Diversional therapy


สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน … เมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง แล้วได้พูดคุยกับผู้รับบริการท่านนึง และทำการประเมินทางกิจกรรมบำบัด วันนี้ผู้เขียนก็จะมาเล่าสรุปปัญหาที่พบหลังจากที่ได้ทำการประเมินไปค่ะ

Brief case

ผู้รับบริการ ชื่อนามสมมติ คุณ K เป็นโรค Schizophrenia อายุ 44 ปี โดยสามารถสรุปปัญหาที่พบหลังจากที่ทำการประเมินไปได้ดังนี้ :

- จากการใช้แบบประเมิน MoCA พบว่าผู้รับบริการมีปัญหาด้านความจำระยะสั้น ไม่สามารถพูดทวนคำและประโยคได้ครบถ้วน โดยเมื่อให้จดจำคำ สามารถพูดทวนได้แค่ 3 ใน 5 คำ และเมื่อให้พูดทวนประโยค พบว่าพูดทวนได้ไม่ครบ ยังมีตกหล่นอยู่ 1 คำ อีกทั้งยังพบว่ามีปัญหา Attention ในการลบเลข โดยไม่สามารถลบเลขต่อไปเรื่อยๆได้

- จากการประเมินทางสายตา โดยให้อ่านบทความที่มีขนาดตัวหนังสือหลากหลายขนาด พบว่าผู้รับบริการมีปัญหาทางสายตาในการอ่านตัวหนังสือที่มีขนาดเล็กเกินไป จะมองเห็นได้ไม่ชัดเจน

- จากการประเมินด้วย MOHO พบว่า ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการค้นหาอาชีพใหม่ๆที่สามารถสร้างรายได้ได้ เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่มีเป้าหมายชัดเจนว่าอยากทำอะไรต่อไปในอนาคต 

- จากการประเมิน Visual Accessing Cue พบว่า ผู้รับบริการยังคงคิดถึงลูกเสมอ และยังมองไม่เห็นภาพตนเองในอนาคตที่ชัดเจน

ผู้บำบัดได้ให้การรักษารายบุคคลแบบ PERMA โดยเน้นเปลี่ยนความคิดเชิงลบเป็นความคิดเชิงบวก ซึ่งผู้บำบัดได้ให้ทำกิจกรรมพับกล่องกระดาษ 

ก่อนเริ่มทำผู้รับบริการได้พูดว่าตนเองทำไม่ได้หรอก เนื่องจากเป็นคนมือหนักคิดว่าพับกระดาษออกมาได้ไม่ดีแน่ๆ 

- Positive emotion (P) : เมื่อผู้บำบัดได้สาธิตไปทีละขั้นตอน สุดท้ายแล้วผู้รับบริการก็สามารถพับกล่องออกมาได้สำเร็จ ทำให้รู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้นจากตอนแรกที่คิดว่าทำตนเองไม่ได้

- Engagement (E) : ได้มีส่วนร่วมและมีสมาธิจดจ่อกับการพับกระดาษในทุกขั้นตอน

- Relationships (R) : ผู้รับบริการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บำบัด มีการพูดคุย สอบถามผู้บำบัดหากไม่เข้าใจในขั้นตอนไหน 

- Meaning (M) : ผู้รับบริการให้ความหมายกับการที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น หากมีโอกาสก็จะนำวิธีพับนี้ไปสอนให้กับเพื่อนๆ

- Accomplishment (A) : ผู้รับบริการสามารถพับกล่องออกมาได้สำเร็จ 

ต่อมาผู้เขียนก็จะมาเล่าเกี่ยวกับการทำ Diversional therapy ให้กับผู้รับบริการท่านนี้กันค่ะ 

Diversional therapy 

Diversional activity ที่เลือกให้กับผู้รับบริการท่านนี้ คือ กิจกรรมพับกล่องกระดาษ และฟังเพลงผีโรงเย็น ของ ปู พงษ์สิทธิ์ 

ทำไมถึงเลือก Diversional activity ดังกล่าว

เนื่องจากผู้รับบริการได้เล่าว่าตนเองมีอาการหลงลืมบ่อย รู้สึกว่าไม่ค่อยมีสมาธิ และจากสัมภาษณ์ พบว่า คำตอบส่วนใหญ่ของผู้รับบริการมักพูดถึงลูกอยู่เสมอ ผู้บำบัดเลยเลือกกิจกรรมพับกล่องกระดาษ เพราะเป็นกิจกรรม ช่วยฝึกการจดจำขั้นตอน ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย มีสมาธิจดจ่อใช้เวลาไปกับการพับกระดาษตรงหน้า ช่วยให้คลายความคิดถึงได้ และอีก 1 กิจกรรมที่เลือก คือ กิจกรรมฟังเพลงผีโรงเย็น เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผู้รับบริการบอกว่าเวลาเครียดจะชอบฟังเพลงของปู พงษ์สิทธิ์ และเพลงผีโรงเย็นนี้เป็นเพลงที่ผู้รับบริการเลือกเอง เพราะเป็นเพลงที่ตนชื่นชอบ

มีกระบวนการใช้ Diversional activity อย่างไร

1. เริ่มจากผู้บำบัดพูดแนะนำตัวเองก่อน พูดคุยสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการ อธิบายวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่จะทำในวันนี้ และกระตุ้นประสาทสัมผัส โดยให้ผู้รับบริการได้ดู สัมผัสกล่องกระดาษตัวอย่าง และให้เลือกสีกระดาษของตนเองที่จะนำมาพับ

2. ก่อนเริ่มพับให้ผู้รับบริการกำแบมือ 2 ข้างพร้อมกัน 10 ครั้ง เพื่อเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อมัดเล็ก

3. ผู้บำบัดอธิบายขั้นตอน สาธิต และให้ผู้รับบริการทำตามไปทีละขั้นตอน ในครั้งแรก

4. ในครั้งที่ 2 ให้ผู้รับบริการลองทำเอง หากหลงลืมในขั้นตอนใด สามารถสอบถามผู้บำบัดได้

5. เมื่อผู้รับบริการพับกล่องที่ 2 ได้สำเร็จ ผู้บำบัดจะสอบถามความรู้สึกหลังที่ได้พับกล่องกระดาษ 

6. ผู้บำบัดพาผู้รับบริการออกไปนั่งพักบริเวณนอกหอประชุม ให้สัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติที่มีลมพัด เงียบสงบ

7. ให้หายใจเข้าลึกๆ ปล่อยลมหายใจออกทางปากยาวๆ จากนั้นเปิดเพลงผีโรงเย็นให้ผู้รับบริการฟัง จนจบเพลง

8. สอบถามความรู้สึกหลังจากได้ฟังเพลง และทำการพูดขอบคุณกล่าวปิดกิจกรรม

หมายเลขบันทึก: 709398เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท