ข้อจำกัดของแหล่งอ้างอิงในการเขียนงานวิชาการ (Limitation of Reference in Academic Paper)


 ปัญหาเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาและอาจารย์ที่กำลังเขียนงานวิจัย หรือหนังสือมีจะมีความเห็นแย้งก็คือ ‘อายุของแหล่งอ้างอิงที่นำมาอ้างอิง’ ว่าแหล่งอ้างอิงที่นำมาใช้อ้างอิงนั้นควรจะข้อจำกัดว่ามีอายุมากน้อยแค่ไหนไหม ซึ่งในความเห็นของผมคือ 

         ‘ควรจำกัดอายุเฉพาะผลการวิจัยที่จะนำมาทบทวนและอ้างอิงอิงแนวโน้มของผลการวิจัยเพื่อประกอบในการทำงวิจัยเรื่องนั้น ๆ เท่านั้น แต่ไม่ควรมีข้อจำกัดในการเขียนงานวิชาการอื่น หรือแม้วแต่วรรณกรรมทั่วไปในการทำวิจัยนั้น’ 

ประเด็นที่ควรกำหนดอายุผลงานวิจัยที่นำมาทบทวนและอ้างอิงแนวโน้มของผลการวิจัยเพื่อประกอบในการทำวิจัยเรื่องนั้น ๆ ด้วยเหตุผลสำคัญ  2  ประการ คือ  (1) ผู้วิจัยจะได้ทราบถึงแนวโน้มในการทำวิจัยเรื่องนั้น ๆ มาในช่วงปัจจุบันเป็นอย่างไร จะได้รู้ว่างานวิจัยของเราซำ้ซ้อนกับงานวิจัยอื่นหรือไม่  และ (2) ผู้วิจัยจะนำใช้ผลการวิจัยที่ทบทวนมาเหล่านั้นในการอภิปรายผลการวิจัยของตนเองว่าสอดคล้องกับงานอื่นในลักษณะเดียวกัน (แต่ไม่เหมือนกัน) นั้นอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดไว้ว่าผลการวิจัยนั้นควรเป็นวิจัยใหม่ ไม่ควรเกิน  10 ปีครับ สำหรับงานวิชาการอื่น หรือแม้แต่การทวบทวนวรรณกรรมในการวิจัยนั้นที่ไม่ใช่ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วก็ไม่ควรมีการจำกัดอายุแหล่งอ้างอิงเหล่านั้น 

วรรณกรรมในการเขียนงานวิชาการอื่นที่ไม่ใช่การวิจัย 

            วัตถุประสงค์การเขียนงานวิชาการแบบอื่น หรือแม้แต่วรรณกรรมในการวิจัยที่ผม่ใช่ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องน้ันเป็นวรรณกรรมเพื่อเข้าใจและเสนอทฤษฎีของผู้เขียนในการเขียนงานวิชาการเหล่านั้นจากการศึกษาวรรณกรรม ดั้งนั้นแหล่งอ้างอิงจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเขียน และมุมมองของผู้เขียน ดังนี้

             งานเขียนที่เป็นงานวิชาการทั่วไป 

             งานเขียนเขียนที่เป็นงานวิชาการทั่วไป เช่น บทความวิชาการ ตำรา (หนังสือประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง) หรือ หนังสือ (หนังสือทั่วไป ไม่เจาะจงว่าจะใช้ประกอบการสอนวิชาใด) นั้นผมไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องจำกัดอายุของแหล่งอ้างอิง บางเรื่องถ้าเรามีและอ้างอิงต้นฉบับเรื่องนั้นได้น่าที่ดีที่สุด เช่น ถ้าจะเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนา และถ้าบังเอิญมีคลิปเสียงพระพุทธเจ้ามาอ้างอิง แม้ว่าพระองค์จะพูดไว้ 2,500  กว่าปีที่แล้ว ก็เป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีที่สุดครับ และแน่นอนครับแหล่งอ้างอิงที่ผมมีและภาคภูมิใจที่สุด 3 เล่มคือ The twelve principles of efficiency โดย  Harrington Emerson (1911) Papers on The Science of Administration  บรรณาธิการโดย Luther Glulic & L Urwick (1937) ซึ่งมีงานเขียนรุ่นลายครามหลายคน นอกจากงานของท่านดังกล่าวก็มีงานเขียนของ ​Fayol, Taylor, และคนอื่น ๆ ในยุคนั้น และ Educational Organization and Administration: Concepts, Practices, and Issues  โดย Edgear L. Morphet, Roe L. Johns, & Thedore L. Reller (1959) เวลาเขียนงานวิชาการ หรือบรรยายเกี่ยวกับการบริหารผมมักจะกล่าวถึงงานเขียน และแนวคิดของท่านเหล่านี้ เพราะเป็นเมล็ดพันธ์ความคิดทางการบริหารที่ทรงคุณค่า ควรแก่การกล่าวถึงและอ้างอิงครับ 

            งานเขียนในส่วนที่เป็นวรรณกรรมทั่วไม่ไม่ใช่งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

            วรรณกรรมที่ทบทวนและนำใช้ในการวิจัยแต่ละครั้งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นวรรกรรมทั่วไป และส่วนที่เป็นผลงานวิจ้ยที่เกี่ยวข้องครับ  สำหรับวรรณกรรมทั่วไปก็จะมีลักษณะเหมือนการเขียนบทความวิชาการ หรือหน้งสือ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกำกรอบแนวคิด หรือทฤษฎีประกอบงานวิจัยของตน จึงใรลักษณะของงานเขียนที่เป็นงานวิชาการทั่วไป จึงไม่ควรกำหนดอายุของแหล่งอ้างอิงดังกล่าว และงานวิจัยที่นำมาอ้างอิงในส่วนนี้ก็ไม่ต้องจัดกัดอายุของแหล่งอ้างอิงเช่นกัน กล่าวคือในการนำรายงานการวิจัยมาใช้ในการเขียนงานวิชาการนั้นนำมาได้ในสองแบบคือ แบบที่ใช้อ้างอิงเชิงเนื้อหาเหมือนแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ กับแบบที่นำใช้อ้างอิงในส่วนที่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในส่วนนี้ก็ควรกำหนดอายุดังกล่าวมาแล้ว เพราะเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยติดตามเคลื่อนไหวของเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะผลการวิจัยใหม่ ๆ ในเรื่องนี้ 

              อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นว่าควรได้นำมาพูดถึงถือ ‘การใช้และเขียนเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย' ซึ่งโดยทั่วไปจะแยกเขียนไว้บช่วงท้ายเรื่องของวรรณกรรมทั้งหมดที่นำมาเป็นฐานคิดและกรอบแนวคิดในการวืจัยคร้ังนั้น ๆ แต่ก็มีผู้วิจัยบางท่าน หรือแนวปฏิบัติของบางสถาบ้นอาจจะให้เขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ต่อท้ายการทบทวนวรรณกรรมเรื่องนั้น ๆ เช่น สมมติว่าผู้วิจัยทบทวนวรรณกรรมเรื่อง ‘คุณภาพและการประกันคุณภาพ’ ในช่วงท้านของวรรณกรรมเรื่องนี้ก็จะมีอีกหัวเรื่องหนึ่งว่า ‘งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง’ แล้วก็นำผลงานวิจัยเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาไว้ในตอนนี้ทั้งหมด เป็นต้น สjวนในเนื้อหาของวรรณกรรมที่ทบทวนเรื่องนี้นั้น หากมีงานวิจัยที่จะอ้างอิงถึง ซึ่งไม่ว่าจะอ้างอิงถึงที่เป็นสาระที่ได้จากงานวิจัยนั้น หรือผลการวิจัยนั้น แต่ถ้านามาใช้อ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวรรณกรรมที่ทบทวน ก็นำใช้และอ้างอิงเหมือนหนังสือหรือแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ผู้เขียนต้องแยกการอ้างอิงสองลักษณะนี้ออกจากกันครับ 

สมาน อัศวภูมิ

18 กันยายน   2565

หมายเลขบันทึก: 707409เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2022 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2022 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท