารเงินได้ และเป็นหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่จะหลง เหลิงไปในอำนาจของกระแสสังคม ยิ่งยุคนี้ สมัยนี้มีสิ่งยั่ว ยุ มากมาย…ยิ่งในโลก Social มีสิ่งต่าง ๆ มากมาย บางสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่เป็นลักษณะการอวด การโชว์ ซึ่งความจริงบางเรื่องก็มิใช่เป็นความจริง เป็นการอวดตัว คุยโม้ โอ้อวดกันมากกว่า มิได้เป็นความจริงไปเสียทุกเรื่อง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ที่ต้องมาคิด วิเคราะห์ พิจารณาว่า สิ่งนั้นใช่ความจริงหรือไม่…ยิ่งเสพข่าว เสพเรื่องราวต่าง ๆ นั้น ทำให้คนเกิดกิเลสมากมาย นำสิ่งที่ไม่ค่อยจะดีมาสู่ตัวเราเอง…บางเรื่องควรเลื่อนผ่านไป อย่าไปหมกมุ่น ใส่ใจให้มากนัก…เพราะจะทำให้ใจเราเกิดกิเลส อยากได้ อยากมี อยากเป็นตามเรื่องนั้น

การบริหารงานเป็นนั้น ขึ้นอยู่กับจิตใจของเราเอง เพราะคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน…บางคนมีจิตคิดละโมบ โลภมาก บางคนก็มิใช่คนโลบมาก…ในกระแสสังคมปัจจุบัน สิ่งที่ทำให้ได้ และให้เป็น คือ การชนะใจของตนเอง รู้จักหา รู้จักใช้ รู้จักเก็บ ออมเงินบ้าง เราจะหาเงินได้ตอนที่เรามีแรงเท่านั้น สิ่งที่ต้องทำ คือ การเก็บออมไว้เพื่อใช้ในยามที่เราหมดแรงหาเงินแล้ว จากการที่เราเกิดการเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ใช้เงิน…หรือมีเรื่องอื่นที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวของเราเอง จึงต้องนำเงินที่เก็บออมมา Support ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อมิให้ตัวเราเองเดือดร้อน…ยิ่งเมื่อตัวเราเพิ่งเริ่มบรรจุเข้าทำงาน มิควรเร่งผลีพลามใช้เงินมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้มากมายที่เสนอมาให้กับเราได้กู้ยืม…บางคนกู้ยืมมากมาย ต้องดูอนาคต ความน่าจะเป็นสำหรับตัวเราด้วย โดยเฉพาะในยุคนี้มีเรื่องต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นบนความไม่แน่นอนมาให้เราเห็นหลากหลายเรื่องราว…เมื่อเรียนรู้แล้ว ควรนำมาคิด ทบทวนให้เป็นประโยชน์ต่อตัวของเราเองให้มาก ๆ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นกับตัวของเราเองแล้ว เราจะไม่สามารถช่วยตัวของเราเองได้

การซื้อบ้าน…ซื้อรถยนต์ ก็ควรพอประมาณ มิใช่ซื้อราคาหลายล้านบาท จนสุดท้ายก็ไม่สามารถผ่อนชำระคืนได้ ทำให้ใจของเราเป็นทุกข์…เพราะจะมาลงตรงที่เราต้องตัวให้รู้จักกับคำว่า “พอเพียง และเพียงพอ” เท่านั้น เราจึงจะอยู่ในสังคมได้ด้วยการไม่เป็นทุกข์ทางใจ…จงรู้จักกับคำว่า “บริหารการเงินด้วยตนเองให้ได้ และให้เป็น”…ยิ่งเฉพาะยุคนี้ การทำงานจะไม่ค่อยยาวเช่นยุคสมัยก่อน เพราะจะมีปัจจัยเข้ามากระทบชีวิตการทำงานของเราเองหลากหลายเรื่องราว…ขอบอก…จงระมัดระวัง หากมิให้ใจของเราเป็นทุกข์…และยินดีด้วย สำหรับคนที่รู้จักบริหารเงินด้วยตนเองเป็น หวังได้เลยสำหรับคนประเภทหลังว่า คุณจะมีความสุขในอนาคต และไม่เกิดการทุกข์ใจอย่างแน่นอน…จงเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตัวของคุณเอง เพราะชีวิต คือ การเรียนรู้ ซึ่งแต่ละคนจะได้ไม่เหมือนกัน…ขอบอก…และจงคิดอย่านำชีวิตของเราเองนั้น ไปเปรียบเทียบกับใคร ๆ เพราะเราก็คือ เรา จงทำในสิ่งที่ดีที่สุดต่อตัวของเราเองเท่านั้นค่ะ

***********************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

 

 

 



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท