การใช้ Diversional Therapy กับผู้มีประสบการณ์ทางจิตเวชครั้งแรก


         

สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน Blog ในวันนี้ดิฉันจะมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ Diversional Therapyกับผู้มีประสบการณ์ทางจิตเวชครั้งแรกของดิฉัน ( ที่ตอนนี้ขึ้นเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3แล้วค่ะ ) ที่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี ซึ่งDiversional Therapy ที่ดิฉันกล่าวไปข้างต้น เป็นการบำบัดด้วยทักษะอ่อนโยน ( Soft skill ) สร้างสัมพันธภาพด้วยการสื่อสารจิตสังคมด้วยภาษากาย การสบตา การใช้เสียง การสังเกตรูปแบบกิจกรรม เพื่อเบี่ยงเบนจิตต่อความเจ็บปวดของร่างกาย และจิตใจ 

 

กรณีศึกษา 

ชื่อสมมุติ B เพศ หญิง

โรคประจำตัว : HIV โรคจิตเภท ปวดข้อสะโพก

งานอดิเรก : ชอบฟังเพลง มีศิลปินที่ชอบคือปูพงษ์สิทธิ์ ชอบฟังเพลงเพื่อชีวิต ชอบฟังดนตรี

-รับบรู้วันเวลาและสถานที่ กิจกรรมที่ทำเมื่อเดือนที่แล้ว ( สอบถามผู้ดูแลแล้ว เป็นความจริง ) 

-ประเมินระดับความเจ็บ ปวดบริเวณข้อสะโพก เมื่อต้องเคลื่อนไหว ระดับ Pain scale 10 / 10

-ประเมินการเดิน ผู้รับบริการมีการเดินแบบ Knock Knee หรือแบบเข้าชนกัน ลักษณะของหัวเข่าหมุนเข้าไปในทิศทางด้านในของลำตัว ( Internal rotation )

-ประเมิน 9Q คะแนน 8 / 19 มีอาการโรคซึมเศร้าระดับน้อย

-ประเมิน 8Q คะแนน 0/17  ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายในปัจจุบัน

-ประเมิน State management พบว่า ผู้รับบริการ มีระดับความเครียด 0/10

-ประเมิน visual accessing cue พบว่า

  • มองเห็นนิ้วชัดในทุกทิศทางของนิ้ว
  • อดีต เห็นภาพพระพุทธรูปในโบสถ์ วัดที่เคยบวชชี  มีความสุข อยากที่จะทำ ชอบทำ
  • อนาคต เห็นภาพทะเล มีความสุข อยากไปเที่ยวมากๆ

มี Motivation ในการใช้ชีวิต  อยากออกไปจากที่นี้ เมื่อออกไปแล้วจะไปบวช

 

ปัญหาที่พบ (ในวันที่ 20/10/65)

-ผู้รับบริการหลงผิดจากความเป็นจริง Delusionจากการถามซ้ำและถามผู้ดูพบว่ามีความจริง และไม่จริง คิดว่าตัวเองหายจากโรคจิตเภทแล้ว ไม่ต้องทานยา

-มีปัญหาสายตาสั้น

-ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

-ประเมินระดับความเจ็บ ปวดบริเวณข้อสะโพก เมื่อต้องเคลื่อนไหว ระดับ Pain scale 10 / 10

 

Diversional activity อะไรที่เลือกให้กับผู้รับบริการ

     Projective tests ( The Magazine Picture Collage ) รวมทั้งกิจกรรมฟังเพลงที่ผู้รับบริการชื่นชอบ

ทำไมถึงเลือก Diversional activity ดังกล่าว 

     จากการสัมภาษณ์ในครั้งแรกพบว่าผู้รับบริการมีอาการโรคซึมเศร้าระดับน้อย และ Delusion  มีประวัติฆ่าตัวตาย ปวดบริเวณข้อสะโพก เมื่อต้องเคลื่อนไหว ระดับ Pain scale 10 / 10 อาการปวดทำให้ผู้รับบริการ ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ ผู้รับบริการมักพูดว่าปวด เจ็บ ออกมาบ่อยๆ ไม่อยากทำกิจกรรม เมื่อสอบถามผู้ดูแล พบว่าปัจจุบันผู้รับบริการไม่มี โรคประจำตัวเป็นโรคซึมเศร้า จึงเลือกใช้กิจกรรมนี้ เพื่อดูความคิดและความรู้สึกของผู้รับบริการในปัจจุบัน รวมถึงกิจกรรมร้องเพลงเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการชื่นชอบ ชอบทำเป็นงานอดิเรก เพื่อเบี่ยงเบน อาการเจ็บปวด ทางด้านร่างกาย และจิตใจ

 

Stage  1 : The opening of the session

     ผู้บำบัดกล่าวแนะนำตัวและทักทาย ด้วยเสียงที่สุภาพ เป็นมิตร หน้าตายิ้มแย้ม ถามความรู้สึกในวันนี้ของผู้รับบริการ ถามสิ่งที่ได้ทำก่อนหน้านี้ ผู้บำบัดผู้แนะนำกิจกรรมที่จะทำในวันนี้ จุดประสงค์ เวลาที่จะใช้ทำกิจกรรม ถามถึงประสบการณ์ในการทำกิจกรรมนี้ว่าเคยทำมาก่อนหรือไม่

 

Stage  2  : Activities Emphasizing Bodily Response 

      กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายจากบนลงล่าง Joint to Joint เนื่องจาก ผู้รับบริการมีระดับความเจ็บ ปวดบริเวณข้อสะโพก เมื่อต้องเคลื่อนไหว ระดับ Pain scale 10 / 10 ผู้บำบัดจึงเลือกกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นการเคลื่อนไหว และแทรกท่าออกกำลังกาย ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของข้อสะโพก โดยผู้บำบัดจะทำร่วมกับผู้รับบริการไปทีละขั้นตอน ระหว่างการทำกิจกรรมผู้บำบัดได้ให้ผู้รับบริการเลือกเพลงที่ชื่นชอบ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการเจ็บป่วยทางกาย

วิธีการทำ

  1.  หมุนหัวไหล่ไปทางด้านหลังและกลับมาด้านหน้า อย่างละ 5 ครั้งตามลำดับ
  2. งอหัวไหล่ 90 องศา เย็ดข้อสอบและนิ้วมือมาทางด้านหน้า อย่างละ 5 ครั้งตามลำดับ
  3. ผู้รับบริการนั่งห้อยขาขาติดพื้น มือว่างขนาดลำตัวเพื่อช่วยพยุงลำตัว จากนั้น ค่อยๆงอข้อสะโพก หัวเข่า ข้อเท้า ตามลำดับ ขึ้นมาให้สูงที่สุด
  4. หลังจากนั้น เหยียดข้อสะโพก หัวเข่า ข้อเท้า ตามลำดับ ทำสลับกันทีละข้าง อย่างละ 5 ครั้ง
  5. หมุนข้อเท้าเป็นวงกลม อย่างละ 5 ครั้ง สลับกัน 2 ข้าง
  6. ผู้บำบัดแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายโดยเน้นย้ำ ข้อ 4-5 ที่จะช่วยเสริมความแข็งแรงของข้อสะโพกที่ผู้รับบริการมีอาการเจ็บ

     จากการสังเกตผ่านการทำกิจกรรม ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ยืดเหยียดร่างกายเป็นอย่างดี ค่อยๆถามพร้อมกับผู้บำบัดไปทีละขั้นตอน ให้ความสนใจในท่าทางต่างๆ สอบถามถึง วิธีการทำท่านั้นๆ ความรู้สึกหลังการทำกิจกรรม รู้สึกสบายตัวขึ้น เหมือนได้ผ่อนคลาย

 

Stage 3 Activities Proportioning Perceptual integration

      ก่อนเริ่มทำกิจกรรม ผู้บำบัดได้ขอให้ผู้รับบริการ ช่วยนำสิ่งของ อุปกรณ์มาวางเพื่อเตรียมพร้อมในการทำกิจกรรม โดยผู้บำบัดจะทำการบอก ตำแหน่งและทิศทางของสิ่งของที่จะวาง เช่น หยิบกาวออกจากถุงและวางไว้ด้านซ้ายของคุณ หยิบนิตยสาร 1 เล่ม วางไว้ทางซ้ายมือของคุณ หยิบนิตยสารอีก 1 เล่ม วางทางด้านขวาของกาว ผู้รับบริการสามารถทำตามทิศทางที่ผู้บำบัดบอกได้ทั้งหมด

 

Stage 4 : Cognitive Stimulation and Functioning

Projective tests ( The Magazine Picture Collage )

  • ผู้บำบัดได้แนะนำกิจกรรม อุปกรณ์ เวลาที่จะใช้ทำ และให้ผู้รับบริการดูตัวอย่างของผลงาน สอบถามความรู้สึกก่อนทำกิจกรรม พบว่า อยากทำ ไม่เคยทำมาก่อน  
  • ผู้รับบริการสามารถเริ่มต้นทำกิจกรรมได้ทันที ค่อยๆหารูปตามความสนใจ สามารถคงความสนใจในการหารูป และร้องเพลงที่ชื่นชอบไปพร้อมกันได้ 
  • เมื่อไม่มีกรรไกร ผู้รับบริการสอบถามผู้บำบัดจะฉีกแทนการตัด   โดยที่ผู้บำบัดไม่ต้องให้ความช่วยเหลือ มีการพับก่อนฉีก ฉีกรูปภาพแบบเป็นขอบสี่เหลี่ยม วางรูปภาพแบบเป็นแถวรียบร้อย โดยเริ่มแปะจาก บนซ้ายลงมาล่างไม่มีนอกกรอบ
  •  ผู้รับบริการไม่รู้จักกาวแท่ง ใช้ไม่เป็น มีการสอบถามผู้บำบัดเกี่ยวกับวิธีการใช้ และสามารถใช้ได้ด้วยตนเองในครั้งถัดไป
  • เมื่อผู้รับบริการมีการหลงผิดจากความเป็นจริง Delusion บ้าง เช่น บอกว่าลูกจะมารับ มีคนมาให้เงิน ผู้บำบัดจึงต้องค่อยๆดึงความสนใจ พูดคุยเกี่ยวกับการทำกิจกรรม ชวนร้องเพลง ผู้รับบริการจึงกลับมาทำกิจกรรมได้ต่อไป 
  • หยุดทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง
  • ผู้รับบริการเลือกแปะรูป พระพุทธรูป ทะเล สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยให้เหตุผลว่า รูปพระพุทธรูปเพราะนับถือศาสนาพุทธ และเคยบวช รูปทะเลและสถานที่ท่องเที่ยว เพราะเคยไปและอยากไป
  • สามารถทำกิจกรรมได้เสร็จตรงเวลา 
  • ความรู้สึกหลังทำกิจกรรม รู้สึกชอบกิจกรรมนี้ เพราะได้ฟังเพลง และได้เห็นสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่อยากไป มีสถานที่สวยๆในนิตยสาร อยากหายและออกจากที่นี่เพื่อไปเที่ยว  อยากเก็บผลงานไว้เป็นที่ระลีก

 

Stage 5 : Closing the session 

      ผู้รับบริการสามารถเริ่มต้นและหยุดทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง มี Allen cognitive level 5.0 เมื่อพบปัญหา สามารถสอบถาม เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง  ระหว่างการทำกิจกรรมผู้รับบริการมีการหลงผิดจากความเป็นจริง Delusion ผู้บำบัดจึงต้องค่อยใช้ดนตรีบำบัด การพูดคุย เพื่อดึงความสนใจ ผู้รับบริการจึงกลับมาทำกิจกรรมได้ต่อไป 

 

     สำหรับ Blog ในวันนี้ เป็นBlog สำหรับการศึกษา ดิฉันไม่ได้มีเจตนา ที่จะทำให้ผู้ใดเสื่อมเสียชื่อเสียง หากมีข้อผิดพลาดประการใดดิฉันขอ อภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 709423เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท