Diversional therapy


ผู้รับบริการเพศหญิง อายุ 41 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง วุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนนาฏศิลป์ มีลูกชาย 1 คน อายุ 9 เดือน อดีตประกอบอาชีพชง cocktail เป็นระยะเวลา 4-5 ปี เคยอาศัยอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์และมีการเริ่มเสพยาบ้าเมื่อไปเที่ยวสถานรื่นเริง ทำให้มีอารมณ์ก้าวร้าว ผลการประเมินครั้งแรกขระสัมภาษณ์ สังเกตพบว่าผู้รับบริการมีอารมณ์และสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์เป็นอย่างดี อีกทั้งเมื่อให้ผู้รับบริการประเมินตนเอง ผู้รับบริการประเมินว่าตนเองมีอารมณ์ก้าวร้าวเล็กน้อยเมื่อต้องสอนงานให้เพื่อนในหอแล้วเพื่อนไม่สามารถทำได้ เช่น สอนการผสมน้ำยาถูพื้น การล้างห้องน้ำ เป็นต้น และในการรักษามีการรับประทานยา 2-3 เม็ด/มื้อ มีผลค้างเคียงคือมีอาการง่วงซึม และครั้งที่สองดิฉันได้ทำการประเมิน Mini-Cog พบว่าผู้รับบริการสามารถจดจำคำและพูดทวนอีกครั้งได้ 2 จาก 3 คำ และประเมินผ่านผ่านการทำกิจกรรพบว่า สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว มี eye – hand coordination และ Process skill ที่ดี สามารถคงความสนใจกับกิจกรรมได้ เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามวัตถุประสงค์ สามารถถือประคองวัตถุได้อย่างเหมาะสม เริ่มต้นและสิ้นสุดการทำกิจกรรมได้ ทำตามขั้นตอนได้อย่างต่อเนื่อง ทำความสะอาดอุปกรณ์และจัดเก็บได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่มีอารมณ์ก้าวร้าวเมื่อพบปัญหา 

 

เมื่อดิฉันได้ทำการสัมภาษณ์และประเมินผู้รับบริการ ต่อไปฉันจึงเลือกใช้กิจกรรมในการบำบัดรักษา และให้การรักษาบุคคลแบบ PERMA แล้ว หลังจากนั้นดิฉันจึงได้เลือก Diversional activity ให้แก่ผู้รับบริการ คือ กิจกรรมการระบายสีน้ำ

 

เหตุผลที่ดิฉันเลือกกิจกรรมนี้ เนื่องจาก จากการประเมินพบว่าผู้รับบริการมีปัญหาทางด้านอารมณ์ หากผู้รับบริการมีอารมณ์ก้าวร้าวก็จะส่งผลทำให้เกิดอารมณ์ตึงเครียด และหายใจไม่สม่ำเสมอ อารมณ์ ดังนั้นดิฉันจึงเลือกใช้กิจกรรมนี้ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถจัดการอารมณ์ที่ตึงเครียดของตนเอง ทำให้จิตใจสงบ โล่งสบาย และมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

 

โดยมีกระบวนการ ดังนี้

State 1 : The opening of the session

ดิฉันได้เริ่มสร้างสัมพันธภาพกับที่ดีกับผู้รับบริการด้วยท่าทางที่เป็นมิตรและอบอุ่น เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลาย และบอกวัตถุประสงค์ของกิจกรรมแก่ผู้รับบริการ 

state 2 : Activities Emphasizing Bodily Response

ให้ผู้รับบริการยืดเหยียดร่างกายเพื่อหระตุ้นให้ผู้รับบริการรู้สึกตื่นตัวก่อนทำกิจกรรมหลัก และให้ทำกิจกรรมการหายใจแบบ 4-7-8 โดยหายใจเข้า 4 วินาที แล้วค้างไว้ 7 วินาที และหายใจออก 8 วินาที เพื่อให้ผู้รับบริการผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

State 3 : Activities Proportioning Perceptual integration
ให้ผู้รับบริการเริ่มทำกิจกรรมการระบายสีน้ำ โดยเริ่มจากให้ผู้รับบริการบอกอุปกรณ์และขั้นตอนในการทำกิจกรรมนี้ หลังจากนั้นดิฉันจึงได้บอกขั้นตอนให้ผู้รับบริการฟัง โดยเริ่มจากเตรียมอุปกรณ์ เทสีน้ำลงในถาด เตรียมน้ำสำหรับล้างพู่กัน และเตรียมผ้าสำหรับเช็ดพู่กัน หลังจากนั้นจึงเริ่มลงมือระบายสีได้

State 4 : Cognitive stimulation and functioning

เมื่อผู้รับบริการระบายสีเสร็จ จึงพูดคุยและสอบถามความรู้สึกของผู้รับบริการเกี่ยวกับผลงาน

State 5 : Closing the session

ดิฉันได้ทำการพูดปิดการทำกิจกรรม และจากการทำกิจกรรมพบว่า ผู้รับบริการมีสมาธิจดจ่อกับการทำกิจกรรม สามารถทำตามขั้นตอนได้ด้วยตนเอง เมื่อพบปัญหา เช่น ไม่มีสีที่ผู้รับบริการต้องการ ผู้รับบริการสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่มีอารมณ์ที่ก้าวร้าว และเมื่อสอบถามความรู้สึกผู้รับบริการสามารถรับรู้ความรู้สึกของตนเองได้ โดยผู้รับบริการมีความรู้สึกสบายใจ และมีความตึงเครียดลดลง และมีอารมณ์ผ่อนคลายมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมนี้

คำสำคัญ (Tags): #Diversional
หมายเลขบันทึก: 709359เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท