Diversional Therapy


Diversional Therapy

+ Case ผู้ไร้ที่พึ่งชาย อายุ 50 ปี ไม่มีอาการทางจิตเวช

ADL - Functional mobility สามารถทำได้แต่มีความลำบากเล็กน้อยเนื่องจากเป็นตาปลาที่เท้าทั้งสองข้าง เจ็บปวดมาก 

Work - ทำงานเกี่ยวกับการดูแลหอ ซึ่งงานหอ รายได้ต่ำ (5 บาทต่อวัน/1,800บาท ต่อปี) ทำให้ไม่สามารถสะสมเงินทุนได้ 

ร่างกาย 

 - ให้ทำแบบทดสอบสายตา ไม่ผ่าน 3 แบบทดสอบ(อาจมีปัญหาความเข้าใจ การรู้คิด) จึงหยุดทำก่อนครบแบบทดสอบทั้งหมด เปลี่ยนเป็นการลากเส้นโดยไม่โดนเส้นข้างๆ ผลคือ สามารถลากเส้นทางตรงได้โดยไม่ชนขอบ เมื่อลากในเส้นทางโค้งผู้รับบริการลากโดนขอบ แต่ยังไม่ออกจากเส้นทาง แต่เมื่อเส้นหยักแบบฟันปลา ผู้รับบริการเริ่มลากออกจากเส้นทาง 

 - เท้า มีตาปลาที่ข้างซ้าย 2 จุด และข้างขวา 1 จุด พูดออกมาเองว่า ตาปลาทรมานมาก รองเท้าสึก บาง และใหญ่เกินไป 

จิตใจ 

- มักอารมณ์เสีย โกรธเมื่อไม่ได้ดั่งใจ ไม่ทันใจ สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก พ่อหอสั่งคนอื่นๆทำงานแต่ทำไม่ทันใจ ไปทำเองเลยดีกว่า 

- ไม่อยากอยู่ที่ศุนย์ เหมือนอยู่ในกรง ไปไหนมาไหนไม่ได้ ไม่อยากอยู่ในกรอบสี่เหลื่อม เหมือนถูกบังคับกาารใช้ชีวิต

ความรู้คิด

- ช่วงความสนใจในการจดจ่อกับกิจกรรมอยู่ที่ประมาณ 15 - 20 นาที

 - Mini Cog 2 คะแนน - ขณะวาดหน้าปัดนาฬิกา บอกว่าจำไม่ได้ สีหน้าสับสน ถามเวลา 2-3ครั้ง เขียนเลข 11ทางซ้ายของเลขสิบ 10 วาดเข็มยาวชี้เลข 10 เข็มสั้นชี้เลข 11 มีการวาดหัวเข็มสั้นซ้ำอีกครั้ง 

- ให้ “กล้วย พระอาทิตย์ขึ้น เก้าอี้” คุณน้าจำคำได้ 2 คำ ไม่ครบและสลับกัน “เก้าอี้ พระอาทิตย์ กล้วย ” 

ความต้องการ - ออกจากศูนย์ ออกไปขายลูกชิ้นทอดเพราะเคยทำมาก่อน 

 State management 

- ตึงบริเวณใบหน้า บริเวณแก้มทั้งสองข้าง ใช้คำว่า ไม่ค่อยตึงมาก นศ.บอกว่าระดับประมาณ 3 รึเปล่าคะ คุณลุงบอกว่าประมาณนั้น 

- บริเวณอกไม่ตึง แต่มีตึงในช่วงเช้ามืด ประมาณ 6 

- บริเวณท้องลงไปไม่มีความตึง 

Assessing cue 

- ต้องมีการถามนำจึงสามารถตอบได้และใช้เวลาสักครู่ในการนึกคำตอบ

- ซ้ายล่าง รู้สึกเฉยๆ เฉยแบบไหนครับ ดี…ดีแบบไหน ไม่รู้ 

- ซ้ายบน ว่างเปล่า ดำมืด 

- ขวาล่าง ไม่รู้ ถามต่อว่าดีหรือไม่ดี ตอบว่า ดี ในด้านการงาน 

- ขวาบน ภาพในอนาคตพน.ทำอะไร ดูภาพตอนทำงาน ซักผ้า ล้างถาด ทำความสะอาดหอต่างๆ 

ประเมินความพร้อมในการออกไปข้างนอก 

- สามารถบอกกระบวนการทำอาชีพได้ค่อนข้างครบถ้วน เช่นการจัดหาวัตถุดิบ อุปกรณ์สำหรับขายลูกชิ้นทอด สถานที่ขาย ช่วงเวลาเตรียมตัวและช่วงเวลาขายเป็นต้น แต่จะไม่สามารถบอกที่อยู่อาศัยและอธิบายการจัดการด้านการเงินอย่างละเอียดไม่ได้

สรุปปัญหา ดังนี้

  1. ผู้รับบริการมีปัญหาการเคลื่อนไหวไปที่ต่างๆ เนื่องจากเป็นโรคตาปลาที่เท้าทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากรองเท้าสึกเก่าและใหญ่เกินไป
  2. มีปัญหาการคิดประมวลผลช้า ตัดสินใจช้า เมื่อผู้อื่นพูดอะไรส่วนใหญ่จะเอออ่อตามไปเลย ช่วงความสนใจสั้น มักเหม่อลอยได้ง่าย ต้องกระตุ้นด้วยพูดคุยเรื่อยๆ
  3. อาจมีปัญหาทางสังคม เช่น การพูดคุยกับบุคคลอื่น เนื่องจากผู้รับบริการไม่สามารถเริ่มต้นบทสนทานาได้ด้วยตนเอง  ไม่สามารถบอกเพื่อนให้ช่วยกันทำความสะอาดได้ มักไปทำเองเลย
  4. อยากออกไปทำธุรกิจขายลูกชิ้นทอด แต่ยังไม่มีเงินทุน ที่อยู่อาศัย และจัดการด้านการเงินอย่างละเอียดไม่ได้

+ Diversional activity : กิจกรรมกลุ่มทำลูกชิ้นทอด

สั่งชาลูกชิ้นทอด (ในเมือง)ใกล้บ้านคุณในKamphaeng Phet | foodpanda

+ เหตุผลที่เลือก “กิจกรรมกลุ่มทำลูกชิ้นทอด”

- เนื่องจากผู้รับบริการอยากออกไปเปิดร้านขายลูกชิ้นทอดเป็นของตนเอง การทำกิจกรรมนี้จะช่วยผู้บำบัดในการประเมินความสามารถและช่วยทำการบำบัดผู้รับบริการได้อีกด้วย ทำให้ผู้รับบริการรับรู้และเข้าใจความสามารถของตนเอง และนำกิจกรรมที่ได้ทำในครั้งนี้ไปปรับปรุงต่อยอดได้ในอนาคต อีกทั้งการทำกิจกรรมแบบกลุ่มยังช่วยเพิ่มทักษะทางสังคมได้อีกด้วย

+ กระบวนการใช้ Diversional activity

  1. เริ่มต้นกิจกรรมด้วยกิจกรรม warm up ความคิด ให้ผู้รับบริการแต่ละท่านเลือกวััถุดิบและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในกิจกรรมทำลูกชิ้นทอด จากกลุ่มวัถุดิบและอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยค่อยเลือกทีละคน คนละอย่าง
  2. แนะนำวัถุดิบและอุปกรณ์ทั้งหมดโดยให้ถามชื่อจากผู้รับบริการแต่ละท่าน
  3. อธิบายขั้นตอนการทำโดยสอบถามจากผู้รับบริการ
  4. แบ่งหน้าที่ในการทำ โดยจะมีขั้นตอนการเตรียมวัถุดิบ(แกะลูกชิ้นออกจากถุง เสียบไม้และหั่นผัก โดยต้องมีการคำนวณจำนวนวัถุดิบเพราะในช่วงสุดท้ายจะนำไปให้ผู้รับบริการท่านอื่นๆชิม), ทอดลูกชิ้น(ใส่่น้ำมัน ทอด นำขึ้นพัก ใส่ถุง), ทำน้ำจิ้ม โดยแบ่งตามความสมัครใจ โดยผู้รับบริการทุกท่านต้องมีหน้าที่
  5. เริ่มทำตามขั้นตอน หากเกิดปัญหา ผู้บำบัดคอยสังเกตการณ์รอดูวิธีแก้ปัญหาของผู้รับบริการ ให้คำแนะนำ หรือเข้าช่วยเหลือเมื่อผู้รับบริการร้องขอหรือผู้รับบริการไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริงๆ (ผู้บำบัดควรระวังความปลอดภัยอยู่เสมอ)
  6. เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จ นำลูกชิ้นทอดไปแบ่งปันผู้รับบริการท่านอื่นๆ
  7. ปิดกิจกรรมด้วยการสอบถามความรู้สึกของผู้รับบริการ ความยากง่ายของกิจกรรม มีปัญหาอะไรบ้าง ผู้บำบัดอาจช่วยพูดปัญหาให้ฟัง และถามว่าแก้ปัญหากันอย่างไร คิดว่าตอนนี้ตนเองมีความพร้อมในการทำอาชีพนี้แล้วหรือยัง และในอนาคตคิดว่าจะทำได้หรือไม่อย่างไร พร้อมพูดสรุปกิจกรรม พร้อมอธิบายศักยภาพคร่าวๆของผู้รับบริการแต่ละท่านในตอนทำกิจกรรม เพื่อให้ทราบถึงความสามารถของตนเอง อาจมีการสอบถามข้อเสนอแนะที่ควรปรับในกิจกรรมนี้ และกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจเพื่อเตรียมมาให้ในครั้งหน้าที่พบกัน กล่าวปิดกิจกรรม ขอบคุณผู้รับบริการ พร้อมส่งผู้รับบริการกลับอย่างอบอุ่น
  8. อาจมีการปรับระดับความยากของกิจกรรม เช่น ปรับให้ยากขึ้นโดยมีการให้คิดคำนวณเงินหากมีเงินทุนเท่านี้ ซื้อลูกชิ้นเท่าไรดี ขายให้ได้กำไรเท่าไรดี เป็นต้น

 

เรียบเรียงโดย 

นางสาวคณิตา ฉัตรธนพงศ์ 6323015 เลขที่ 14

นักศึกษากิจกรรมบำบัด

 

 


 

คำสำคัญ (Tags): #Diversional Therapy#occupational therapy#ot
หมายเลขบันทึก: 709354เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2022 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2022 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท