พินิจ ร่าง พ.ร.บ. มน.(ในกำกับของรัฐ)


          อันเนื่องมาจากบันทึกของดิฉันเอง เรื่อง  องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย และเรื่อง  สภาอาจารย์ : ชื่อนั้นสำคัญไฉน? เมื่อปีที่แล้ว ( ธันวาคม 2549) ดิฉันยังติดลมอยู่ไม่หาย  ยังอยากจะพินิจพิเคราะห์โดยละเอียด ด้วยการเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ  ที่อยู่ในภาวะการณ์บบเดียวกัน  

          โดยเรื่องที่ดิฉันยังติดใจอยู่มากๆ ก็คือ องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ ประธานสภาพนักงานฯ ของ มน.

          เมื่อเปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ. ของ อีก 4 มหาวิทยาลัย คือ ม. ธรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ม.จุฬา และ ม. เชียงใหม่  ที่กำลังจะออกนอกระบบเช่นกัน กับของ ม.นเรศวร  เฉพาะในเรื่อง องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย จะได้ดังนี้

มธ 

มศ. 

มจฬ. 

มช. 

มน.

 1.  นายกสภา 1.  นายกสภา 1.  นายกสภา  1.  นายกสภา  1.  นายกสภา
 2.  อุปนายก เป็นอธิการบดีโดยตำแหน่ง  2.  อุปนายก สภาฯ เลือกจาก กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน 2.  อุปนายก สภาฯ เลือกจาก กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน  2.  อุปนายก สภาฯ เลือกจาก กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน  2.  อุปนายก สภาฯ เลือกจาก กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน

 3.  กรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง :


-  นายกสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
ประธานสภาอาจารย์
ประธานสภาเจ้าหน้าที่

3. อธิการบดี เป็นกรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง

 3.  กรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง :

-  อธิการบดี 
ประธานสภาอาจารย์
-  นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ

  3.  กรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง :

-  อธิการบดี 
-  ประธานกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย
ประธานสภาบุคลากร
-  ประธานสภาวิชาการ
-  นายกสมาคมนักศึกษาเก่า มช.

 3.  กรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง :


-  อธิการบดี 
ประธานสภาพนักงาน
-  ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย

4.  กรรมการสภาฯ เลือกตั้งจาก

-  รองอธิการบดี  2  คน
-  คณบดี  5 คน
-  ผอ.สถาบัน / ผอ.สำนัก / ผอ.ศูนย์ / หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ม. 8)  2  คน    

4.  กรรมการสภาฯ เลือกตั้งจาก

-  กรรมการสภาบริหาร  1  คน
- กรรมการสภาวิชาการ  1  คน

 4.  กรรมการสภาฯ เลือกตั้งจาก

-  คณบดี / ผอ. / หัวหน้าส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น  3  คน

 - -
 5.  กรรมการสภาฯ เลือกจากคณาจารย์ประจำ ผู้ได้ทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งในข้อ 4  จำนวน 4 คน   5.  กรรมการสภาฯ เลือกจากผู้ปฏิบัติงานสายคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน   5.  กรรมการสภาฯ เลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า รศ.จำนวน 3 คน  -

 4. กรรมการสภาฯ เลือกจากตัวแทนคณาจารย์ประจำที่มีตำแหน่ง รศ. ขึ้นไป  3 คน

 6.  กรรมการสภาฯ เลือกจาก กรรมการสภาอาจารย์ 2 คน        
 7.   กรรมการสภาฯ เลือกจากเจ้าหน้าที่ ที่ได้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี  และไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งในข้อ 4  จำนวน 2 คน  6.  กรรมการสภาฯ เลือกจาก ผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่สายคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย 2 คน  6.  กรรมการสภาฯ เลือกจาก ผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่คณาจารย์ และดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าหน่วยงาน  1 คน    
 8.  กรรมการสภาฯ เลือกจาก กรรมการสภาเจ้าหน้าที่ 2 คน         
     7.  กรรมการสภาฯ ที่แต่งตั้งโดยรมต. โดยคำแนะนำของคณะกรรมการทบวง  2 คน     
 9.  กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 9 ไม่เกิน 14 คน  จากบุคคลภายนอก ตามคำแนะนำของ 1 2 3 4 5 6  7. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน  จากบุคคลภายนอก ตามคำแนะนำของ 3 4 5 6   8. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน  จากบุคคลภายนอก ตามคำแนะนำของ 3 4 5 6 7  4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คน  จากบุคคลภายนอก ตามคำแนะนำของ 3

 5. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คน  จากบุคคลภายนอก ตามคำแนะนำของ 1 3 4 ( 1 ใน 4 ต้องมาจากที่ สกอ. เสนอ)

 10. กรรมการสภาฯ ตามข้อ 5 6 7  8 มีได้หน่วยงานละไม่เกิน 1 คน        
 11. สภาฯ แต่งตั้งกรรมการสภาฯ คนหนึ่ง เป็นเลขานุการสภาฯ  8. สภาฯ แต่งตั้งกรรมการสภาฯ คนหนึ่ง เป็นเลขานุการสภาฯ  9.  สภาฯ แต่งตั้งกรรมการสภาฯ คนหนึ่ง เป็นเลขานุการสภาฯ  5. สภาฯ โดยคำแนะนำของอธิการบดี แต่งตั้งรองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นเลขานุการสภาฯ  6.  อธิการบดี เป็นเลขานุการสภาฯ
 รวม 33 - 38  คน  รวม 23  คน  รวม  28 คน  รวม  20 คน  รวม  21  คน
 จำนวนบุคคลากรภายใน  22  คน  จำนวนบุคคลากรภายใน 10  คน    จำนวนบุคคลากรภายใน 9 คน  จำนวนบุคคลากรภายใน 3 คน  จำนวนบุคคลากรภายใน 5 คน

ข้อสังเกต

  1. ม.ธรรมศาสตร์ กำหนดให้อธิการบดีเป็นอุปนายกสภาฯ  แต่ ม.อื่นๆ เลือกจากกรรมการสภาฯผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน
  2. ม.ศิลปากร ไม่มีองค์กรที่เป็นตัวแทนของบุคลากรทั้งที่เป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่  จึงไม่มีบุคลากรดังกล่าวเป็นกรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง
  3. ม. ธรรมศาสตร์ มีองค์กรที่เป็นตัวแทนบุคลากรที่เป็นอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ แยกกันชัดเจน  และผู้ที่เป็นประธานของทั้ง 2 องค์กร เป็นกรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง
  4. ม. จุฬา มีองค์กรที่เป็นตัวแทนของบุคลากรที่เป็นอาจารย์ เรียกว่า สภาอาจารย์ และผู้ที่เป็นประธานสภาอาจารย์ จะได้เป็นกรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง
  5. ม.เชียงใหม่ มีองค์กรที่เป็นตัวแทนของบุคลากรประจำทั้งหมดของมหาวิทยาลัย  เรียกว่า สภาบุคลากร และผู้ที่เป็นประธานสภาบุคลากร จะได้เป็นกรรมการสภาฯ โดยตำแหน่งด้วย
  6. ม.นเรศวร มีองค์กรที่เป็นตัวแทนของพนักงานมหาวิทยาลัย  (ไม่ชัดเจนว่า รวมทั้งที่เป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่  และรวมถึงข้าราชการและลูกจ้างประจำหรือไม่) ซึ่งผู้ที่เป็นประธานสภาพนักงาน จะได้เป็นกรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง
  7. ม.นเรศวร ยังไม่มีสมาคมศิษย์เก่าของ ม. จึงยังไม่มีตัวแทนของบุคลากรที่เป็นศิษย์เก่า เป็นกรรมการสภาฯ โดยตำแหน่ง (อาจเพราะยังเป็นมหาวิทยาลัยตั้งใหม่)
  8. ม.เชียงใหม่ และ ม.นเรศวร ไม่ได้กำหนดให้มี กรรมการสภาฯประเภทผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง  เหมือนของ ม. ธรรมศาสตร์  ศิลปากร และจุฬา ทำให้มีเพียง อธิการบดี ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของบุคลากรฝ่ายบริหาร (ทั้งด้านวิชาการ และ กิจการทั่วไปของสถาบัน) เป็นกรรมการสภาฯ  สำหรับที่ ม.จุฬาฯ จะมีกรรมการสภาบริหาร 1 คน และกรรมการสภาวิชาการ 1 คน เป็นตัวแทน
  9. ม.เชียงใหม่ ไม่มีกรรมการสภาประเภทผู้แทนอาจารย์ที่มาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่ ม.อื่นๆ มีทั้งหมด แต่การกำหนดคุณสมบัติจะแตกต่างกัน
    1. ม.ธรรมศาสตร์ กำหนดว่า เป็นอาจารย์ที่สอนใน ม. ไม่น้อยกว่า 5 ปี
    2. ม.ศิลปากร  เป็นอาจารย์ประจำเฉยๆ ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะ
    3. ม.จุฬา กำหนดว่าต้องมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่า รศ. 
    4. ม.นเรศวร เหมือนของจุฬา
  10. ม. ธรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร และจุฬา กำหนดชัดเจน ให้มีกรรมการสภาฯ ซึ่งเป็นบุคลากรที่ไม่ใช่อาจารย์เป็นกรรมการสภาฯ ด้วย
  11. ม.ธรรมศาสตร์ เป็น ม. ที่เปิดโอกาสให้บุคลากรที่ไม่ใช่อาจารย์เป็นกรรมการสภาฯ เป็นจำนวนมากที่สุด ( 5 คน)
    1. ประธานสภาเจ้าหน้าที่ : โดยตำแหน่ง = 1
    2. เลือกตั้งจากเจ้าหน้าที่ : 2
    3. เลือกตั้งจากกรรมการสภาเจ้าหน้าที่ : 2
  12. ม.นเรศวร กำหนดให้ อธิการบดี เป็นเลขานุการสภาฯ  ม.เชียงใหม่ กำหนดให้ เป็นรองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ส่วน ม. ที่เหลือ ให้เลือกจากกรรมการสภาฯ คนหนึ่ง
  13. จำนวนรวมของกรรมการสภาฯ มีความแตกต่างกันมาก โดย ม.ธรรมศาสตร์มีจำนวนมากที่สุด  = 33-38 คน  และน้อยที่สุด คือ ม. เชียงใหม่ = 20 คน
  14. สัดส่วนของจำนวนกรรมการสภาฯ จากภายในและภายนอกสถาบันของแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีความแตกต่างกัน  แต่ในภาพรวมก็เหมือนกันในแง่ที่ว่า การได้มา เป็นไปตามคำแนะนำของบุคลากรภายในสถาบันเสียส่วนใหญ่ ไม่ได้กำหนดชัดเจนอย่างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  (ดังที่ดิฉันเคยบันทึกไว้แล้ว ใน องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย)

 


          ขอท่านผู้รู้ โปรดแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะคะ
หมายเลขบันทึก: 70700เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากให้ความเห็น กรณีของ มทส

- Link ข้างบน ที่อยู่ในข้อความ "  (ดังที่ดิฉันเคยบันทึกไว้แล้ว ใน องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย)" นั้น dead ครับ

- สภามหาวิทยาลัยของ มทส  แทบไม่มีบทบาทใด ที่มีประโยชน์ในเชิงประชาธิปไตย หรือเพื่อ มทส  เพราะ...

- แต่ละคนที่นั่งอยู่ที่นี้ ส่วนใหญ่ถูกเลือก หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของอธิการบดี   ทำให้ ทุกคน ล้วนมีแนวความคิดตามอธิการฯ มทส   หรือ คล้อยตาม, หรือไม่กล้าค้าน หรือไม่มองต่างมุม หรือ (หลายคนไม่มีส่วนได้เสียกับ มทส จึง)ไม่สนใจ ความเป็นไป  ความก้าวหน้า ของ มทส   อาจารย์ท่านหนึ่ง กล้าพูดว่า ผู้ที่นั่งอยู่ในสภา ควรต้องมีส่วนได้เสียร่วมด้วย กับ มทส มิฉะนั้น ก็อาจเพิกเฉย ไม่ตรวจสอบ  ไม่สนใจ เหมือนดังที่เป็นอยู่ตลอดมา   ปัจจุบัน อาจารย์ท่านนี้ก็มิได้เป็น รองฯอธิการอีก และอธิการฯขณะนั้นกล่าวว่าจะตั้งกรรมการสอบสวน >>ทวิช<<<  นึ่เป็นเพียงประเด็นหนึ่งที่ถูกให้ออกจากตำแหน่งบริหาร

 - เมื่อทุกคนคล้อยตาม ความเห็นอธิการ  ทุกคนจึงเป็นพรรคพวกอธิการฯ มทส  เสียงสภาฯ ไม่แตก   อธิการเห็นอย่างไร  สภาฯ เห็นตามนั้น  การแต่งตั้ง สมาชิก สภาฯ ส่วนใหญ่ จึงเป็นแบบ พรรคพวก

 - ความเห็นของสภาจึงมักเป็นเสียงเดียวกับ อธิการฯ มทส เมื่อ อธิการฯ มองผิด หรือถูก  วิสัยทัศน์สั้น หรือไกล สภาฯ ก็เห็นตามนั้น 

 - การบริหารของ มทส ไม่ว่าระดับ สภามหาวิทยาลัย หรือ สภาคณาจารย์ หรือผู้บริหารระดับต้น คือ หัวหน้าสาขาวิชา (หัวหน้าภาควิชา) ล้วนแล้วแต่เป็นการแต่งตั้ง  ล้วนแล้วแต่เป็นพวกเดียวกับ อธิการฯ ผู้แต่งตั้งนั้นเกือบทั้งสิ้น  โดย อาจารย์ไม่มีสิทธิ์เลือก  ไม่มีการเลือกตั้ง   ความเห็นของผู้บริหารจึงเป็นตามที่อธิการฯ เห็น เพียงผู้เดียวก็ว่าได้  จะถูก จะผิด ก็ราวกับเป็นความเห็นเดียว   ยิ่งกว่านั้น  ทั้ง มทส  ไม่มีฝ่ายค้าน  ไม่ม่ฝ่ายตรวจสอบ  ไม่มีหน่วยตรวจสอบภายใน (จริงแล้ว "มี) ที่มีผลงาน

 รวมแล้ว การบริหาร เป็นแบบ "เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ" จะสั่งสร้างบ้านอธิการบดี ก็ไม่มีใครค้าน, จะนำเงินไปใช้กินเลี้ยง, สร้างความตระการตา หรืออื่นใดก็ไม่มีใครค้าน  จะนำเงินไปสร้างบัตรเชิญดูหรูหรา เพื่องานสถาปนา ก็ไม่มีใครค้าน  จะสั่งให้ อาจารย์คุมสอบเสาร์และอาทิตย์มากขึ้น (เพราะต้องจ่ายเงินให้กับพนักงานอื่นเป็นเบี้ยเลี้ยง ในขณะที่อาจารย์ไม่ได้เบี้ยเลี้ยงคุมสอบ จึงเพิ่มเวลาคุมสอบให้อีก)  (แต่ปัจจุบันลดเวลาสอน จึงไม่มีคุมสอบเสาร์อาทิตย์ในรอบ final แล้ว)  (ถ้ามีการตรวจสอบ เป็นไปได้ว่า ชั่วโมงสอนแต่ละวิชา น้อยกว่าเกณฑ์กำหนดขั้นต่ำ)  

อาจารย์ มทส ยอมให้เผด็จการครอง เพราะสนใจแต่รายได้ และเงินเดือน เกินไป  ส่วนใหญ่ใกล้เกษียณ ก็ยิ่งไม่อยากเดือดร้อน

 สรุปว่า สภาฯ ทั้งสอง ของมทส เป็นแบบเผด็จการ

สภาฯ แต่งตั้งกรรมการ เลือกสรรอธิการบดีคนใหม่ แบบเล่นพรรคพวก  รวมทั้งครั้งล่าสุด ที่มีเพียง 2 คนเท่านั้น ที่เป็นผู้เสนอชื่อ เข้าสู่สภาฯ  ซึ่งนับไปมาแล้ว  ทั้งหมด ผู้บริหาร พวกเดียวกันหมด  เป็นพวกอธิการบดีทั้งสิ้น   นี่แหละครับ การใช้ ระบบการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ ไม่มีใครมาตรวจสอบ  ไม่มีใครกล้าพูด  ไม่มีใครอยากเดือดร้อน   การรายงานรัฐบาล  ตัวแทนที่กำกับ มทส พูดอย่างไร รัฐบาลก็ฟังแค่นั้น!

 เรื่องร้ายที่สุด ที่ทำร้ายประเทศ คือ ไม่สามารถแก้ปัญหา นศ.ตกออก อย่างมาก ตลอดหลายสิบปีได้  และยังคงปล่อยให้เป็น เพราะต้องการเงิน จาก นศ.!!!    เรียนจบ 4 ปี มีเพียง 10-20% ในสาขาวิศว,   สาขาอื่นเกรดเฉลี่ยของทั้งชั้น ต่ำ คือใกล้ 2.0  แล้วจะไปแข่งกับ ม.อื่นอย่างไร    

          ขอบคุณ คุณ K มากค่ะ ที่กรุณาให้ข้อมูลอย่างละเอียด  ช่วยตอกย้ำให้พวกเราได้เห็นว่า บุคลากรประจำของมหาวิทยาลัย ทุกประเภท ผู้ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียจากการบริหารงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ต้อง

  • มีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่บริหารมหาวิทยาลัย
  • และจะต้องมีสิทธิ์มีเสียง ในการตรวจสอบการดำเนินงานของผู้บริหาร  ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท