"โกญจนาท" นักพากย์หนังสายอีสาน ชื่อดังในอดีต


"โกญจนาท"

โคราชในอดีต - ภาพในวัยหนุ่มของ "โกญจนาท" นักพากย์หนังสายอีสาน ชื่อดังในอดีต  ประวัติ โกญจนาท มีชื่อจริงว่า “สมศักดิ์ สงวนสุข” มีชื่อเล่นว่า “ม่วง”  เป็นชาวชลบุรี ในวัยเด็กมีความฝันอยากจะเป็นคนฉายหนัง  เพราะจะได้ดูหนังฟรีทุกวัน จนความฝันเป็นจริงในวัยหนุ่ม ...
โคราชในอดีต - โกญจนาท นักพากย์หนังชื่อดังในโคราชและภาคอีสาน ยุคสมัยก่อน  ภาพเมื่อปี พ.ศ.2548 นักพากย์หนังในโคราชยุคสมัยนั้น มีอีกหลายคนเช่น เหมราช  มหาราช นันทวัน พงษ์พิทักษ์ ศรอนงค์ พิมพา (ฟังเสียงจริงของ โกญจนาท  พากย์หนังเรื่อง 5 เดนนรก เมื่อปี พ.ศ ...

*ประวัติ
  “โกญจนาท” มีชื่อจริงว่า “สมศักดิ์ สงวนสุข” มีชื่อเล่นว่า “ม่วง” เป็นชาวชลบุรี 

   -ในวัยเด็กมีความฝันอยากจะเป็นคนฉายหนัง เพราะจะได้ดูหนังฟรีทุกวัน จนความฝันเป็นจริงในวัยหนุ่ม เมื่อได้เป็นพนักงานฉายหนังที่หน่วยหนังเร่ บ.บ.ท. คือบริษัทบางบัวทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งในช่วงนั้นเป็นการฉายภาพยนตร์ 16 มม. เร่ฉายหนังไปทั่วไม่ว่าจะเป็นศรีราชา นาเกลือ พนัสนิคม บ้านบึง โดยมีนักพากย์ประจำหน่วยคือ โกญจนาท-ศรีรัตน์ (โกญจนาทเป็นชื่อนักพากย์ในทีม มิใช่ชื่อโกญจนาทในปัจจุบัน)
   -ภายหลัง “โกญจนาท” นักพากย์ประจำทีมลาไปบวช จึงให้ “สมศักดิ์ สงวนสุข” หรือ “ม่วง” พนักงานเครื่องฉายเป็นผู้พากย์แทน ทั้งนี้เพราะว่าดูหนังทุกวันจนจำบทพากย์ได้ขึ้นใจ แม้ว่าการพากย์ในครั้งแรกจะติดขัดอยู่บ้าง แต่ก็ยังได้รับการบรรจุเป็นนักพากย์ประจำหน่วยหนังเร่บางบัวทอง
   -เมื่อ “โกญจนาท” ตัวจริงสึกจากพระแล้ว ได้รับการติดต่อไปพากย์หนังที่สายอีสาน จึงชวนสมศักดิ์ สงวนสุข ไปพากย์หนังที่สายอีสานด้วยกัน 

  -จากนั้น ก็ตัดสินใจไปเป็นนักพากย์ที่สายอีสานนับแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ต่อมาภายหลัง “โกญจนาท” ตัวจริงมีคิวต้องไปพากย์หนังที่สายใต้ จึงให้สมศักดิ์ สงวนสุข ไปคนเดียว พร้อมกับอนุญาตให้ใช้ชื่อ “โกญจนาท” ส่วนตนเองก็เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “เทพกวี” เพื่อให้สอดคล้องกับ ศรีรัตน์ นักพากย์คู่ประจำ 

   -นับตั้งแต่นั้นมา “สมศักดิ์ สงวนสุข” จึงได้ชื่อใหม่ในการพากย์ว่า “โกญจนาท” แทนนักพากย์คนเก่า 

    -มุ่งหน้ามาขุดทองพากย์หนังเพื่อให้ความบันเทิงที่สายอีสาน โดยเป็นนักพากย์ในสังกัดสายอีสานภาพยนตร์ จนมีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา
    -งานแรกที่โกญจนาท รับพากย์โดยพากย์หนังเรื่อง “โรบินฮูดเผด็จศึก” เป็นหนังขาว-ดำ ฉายที่อุบลภาพยนตร์  จังหวัดอุบลราชธานี โดยขึ้นรถไฟพร้อมฟิล์มหนังมาลงที่โคราช จากนั้นนั่งรถไฟไปลงที่วารินชำราบ ข้ามแม่น้ำมูลมายังตัวจังหวัด หลังจากพากย์หนังที่อุบลราชธานีแล้วได้เดินสายนำ “โรบินฮูดเผด็จศึก” ทั่วอีสาน ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน 3,000 บาท  

  -ซึ่งในช่วงนั้นมีนักพากย์สายอีสาน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังคือ “ดาราพร” “เพ็ญแข” “วราวรรณ”
   -หนังเรื่องเจ็ดสิงห์แดนเสือ พากย์โดย "โกญจนาท" ได้อย่างอร่อยเหาะ   ส่วนเรื่องแรกที่ทำให้ “โกญจนาท” เป็นที่รู้จักของผู้ชม คือเรื่อง “สวรรค์บันดาล” จนโด่งดังเป็นพลุแตก มีผู้ชมเข้าชมจนแน่นโรงทุกรอบ หลังจากประสบความสำเร็จจากการพากย์หนังในระยะเริ่มแรก 

   -ต่อมาจึงเริ่มพากย์หนังคาวบอยขี่ม้ายิงปืน โดยการใส่ลูกเล่นลูกฮา คนดูหัวเราะชอบใจ ไม่ว่าจะเป็น “เสือผจญสิงห์” “เจ็ดสิงห์แดนเสือ” “มือปืนใจสิงห์”  
   -จนมาถึงยุคหนังจีนกำลังภายในของชอว์บราเดอร์ อาทิ เช่น 

   -ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์, ศึกชุมนุมจ้าวยุทธจักร, มังกรหยก (โกญจนาท-กันทิมา)  

    -กระบี่ไร้เทียมทาน เรื่อยมาจากถึงหนังจีนยุคใหม่ พ่อจ๋าอย่าร้องไห้, ไอ้หนุ่มพันมือ, ผีกัดอยากัดตอบ, ขาตั้งสู้, เอไกหว่า, โหด เลว ดี 1 – 2 (โกญจนาท- วราลักษณ์) 

    -จนถึงหนังฝรั่ง เช่น คิงคอง, ร้อคกี้ 3 ซูเปอร์แมน 4 (เรื่องนี้ใช้นักพากย์ 3 คน คือ โกญจนาท-มหาราช-วราลักษณ์) 

    -แรมโบ้ 3 (โกญจนาท-วราลักษณ์)  และหนังดังอีกหลายเรื่องที่ผ่านการพากย์อย่างประทับใจและยอดเยี่ยมของนักพากย์หนังสายอีสานนามกระเดื่องที่มีชื่อว่า “โกญจนาท” (ข้อมูลเมื่อ 23 พ.ค. 2551)
     -โกญจนาท เสียชีวิตแล้ว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556
  **คำว่า "โกญจนาท" หมายถึง การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน หรือ เสียงกึกก้องของช้าง (ที่มา - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

“สัมภาษณ์โกญจนาท” นักพากย์ชื่อดังจากสายอีสาน

“โกญจนาท”…พากย์มือปืนเพชรตัดเพชร​(พ.ศ.2512)​

 *ตัวอย่างเสียงพากย์ “โกญจนาท”..

"โกญจนาท"พากย์​ เหยี่ยวนรกทะเลทราย(1978)

“5 เดนนรก” - โกญจนาท ให้เสียงภาษาไทย

คำสำคัญ (Tags): #"โกญจนาท"
หมายเลขบันทึก: 709907เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2022 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท