Diversional Theraphy สำหรับผู้รับบริการทางจิตเวช (6323012)


ผู้รับบริการเพศหญิง อายุ 37 ปี มีอาการทางจิตเวชจากการติดสารเสพติด มาประมาณ 20 ปี ปัจจุบันได้ทำการบำบัดและเลิกยาเสพติดได้ โดยทานยาจิตเวชและยานอนหลับทุกวัน ผู้รับบริการอยากกลับบ้านแต่ครอบครัวกีดกันไม่อยากติดต่อ จากการสัมภาษณ์ ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง งานอดิเรกคือการร้องคาราโอเกะ เนื่องจากชอบฟังเพลงสตริงมาก ฟังจากเสียงตามสายหรือวิทยุที่มีคนเปิดในหอ หรือดูประกวดร้องเพลงในทีวี เพราะทำให้รู้สึกดี ผ่อนคลายมากขึ้น อาชีพที่อยากทำหากได้ออกไปใช้ชีวิตด้วยตนเองคือการขายเสื้อผ้ามือ 2 ตามตลาดนัด เนื่องจากชอบเสื้อผ้า ได้วางแผนไว้ว่าจะยืมเงินทุนจากญาติประมาณ 10000 บาท ไปซื้อผ้ามาจากตลาดนัดปัฐวิกรณ์มา จัดพื้นที่สำหรับขายของ และโฆษณาตามอินเทอร์เน็ตหรือช่องทางโซเชียลต่าง ๆ 

โดยสิ่งที่สังเกตได้ระหว่างการสัมภาษณ์ คือผู้รับบริการเหม่อลอย ไม่สบตา ตอบคำถามช้า เบลอ มีอาการง่วง เหนื่อยง่าย มีความเครียด และผลจากการทำแบบประเมินมาตรฐาน MOCA พบว่าผู้รับบริการมีคะแนน Cognitive น้อยกว่าเกณฑ์ (ได้ 20/30 คะแนน) อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะ MCI โดยได้ 0 คะแนนในข้อทดสอบ Cognition ด้าน Memory+Delay recall และ Visuospatial/Executive จึงแปลผลได้ว่าพบปัญหาด้านความจำ การลอกภาพจากการมองเห็น รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการมองเห็นกับมิติสัมพันธ์ และจากการทำแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า (2Q 9Q 8Q) พบว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าระดับปานกลาง และมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายระดับน้อย หลังจากนั้นได้มีการให้ทำกิจกรรม Paper collage ผู้รับบริการเข้าใจวิธีการทำได้รวดเร็ว สมาธิดี รูปหลากหลาย ใช้เวลาน้อย งานเป็นระเบียบ หลังทำเสร็จมีการเก็บของ ทิ้งขยะเป็นที่ และสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน บอกเหตุผลที่เลือกแต่ละภาพได้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ (ใช้การฉีกนิตยสารแทนเมื่อไม่มีกรรไกร) แต่ลงมือทำทันทีไม่ได้มีการวางแผนจัดตำแหน่งรูปก่อน ซึ่งอาจอยู่ใน ACL ระดับ 5 

 

จากการพิจารณากิจกรรมที่ชอบ (ร้องเพลง ฟังเพลง) และกิจกรรมที่ไม่ชอบ (กิจกรรมออกกำลังกาย,ทำอาหาร) จึงได้ทำการเลือก Diversional activity ดังนี้

 

กิจกรรม Warm up: เกมต่อเพลง (นันทนาการ)

เวลาที่ใช้: 10-15 นาที

วิธีการเล่น: ร้องเพลงเริ่มต้น หากจบท่อนที่ร้องแล้วเนื้อเพลงลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือคำใด คนที่ร้องเพลงคนต่อไปต้องร้องเพลงท่อนที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเดิมภายในเวลาที่กำหนด

สาเหตุที่เลือก: การร้องเพลงเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบ ถ้าได้ทำแล้วจะผ่อนคลาย จึงได้มีการจัดเป็นกิจกรรมเกม นอกจากจะได้ความเพลิดเพลิน เพิ่มความตื่นตัวแล้ว ยังแทรกทักษะ Cognitive ด้าน Attention ในการฟังคำสุดท้ายจากท่อนเพลงที่เพื่อนร้อง และ Long term memory, Recall memory ในการนึกเพลงไว้เช่นกัน 

 

กิจกรรมหลัก: ทำกรอบรูปจากกระดาษลัง (งาน Craft)

เวลาที่ใช้: 40 นาที

อุปกรณ์: กระดาษลัง, กระดาษสีหรือกระดาษห่อของขวัญที่ชอบ, กาว, กรรไกร, คัทเตอร์, ดินสอ, ไม้บรรทัด,สติ๊กเกอร์

วิธีการทำ: 

  1. ตัดกระดาษลังให้มีขนาด 5.5*7.5 นิ้ว จำนวน 2 แผ่น
  2. นำกระดาษลัง 1 แผ่นจากที่ตัดไว้ มาเจาะช่องสี่เหลี่ยม โดยวัดจากขอบนอกเข้าไป 2 นิ้ว

(ส่วนหลัง), (ส่วนหน้า)

 

  1. นำกระดาษสีมาวัดขนาดให้ใหญ่กว่ากรอบรูปส่วนหลังประมาณด้านละ 1 นิ้วทากาวแปะกระดาษลังลงบนกระดาษสี 
  2. พับส่วนที่เกินออกมาตลบไปด้านหลังของกระดาษลัง (อาจตัดมุมกระดาษสีทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้พับได้) และติดกาว

(ห่อกระดาษสีเข้ากับกระดาษส่วนหลัง)

  1. ห่อกระดาษกรอบรูปส่วนหน้า โดยกะให้กระดาษสีใหญ่กว่ากระดาษลัง ระยะให้สามารถพับขอบนอกทบเข้ามาได้ จากนั้นตัดมุมทั้ง 4

(กะระยะให้พับขอบนอกทบเข้ามา)

  1. กะระยะสำหรับช่องสี่เหลี่ยมของกระดาษลังส่วนหน้าให้สามารถพับขอบทบเข้ามาด้านในได้ กรีดตามเส้นทแยงมุมทั้ง 4 ด้าน

(กะระยะกระดาษสีสำหรับพับทบกรอบ กรีดกระดาษตามเส้นทแยงมุมทั้ง 4 ด้าน)

  1. ทากาวแปะกระดาษสีเข้ากับกระดาษส่วนหน้า
  2. ทำการแปะสติ้กเกอร์ตกแต่งกรอบรูปให้สวยงาม 

  1. ทำขาตั้งกรอบรูป โดยตัดกระดาษลังขนาด 3*5 นิ้ว วัดขนาดจากด้านกว้างเข้ามา 1 นิ้วและใช้คัทเตอร์กรีด
  2. ทากาวบริเวณเหนือรอยคัทเตอร์กรีด และนำมาแปะกับด้านหลังของกรอบรูป เป็นอันเรียบร้อย

 

โดยทั้งหมดนี้ ในเริ่มแรกผู้บำบัดจะเตรียมอุปกรณ์และตัวอย่างงานที่สำเร็จให้ มีการอธิบายขั้นตอนคร่าว ๆ แต่ไม่ลงรายละเอียดเรื่องเทคนิคการพับทบ การวัดขนาดต่าง ๆ เมื่อผู้รับบริการมีข้อสงสัยแล้วถามผู้บำบัด จึงค่อยให้การช่วยเหลือ (verble prompt)

 

สาเหตุที่เลือกกิจกรรมนี้: เพื่อฝึกทักษะการทำตามขั้นตอน การคงความสนใจ ความจำในการจำขั้นตอน และ Executive function ด้านการวางแผน การตัดสินใจ อย่างในขั้นตอนการเลือกกระดาษสีหรือกระดาษห่อของขวัญที่ชอบ, การตกแต่งกรอบรูปด้วยสติ๊กเกอร์, วิธีการห่อกระดาษสีเข้ากับกระดาษลังกรอบรูปส่วนหน้าและส่วนหลัง (การตัดมุมกระดาษเพื่อพับทบ การเว้นพื้นที่กระดาษสีสำหรับพับทบ, การเลือกวิธีวัดระหว่างใช้ไม้บรรทัดกับดินสอ หรือนำกระดาษลังมาวางทาบเลย) รวมถึงทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหากเกิดข้อผิดพลาดระหว่างทำกิจกรรม นอกจากนี้แล้ว การทำกิจกรรมประดิษฐ์และตกแต่งกรอบรูป จะได้ความเพลิดเพลิน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และขณะจดจ่ออยู่กับการทำกิจกรรม อาจช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของผู้รับบริการต่อความทุกข์ ความเครียด ความคิดลบที่มีอยู่ได้ไปชั่วขณะหนึ่ง

 

 

6323012 พิชญาอร มังกรกาญจน์ ชั้นปี 3 เลขที่ 11

 

 

คำสำคัญ (Tags): #Diversional Therapy#ot#จิตเวช
หมายเลขบันทึก: 709355เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2022 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2022 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท