Diversional Theraphy แก่ผู้รับบริการที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต


สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาววิชญาดา ศรัณยสกุล เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 วันนี้ดิฉันจะนำเสนอกิจกรรมที่ดิฉันได้นำไปบำบัดฟื้นฟูให้แก่ผู้รับบริการที่มีภาวะทางสุขภาพจิต ณ สถานที่คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนนทบุรี 

ข้อมูลเบื้องต้นของผู้รับบริการ

  • ผู้รับบริการหญิง อายุ 43 ปี มีประวัติใช้สารเสพติดยาจำพวกยาไอซ์และยาม้า สถานภาพหย่าร้าง มีลูก 2 คนคนโตเป็นผู้หญิงและคนสุดท้องเป็นผู้ชาย อาศัยอยู่กับคุณยาย ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช และปัจจุบันย้ายมาอยู่จังหวัดสมุทปราการ ที่บ้านทำอาชีพเปิดร้านอาหารตามสั่ง ผู้รับบริการไม่มีกิจกรรมยามว่างที่ตัวเองชอบหรือถนัดและส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยที่บ้านทำงาน หากมีกิจกรรมให้ทำผู้รับบริการเสนอเป็นกิจกรรมทำอาหาร ผู้รับบริการมีความต้องการอยากกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวและเลี้ยงหลาน ในการไปครั้งที่สองดิฉันได้ให้ผู้รับบริการทำการประเมินเกี่ยวกับ cognitive พบว่า ผู้รับบริการมีปัญหาเรื่อง racall memory และ executive function ดิฉันจึงทำการสอนท่าบริการสมอง brain gyms ให้แก่ผู้รับบริการและทำ state management ประเมินการสภาพจิต ให้คะแนนความตึงเครียดจากใบหน้าระดับ 10 ทรวงอกระดับ 7 ท้องระดับ 9 หลังจากทำการเคาะอารมณ์ ให้คะแนนความตึงเครียดจากใบหน้าเป็นระดับ 8 ทรวงอก 7 และท้อง 7 ทำการเคาะอารมณ์ซ้ำให้คะแนนความตึงจากใบหน้าทรงอกและท้องเป็น 0

หลังจากจบการประเมินดิฉันจึงมีกิจกรรมสร้างความผ่อนหลายให้ผู้รับบริการได้เลือก เป็นกิจกรรมที่ใช้ผู้เล่น 2 คน

1.กิจกรรมเล่นหมากรุก  

2.กิจกรรมเล่นหมากขุม 

เหตุผลของการเลือกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เนื่องจากผู้บำบัดเห็นว่ากิจกรรมทั้ง 2 เป็นกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของชาวภาคใต้ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แสดงให้ถึงวัฒนธรรมและคุณค่าของกิจกรรมการเล่นของกลุ่มคนในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นกิจกรรมนี้สามารถประเมินเรื่องความจำ การทำตามขั้นตอน การตัดสินใจและสามารถส่งเสริมสมาธิ ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการใช้สายตาในการทำกิจกรรม ดังนั้นผู้รับบริการเลือกเป็นกิจกรรมที่ 2. เล่นหมากขุมเนื่องจากผู้รับบริการเคยมีประสบการณ์ในการเล่นแต่ปัจจุบันได้หลงลืมกฎกติกา 

 

ขั้นตอนของการทำกิจกรรม มีดังนี้

1.ดิฉันสอบถามผู้รับบริการถึงอุปกรณ์ในการเล่นมีอะไรบ้าง ผู้รับบริการสามารถบอกอุปกรณ์ในการเล่นได้ ซึ่งมีดังนี้ -รางหมากขุม -ลูกหมาก 

2.ดิฉันได้เตรียมอุปกรณ์ในการเล่นชนิดนี้แบบประยุกต์ เนื่องจากไม่สามารถหารางหมากขุมได้ จึงใช้ถ้วยกระดาษจำลองแทนรางหมากได้ ดิฉันจึงทำการเสนอก้อนหินแทนลูกหมาก ขณะนั้นผู้รับบริการจึงเห็นด้วยกับทุกข้อเสนอ จึงไปขอนุญาตทางศูนย์ใช้ก้อนหิน และดิฉันกับผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันเลือกก้อนหินที่มีลักษณะพอดีมือจำนวนหลายก้อน

3. ดิฉันอธิบายกติกาในการเล่นให้ผู้รับบริการ 

  • วิธีในการเล่น 

-ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม(ถ้วยกระดาษ) โดยแต่ละคนใส่ลูกหมาก(ก้อนหิน)หลุมละ 7 ลูก ทั้ง 7 หลุม ส่วนหลุมแม่(หลุมใหญ่)ไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้

-การเดินหมาก ทำการเป่ายิงชุบเพื่อหาคนเดินเกมส์คนแรก ซึ่งได้ผู้รับบริการเป็นผู้เดินเกมส์คนแรก โดยหยิบก้อนหินจากหลุมตัวเองหลุมใดก็ได้และเดินหมากจากขวาไปซ้าย โดยใส่ก้อนหินลงในหลุมที่ถัดจากหลุมที่เริ่มหยิบก้อนหินขึ้นมาเดิน ใส่ก้อนหินหลุมละ 1 เม็ด รวมทั้งใส่หลุมแม่ในฝ่ายของตัวเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมแม่ของฝ่ายตรงข้าม เมื่อเดินก้อนหินเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุมไหนให้หยิบก้อนหินทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้าตายในหลุมแม่ฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยหยิบก้อนหินทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมแม่ของฝ่ายตัวเอง เรียกว่ากินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดก้อนหิน เดินต่อไปไม่ได้ ก้อนหินทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมแม่ของทั้ง 2 ฝ่าย และนับจำนวนก้อนหินในหลุมแม่ของแต่ละฝ่าย ถ้าฝ่ายใดมีมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

 

จากการทำกิจกรรมดังกล่าวผู้รับบริการเป็นผู้ชนะ ขณะทำกิจกรรม พบว่าผู้รับบริการมีสมาธิในการเล่นและสามารถจดจำการเดินหมากในแต่ละหลุมด้วยการใส่ก้อนหินที่ละเม็ดได้ สามารถตัดสินใจหยิบหลุมเริ่มต้นได้ สามารถยืดหยุ่นความคิดในเรื่องของอุปกรณ์การเล่นและเล่นได้จนจบกิจกรรม มีการพูดปลอบให้กำลังใจให้กับดิฉันที่เล่นแพ้ในรอบนี้  กิจกรรมนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์แก่ผู้รับบริการกับแม่หอ(คนใต้)ได้อีกด้วยเนื่องจากเป็นแม่หอที่ผู้รับบริการไม่ค่อยสนิทและกลัวแต่แม่หอได้เดินมาชวนผู้รับบริการไปเล่นต่อที่หอพัก ดิฉันรู้สึกดีใจที่กิจกรรมนี้สามารถทำให้ทุกคนได้นึกถึงภาพในวัยเด็ก มีการแลกเปลี่ยนเรื่องราวในวัยอดีตของแม่หอและผู้รับบริการต่อกันและกัน

 

6323006 วิชญาดา ศรัณยสกุล นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3

หมายเลขบันทึก: 709405เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท