Diversional therapy


Case

ชื่อ: กุลทินี เพศ: หญิง อายุ: 44 ปี เป็นจิตเวช (เดิมมีอาการหวาดระแวง เร่ร่อน พกของมีคม) สีหน้าเรียบเฉย ไม่สามารถชวนคนอื่นคุยหรือเริ่มสนทนาก่อน สามารถทำตามคำสั่งได้ เข้าใจคำถาม คงความสนใจได้ดี ตอบสนองช้านึกคำพูดช้า มีปัญหาสายตามองของเล็กๆไม่เห็น 

การประเมิน:

-ประเมิน 2Q ตอบว่าไม่มีทั้ง 2 ข้อ ไม่มีภาวะซึมเศร้า

-ประเมิน BI ได้คะแนน 100 จาก 100 สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

-ประเมิน mini cog ได้คะแนน 5 จาก 5 

จากการสัมภาษณ์ 

       ในช่วงแรกบอกว่าไม่มีกิจกรรมที่อยากทำให้ทำไรก็ได้ หลังจากนั้นสอบถามความชอบใหม่อีกครั้ง ตอบว่า ชอบเกมที่ใช้สมอง เช่น จับคู่ภาพ ชอบทำอาหาร และ ชอบทำงานศิลปะแต่ไม่ถนัดเรื่องวาดรูประบายสี 

       ขณะสัมภาษณ์ผู้รับบริการตอบคำตอบไม่ตรงกันกับคำถามรอบแรก (คำถามเดียวกันในวันเดียวกัน) จึงเลือกกิจกรรมที่สามารถทดสอบความจำ การจดจำขั้นตอน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การขอความช่วยเหลือ การวางแผน การตัดสินใจ โดยเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการชื่นชอบและมีขั้นตอนไม่มากและสามารถนำไปใช้ได้จริง

Diversional activity

     ผู้บำบัดแนะนำตัวเอง พูดคุยสอบถามข้อมูล ถามความรู้สึกเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี และเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำกิจกรรม อธิบายวัตถุประสงค์ วิธีการทำ ตรวจสอบความเข้าใจก่อนทำ เช่น ถามผู้รับบริการว่าวันนี้เราจะทำอะไรคะ 

      ก่อนเริ่มทำกิจกรรมหลักให้ผู้รับบริการยืดเหยียด เคลื่อนไหวร่างกายก่อน เช่น ใช้ชูมือขึ้น หันหน้าซ้าย ขวา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว กระตุ้นประสาทสัมผัสก่อนเริ่มทำกิจกรรม

         กิจกรรมการพับกระเป๋าสตางค์จากกระดาษ

วิธีทำจาก Origami Wallet - พับกระเป๋าตังค์น่ารัก ไม่ใช้กาว - YouTube

ขั้นตอน

  1. พับครึ่งกระดาษ กางกระดาษออกและพลิกกระดาษกลับข้าง
  2. พับอีกครึ่งหนึ่งของกระดาษ จะทำให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
  3. กางกระดาษออกมาด้านหนึ่งและพับครึ่งกระดาษ 
  4. พับกลับตามรอยเดิมและพลิกกระดาษกลับข้าง
  5. วัดมุมกระดาษ 2 เซนติเมตรทั้ง 4 มุม และพับกระดาษลงมา
  6. ขอบด้านข้างจะมีด้านยาวและสั้น ให้พับมุมของขอบด้านยาวเป็นสามเหลี่ยมทั้ง 2 ข้าง 
  7. พับครึ่งกระดาษและสอดด้านสั้นเข้ามา จากนั้นก็พับอีกครึ่งกระดาษ 

ขณะทำกิจกรรม ผู้รับบริการให้ความสนใจเป็นอย่างดี มีสมาธิ ตั้งใจฟัง สีหน้าเรียบเฉย นั่งแกว่งขา

   ผู้บำบัดสาธิตทำให้ดูก่อน 1 รอบ จากนั้นให้ผู้รับบริการเลือกกระดาษสีที่ตนเองชอบและให้ลองทำเองโดยไม่มีการช่วยเหลือ ผู้รับบริการสามารถจำขั้นตอนได้ทั้งหมด 2 ขั้นตอนจาก 7 ขั้นตอน เมื่อจำขั้นตอนต่อไปไม่ได้ผู้รับบริการหันมามองหน้าและพูดว่าจำไม่ได้แล้ว จากนั้นก็ทำไปพร้อมกันกับผู้บำบัด

    ผู้บำบัดจึงลองให้ทำด้วยตนเองอีกรอบ ผู้รับบริการสามารถจำขั้นตอนได้เพิ่มขึ้นทั้งหมด 3 ขั้นตอนจาก 7 ขั้นตอน สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เช่น  ขั้นตอนที่ 7 ที่ต้องสอดกระดาษเข้ามาในครั้งแรกผู้รับบริการทำกระดาษยับเพราะ พับกระดาษไม่เท่ากัน ตอนสอดไม่เรียบ ไม่เข้ามุม ทำให้กระเป๋าสตางค์ออกมาไม่สวย แต่ทำครั้งที่ 2 สามาถรับรู้ปัญหาและสามารถแก้ไขได้ โดยการพับให้ตรงขึ้น ค่อยๆทำ และผลลัพท์สามารถพับออกได้อย่างสวยงาม

 หลังจากทำกิจกรรมสอบถามความรู้สึกของผู้รับบริการ: ชอบ เพราะว่า ทำง่ายและเอาไปใช้ได้จริงๆ (ผู้รับบริการหยิบเงินในกระเป๋าตนเองมาลองใส่)

ให้เปรียบเทียบระหว่างครั้งแรกกับครั้งที่สอง: อันที่ 2 สวยกว่าเพราะรีดเส้นคม และก็พับตรงกว่าอันแรก

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ผู้บำบัดสอน การ Relaxation วิธีการหายใจแบบ 4 7 8 เพราะขณะทำกิจกรรมผู้รับบริการถอนหายใจหลายครั้งและนั่งแกว่งขาเอาขาถูกับพื้น โดยหายใจเข้า 4 วินาที กลั้นหายใจ 7 วินาที และ หายใจออก 8 วินาที ทำทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกทำไปพร้อมกับผู้บำบัด ครั้งที่สองผู้บำบัดนับให้ ครั้งที่สามให้ทำด้วยตนเอง เมื่อทำเสร็จแล้วผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น 

       จากนั้นปิดกิจกรรม พูดสรุปกิจกรรมโดยส่งเสริมด้านการเข้าสังคม การสื่อสารให้ผู้รับบริการ แนะนำผู้รับบริการให้นำไปสอนการพับกระเป๋าสตางค์จากกระดาษให้กับเพื่อนๆ ถ้าหากไม่รู้ว่าอยากชวนคุยอะไร เป็นต้น  เนื่องจากผู้รับบริการเล่าว่า มีเพื่อน 2 คนที่หอ และ ตนเองชอบอยู่คนเดียว เพราะว่าเวลาอยู่ที่นี่ไม่มีใครชวนคุยและตนเองก็ไม่กล้าเริ่มต้นสนทนากับคนอื่น 

 

6323013 ภวิดา รัตนพงษ์วิเศษ

 

 

หมายเลขบันทึก: 709346เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2022 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2022 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท