Diversional Therapy ในผู้ป่วยจิตเวช


ดิฉัน นางสาว ปรีชญา สุวรรณจินดา นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสไปให้การประเมินและจัดกิจกรรมบำบัด ณ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนนทบุรี จำนวน 3 ครั้ง ที่นั่นได้ทำให้ดิฉันไดเเรียนรู้และได้รับประสบการณ์อันมีค่า และเป็นโอกาสอันดีที่ดิฉันจะมาถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการเขียนblogนี้ จากการใช้กิจกรรมบำบัดในหัวข้อของ “ Diversional Therapy ” กับผู้ป่วยจิตเวช

Case study 

ชื่อ ขวัญ (นามสมมติ) เพศหญิง อายุ 43 ปี Dx : schizoaffective disorder (F25) มีปฏิสัมพันธ์ดีกับนักศึกษาแต่ไม่ค่อยพูดคุยกับเพื่อนที่ศูนย์ เคยมีประวัติการทะเลาะวิวาทเนื่องจากภาวะอารมณ์ไม่คงที่ จากการประเมินและการสัมภาผู้รับบริการมีภาวะ delusion ,self-criticisms

-จากการประเมิน9Q : ได้ 13 คะแนน มีภาวะ moderate depression

-จากการประเมิน 8Q : ได้ 0 คะแนน ไม่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายในปัจจุบัน

-จากการประเมินMOCA : ได้คะแนน 11 คะแนน พบปัญหาในเรื่อง short-term memory ,EF , Attention มีภาวะเสี่ยงMCI

-ประเมินผ่านการทำกิจกรรมที่คุ้นเคย = พับถุงกระดาษ : ผู้บำบัดสาธิตให้ดู 1-2 ขั้นตอนและหลังจากนั้นผู้รับบริการสามารถทำตอนขั้นตอนเองได้หมดจนจบโดยไม่ต้องมีการสาธิต และสามารถบอกความแตกต่างของถุงที่ตนเคยพับและถุงกระดาษที่พึ่งพับได้ รวมทั้งสามารถแสดงการพับถุงที่ตนเคยพับให้ดูได้ = ผู้รับบริการสามารถดึง long-term memory ออกมาใช้ได้ มี attention ในการทำกิจกรรมดี

Diversional activity 🤍

Stage 1: The opening of the session

ผู้บำบัดแนะนำตัวและกล่าวทักทายด้วยน้ำเสียงที่เป็นมิตร ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ ถามถึงความรู้สึก ณ ตอนนั้น และก่อนจะให้ทำกิจกรรม พร้อมกล่าวถึงจุดประสงค์และกิจกรรมที่จะให้ทำในวันนี้ ในขณะพูดคุยมีการเอื้อมมือไปแตะที่มือของผู้รับบริการเบาๆเพื่อให้กำลังใจก่อนเริ่มกิจกรรม

Stage 2: Activities Emphasizing Bodily Response

  • กิจกรรมผ่อนคลายหายใจยืดเหยียดฟื้นฟูปอด

ทำไมถึงเลือก : เป็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการเนื่องจากการสัมภาษณ์ครั้งแรก ผู้รับบริการบอกว่าตนเองอยู่ในช่วงเลิกบุหรี่หลังจากติดมานาน รู้สึกว่าตนหายใจไม่ค่อยสะดวก เหนื่อยง่าย และมีปัญหาในการนอนหลับเพราะวิตกกังวล อยากได้วิธีช่วย ผู้บำบัดจึงเตรียมกิจกรรมนี้มาให้

ประโยชน์ของกิจกรรม

  1. ช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด ประสิทธิภาพการหายใจดีขึ้น
  2. การเคลื่อนไหวทรวงอกดีขึ้น อาการเหนื่อยลดลง
  3. ป้องกันภาวะปอดแฟบ
  4. ช่วยฝึกสมาธิ
  5. ช่วยให้อยู่กับตนเอง สนใจกับกิจกรรม ณ ปัจจุบัน (matter of fact )
  6. ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล
  7. นอนหลับได้ง่ายขึ้น

ให้ทำหลังจากทำกิจกรรมพับถุงกระดาษเสร็จ โดยแจ้งผู้รับบริการว่าจะให้ทำกิจกรรมผ่อนคลายโดยการฝึกหายใจบอกประโยชน์ของกิจกรรม โดยมีกระบวนการดังนี้

*ผู้บำบัดสาธิตและทำไปพร้อมๆกับผู้รับบริการ

  1. ฝึกหายใจใช้กล้ามเนื้อกะบังลม—ให้ผู้รับบริการนั่งหลังตรง ผ่อนคลายสบายๆ วางมือบริเวณหน้าท้อง หายใจเข้า "ท้องป่อง" หายใจออก "ท้องแฟบ" ทำซ้ำ 5 ครั้ง
  2. ฝึกหายใจเน้นการขยายตัวของปอดส่วนล่าง—วางมือบริเวณชายโครงทั้ง 2 ข้าง (คล้ายท่าเท้าสะเอว) หายใจเข้าให้ชายโครงขยายดันมือออกไปทางด้านข้าง แล้วหายใจออกช้าๆ ให้ชายโครงยุบกลับไป ทำซ้ำ 5 ครั้ง  [ในขั้นตอนนี้มีการถามผู้รับบริการว่า "รู้สึกบริเวณมือไหมคะ" ผู้รับบริการบอก "รู้สึกค่ะ"]
  3. ฝึกหายใจร่วมกับยืดเหยียดเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวทรวงอก—ท่าที่1 : ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะหายใจเข้าช้าๆ ยกแขนลงหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง , ท่าที่2 : กางแขนออกไปด้านข้างหายใจเข้าช้าๆ เอาแขนลงหายใจออกช้าๆ ทำซ้ำ 5 ครั้ง ,ท่าที่3 : มือเท้าสะเอวหมุนตัวไปด้านข้างซ้าย-ขวา ทำซ้ำ 5 ครั้ง
  • ถามความรู้สึกหลังทำกิจกรรม : ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจ รู้สึกว่าตนใจเย็นลง ไม่เครียด รู้สึกหายเมื่อยลง อาการตึงบริเวณหัวไหล่ลดลง
  • คำแนะนำจากผู้บำบัด : ให้ผู้รับบริการนำกลับไปทำก่อนนอน เพื่อให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ลดความวิตกกังวล

Stage 3: Activities Proportioning Perceptual integration 

ก่อนเริ่มทำกิจกรรมต่อไป ผู้บำบัดนำอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในกิจกรรมทำดอกไม้ประดิษฐ์จากถุงมาวางเรียงบนโต๊ะ โดยเก็บอุปกรณ์ที่อันตรายไว้ (กรรไกรและลวด) ให้ผู้รับบริการวางสิ่งของไปตามทิศทางที่บอกเช่น วางใบไม้ด้านซ้ายของลวด หยิบถุงสีแดงจากกองมาวางไว้บนถุงกระดาษ ประเมินทั้งหมด 5 ครั้ง พบว่าผู้รับบริการทำได้ถูกต้อง 4/5 

Stage 4: Cognitive Stimulation and Functioning

  • กิจกรรมทำดอกไม้ประดิษฐ์จากถุงพลาสติก

เหตุผลที่เลือก : ต้องการให้ผู้รับบริการมีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรม ณ ปัจจุบัน (matter of fact) และเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้รับบริการเกิด PERMA พัฒนาทักษะด้าน cognition เช่น attention และ short-term memory การทำงานตามขั้นตอน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

อุปกรณ์ : ถุงพลาสติกสีต่างๆ 2-3 สี,ลวด,เทปพันลวด,ใบไม้ปลอม,ปากกา,ไม้บรรทัด

ขั้นตอนการทำกิจกรรม : 

  1. ร่างถุงพลาสติกด้วยปากกาขนาด 5x5 นิ้ว จำนวนทั้งหมด 4 ช่อง 
  2. ตัดถุงพลาสติกตามรอยที่ร่างเอาไว้
  3. นำถุงพลาสติกทั้ง 4ชิ้น มาเรียงต่อกันแล้วพับทบกันสลับไปมา
  4. จับปลายลวดมาพันบริเวณกึ่งกลางของถุงให้แน่น
  5. ตัดปลายซ้ายและขวาของถุงให้โค้งเป็นกลีบดอกไม้
  6. ค่อยๆคลี่ถุงแยกออกจากกันเป็นทรงดอกไม้
  7. พันทับด้วยเทปกาว
  8. เขียนชื่อคนที่จะนำดอกไม้ไปให้เป็นของขวัญแปะตรงก้าน

ดอกที่1 : สาธิตให้ดูทีละขั้นตอน ต้องช่วยในขั้นตอนพับถุงพลาสติกทบสลับไปมาและในการพันเทปกับลวด ผู้รับบริการสับสนต้องจับมือเริ่มต้นทำจึงจะสามารถทำต่อเองได้

ดอกที่2 : ให้ผู้รับบริการทำเองโดยไม่มีการสาธิต ผู้รับบริการยังสับสนและไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการพับถุงและพันลวดกับถุงได้ ต้องให้การช่วยเหลือและให้คำแนะนำ

ความรู้สึกที่ได้ทำกิจกรรม : เกิด positive emotion สีหน้ายิ้มแย้มเนื่องจากได้ผลงานออกมา(accomplish) สวยงามกว่าที่คาดไว้ ให้ความร่วมมือและสามารถคงความสนใจได้ตลอดจนจบกิจกรรม(engagement) มีการพูดคุยกับผู้บำบัดตลอดการทำกิจกรรม (relationship) และเมื่อทำเสร็จผู้รับบริการเดินนำดอกไม้ทั้ง 2 ดอกไปให้ผู้ดูแลที่ศูนย์ทั้ง2 คนด้วยตนเองตามที่ตั้งใจไว้ (meaning)

Stage 5: Closing the session

ผู้บำบัดกล่าวปิดกลุ่ม จากการประเมิน พบว่าผู้รับบริการมี ACL 4.8 และมีอารมณ์ mood swings ในขณะทำกิจกรรมแล้วมีการพูดคุยไปด้วย อยู่ดีๆผู้รับบริการก็ร้องไห้ออกมา ผู้บำบัดจึงค่อยๆแตะมือเบาๆและพูดคุยเรื่องอื่นให้ผ่อนคลาย ใช้การรับฟังด้วยความเข้าใจ ผู้รับบริการจึงกลับมาอารมณ์ปกติภายใน 3 นาที


ความรู้สึกของผู้เขียน : ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้คิดกิจกรรมบำบัดให้แก่ผู้รับบริการและเมื่อผู้รับบริการได้ทำแล้วเกิดความสุข เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับตนเอง เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาทำให้ผู้รับบริการ ณ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งไม่มีโอกาสในการทำกิจกรรมแบบนี้ ตนรู้สึกว่าใช้ชีวิตไปวันๆ เมื่อผู้รับบริการดีใจและอยากจะทำกิจกรรมอีกครั้ง ณ ตอนนั้นดิฉันก็รู้สึกว่ากิจกรรมบำบัดได้สร้างความรู้สึกที่มีค่าให้แก่ดิฉันด้วยเช่นเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 709356เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2022 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท