การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ตอนที่ ๖


โครงการของทีมวิจัยลำปาง
โครงการ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชนจังหวัดลำปาง”

สรุปโครงการ                                                 

หัวหน้าโครงการ          :  นางสาววิไลลักษณ์  อยู่สำราญ

หน่วยงานต้นสังกัด      :  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง 

หน่วยงานร่วมโครงการ :  ศูนย์บริการวิชาการ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ระยะเวลาดำเนินการ    :   1 ปี  (1 มิถุนายน 2548 ถึง วันที่ 30 พฤษภาคม 2549)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.  เพื่อสร้างและพัฒนาทีมจัดการความรู้    ซึ่งประกอบด้วย    ผู้อำนวยการเรียนรู้       และ    ผู้ปฏิบัติการจัดการความรู้ให้มีความสามารถในการสร้างให้เกิดการจัดการความรู้ทั้งในระดับเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชน  ระดับองค์กรออมทรัพย์ชุมชน  และระดับสมาชิก

2. เพื่อสนับสนุนการนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้    บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ทั้งในระดับเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชน  ระดับองค์กร   ออมทรัพย์ชุมชน  และระดับสมาชิก

3. เพื่อศึกษาแนวทาง  วิธีการ  และทักษะความรู้ที่จำเป็นของหน่วยงานสนับสนุนในการที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานและการเรียนรู้ทั้งในระดับเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชนและองค์กรออมทรัพย์ชุมชน  รวมทั้งแนวทางการทำงานร่วมกันของหน่วยงานสนับสนุนกับองค์กรการเงิน    ชุมชนทั้งในระดับเครือข่ายและระดับองค์กร

4. เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการจัดการความรู้และผลของการนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน  ทั้งในระดับเครือข่าย  ระดับองค์กร  และระดับสมาชิก  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ     อุปสรรค     ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาเครือข่าย    องค์กรออมทรัพย์ชุมชนจังหวัดลำปางให้มีความเข้มแข็ง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ (Outputs)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ทีมจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการเรียนรู้ และผู้ปฏิบัติการจัดการความรู้ ที่มีความสามารถในการสร้างให้เกิดการจัดการความรู้ทั้งในระดับเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชน ระดับองค์กรออมทรัพย์ชุมชน  และระดับสมาชิก

     1.1  สร้าง/พัฒนาความสมารถผู้อำนวยการเรียนรู้ในการสนับสนุนการจัดการความรู้เครือข่าย จำนวน  3  คน  ระดับกลุ่ม จำนวน 5 คน และระดับสมาชิก จำนวน  5 คน

     1.2   สร้าง/พัฒนาความสามารถของผู้ปฏิบัติการจัดการความรู้ระดับเครือข่ายจำนวน 100 คน ระดับกลุ่มจำนวน 60-75 คน ระดับสมาชิก จำนวน 30 คน

2. การจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้    ทั้งในระดับ   เครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชน  ระดับองค์กรออมทรัพย์ชุมชน  และระดับสมาชิก

     2.1  กระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถของผู้อำนวยการเรียนรู้และผู้ปฏิบัติการจัดการความรู้ ระดับเครือข่าย กลุ่ม และสมาชิก

     2.2   ความรู้และทักษะที่ทำให้เครือข่าย กลุ่ม และสมาชิก บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

     2.3   ความรู้และทักษะของผู้อำนวยการเรียนรู้ที่ช่วยให้เครือข่าย กลุ่ม และสมาชิกบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผู้ที่จะใช้ประโยชน์

1.  เครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชนจังหวัดลำปาง องค์กรออมทรัพย์ชุมชน และสมาชิก ได้นำเครื่องมือ  “การจัดการความรู้” มาใช้ปฏิบัติจริงในการพัฒนาองค์กรการเงิน และเกิดทักษะการจัดการความรู้ที่สามารถนำไปใช้กับเรื่องอื่น ๆ ได้

2.  องค์กรการเงินอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรการเงินชุมชนประเภทกองทุนสวัสดิการที่ต้องการ   ศึกษาบทเรียนและประสบการณ์การจัดการความรู้ของเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชนจังหวัดลำปาง

3. หน่วยงานสนับสนุนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับองค์กรการเงินชุมชน  ในการที่จะเอื้ออำนวยหนุนเสริมอย่างเหมาะสม  สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการขององค์กรการเงินชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

4.  สถาบันการศึกษา  ในการนำข้อมูลและความรู้มาใช้ในการเรียนการสอน  การวิจัย  และการบริการวิชาการสู่สังคม

5. รัฐบาล ในการนำข้อมูลที่ได้รับมาประกอบการตัดสินใจและกำหนดนโยบายอันจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินชุมชนต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 7080เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2005 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท