เมื่อระบบจัดการคุณภาพ:GAPผลผลิตทางการเกษตรบกพร่อง


ร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขก่อนที่จะไม่มีมาตรฐานให้เชื่อถือ

ปัญหาการตรวจพบสารเคมีตกค้าง แมลงศัตรูพืชและจุลินทรีย์เกินมาตรฐานในผักผลไม้ส่งออก

   ย้อนหลังไปเมื่อ 20 ธ.ค.49 ได้เข้าประชุมร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาการตรวจพบสารเคมีตกค้าง แมลงศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อนในพืชผักผลไม้ส่งออกไปสหภาพยุโรป ทั้งๆที่เราเริ่มระบบจัดการคุณภาพ:GAPในพืชมาตั้งแต่ปี2546 มีเกษตรกรทั่วประเทศมากกว่า  80เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับทราบและพยายามที่จะเข้าสู่ระบบ มีตัวชี้วัดมากมายที่แสดงว่าหน่วยงานได้รับคะแนนผ่านการประเมินประจำปี แต่พบว่ามีสารเคมีไม่น้อยกว่า 10 ชนิดที่ประกาศห้ามใช้ไปตั้งแต่ปี2546 ยังพบการจำหน่ายในร้านค้าและตกค้างอยู่ในผลผลิตทางการเกษตรที่ประเทศต่างๆแจ้งเตือนประเทศไทยและทำลายผลผลิตไม่ให้มีการนำเข้า ผู้ประกอบการส่งออกได้แจ้งที่ประชุมให้ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องช่วยกันหาทางแก้ไขเพราะตั้งแต่ปี2550 ผลผลิตพืชส่งออกจะต้องมีการรับรองแหล่งผลิต

แนวทางแก้ไขสรุปว่า

1.ปี2550จะมีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการส่งออกทั้งหมด

2.ปรับระบบการจัดการคุณภาพ:GAP ทั้งที่จะหมดอายุและแหล่งใหม่

3.ให้ความสำคัญต่อระบบการตรวจสอบย้อนกลับผลผลิต

4.เพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยี

5.ให้ความสำคัญในการตรวจสอบธุรกิจการค้าสารเคมีในร้านค้า

    ข้อเท็จจริง : ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเคยอยู่ในวงการ IPM หรือการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน มาแล้วทั้งนั้น แต่ปัจจุบันมีชื่อใหม่ๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้นึกถึง ดร.บรรพต ณ ป้อมเพชร และ   ดร.สมุทร มงคลกิตติ ผู้เป็นอาจารย์ในด้านนี้ เพราะเคยรับการถ่ายทอดวิทยาการมาจากท่าน หรือ ชื่อใหม่ทำให้พวกเราลืมพื้นฐานไปแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรชุมพร
หมายเลขบันทึก: 70998เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท