อยู่ที่ฝีมือและ Service Mind -ความอยู่รอดของมนุษย์งาน และการบริหารจัดการภาคีเครือข่าย ในกระแส Disruption


ระหว่างเดินทาง นอกจากจะคิดถึงที่หมายแล้ว ผมมักใช้โอกาสสังเกตผู้คนเสมอๆ
หนึ่งปีผ่านไป จาก COVID พ่นพิษ ประกอบกับเรามีทางเลือกในการประชุมออนไลน์มาช่วย การเดินทางไกลๆก็ลดลงไป 


วานซืน มีประชุมสำคัญที่ กทม. เราก็ไม่ได้ขึ้นเครื่องซะนาน พอไปสนามบิน เอ้อ พนักงานหายไปกว่าครึ่ง ไปไหน ถามอะไรก็สแกนเอา


เจอแม่บ้านทำความสะอาด เธอทำงาน ทำงาน ทำงาน จริงๆ ไม่พูดไม่จากับใคร
เธอเป็นหุ่นยนต์ทำความสะอาดตัวใหญ่ มีล้อและระบบเซนเซอร์ ใช้กวาดฝุ่นและขยะชิ้นเล็กๆตามพื้น  อยู่ที่สนามบินดอนเมือง เสียดายไม่ได้ถ่ายภาพจริงๆมา เลยก้อปจากเว็บมาประกอบ


อันนี้ เราเห็นคลื่น Disruption ที่สะท้อนในระบบงาน ข้างๆก็มีแม่บ้านที่เป็นคน คอยเก็บขยะชิ้นใหญ่  
ผมนึกในใจ คนที่หาย เขาหายไปไหน ไปทำงานอะไรกันต่อ
แต่ใน Disruption ก็น่าจะมีโอกาสบางอย่างของมนุษย์งาน
ข้ามไปอีกฟาก ไปประชุมและพักที่โรงแรมใหญ่ ที่ผมเคยไปใช้บริการอยู่เนืองๆ
บางส่วนของโรงแรม ก็ปิดไปแล้ว เช่น โซนร้านอาหารที่เป็นเคาท์เตอร์เล็กๆ แต่โซนต้อนรับชั้นล่าง พนักงานยังดูขวักไขว่
สำคัญคือ มารอบนี้ ทักทายแขก ทั้งขณะเช็คอิน เดินผ่าน ก็ยกมือไหว้สวัสดี 
ตอนเช็คเอ๊าท์ เราจะเดินออก ก็ยังสังเกตอยู่ตามทางเข้า และอวยพรให้เดินทางโชคดี
อืมๆๆ Disruption น่าจะเป็นเงื่อนไขหลักอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ความ Active และหัวใจในการให้บริการ (Service Mind) ของโรงแรมนี้เปลี่ยนไปในทางที่น่าประทับใจขึ้น
ที่ใดมีการเปลี่ยนแปลง ที่นั่นย่อมมีการปรับตัว
...................................................................................................................
กลับมาย้อนนึกถึงในที่ประชุม วันนั้น ประเด็นสำคัญที่คุยกันคือ การระดมความเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหมู่ "นักสานพลัง" ถึงการออกแบบภาคี เครือข่าย การสร้างพื้นที่การเรียนรู้แบบไร้รอยต่อ  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม 


ผมได้ความรู้หลายอย่างจากจอมยุทธ์มากมายในที่ประชุม เช่น บางอย่างอาจจะต้องรีบ คือ ทำฟอร์ม ทำแผนไว้ก่อน เเต่ก็ต้องมีแผน 1 แผน 2 แผน 3 แผน 4 ไว้รองรับเผื่อพลาด และต้องมียุทธศิลป์


ผมสะท้อนไปว่า เราส่วนใหญ่ ยังมักจะคิด Design บนพื้นฐานของปัจจุบันบ้าง บางคนก็ใช้คำว่า "ต้นทุน" ทางสังคมเดิมบ้าง ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะผมก็ใช้นะ หากแต่เราต้องมีการกลั่นกรอง และทาบกับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นอันใกล้อย่างน้อยก็ในระยะ 5 ปี โลกจะเปลี่ยนไปขนาดไหน แล้ว 10 ปีละ เราจะคาดการณ์ว่าเจออะไรบ้าง เอาแบบไม่อวย ไม่หลอกตัวเอง 
และถ้าจะให้ดี ควรคิด Wrost Case Scenario คือ ฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ไว้เผื่อ


ที่ผ่านมา น้อยครั้งเหลือเกินที่เราจะกล้าพอจะคิดแบบนี้ 
ที่ประชุมหลายคนเห็นด้วย
แต่ก็นั่นแหละครับ ที่ประชุมเวลาจำกัดมาก ก็เลยได้คุยนอกรอบ ตอนกินข้าวกับแกนนำบางคนต่อยอดความคิดออกไป
ได้มุมมองทั้งลึกกว้าง ได้มองบริบทโดยรอบ ตั้งแต่จากบ้านมาสนามบิน จากสนามบินมาโรงเเรม จากโรงแรมเจาะลงไปที่ห้องประชุม แล้วกลับย้อนมามองตัวเอง


เราเตรียมตัวเอง กลุ่ม องค์กร ภาค เครือข่ายพร้อมกับอนาคตแล้วหรือยัง 
..............................................................
 

นอกจากจะคิดแบบนี้แล้ว ยังต้องจัดการความคิดให้เป็น ไม่งั้นจะเป็นทาสของความคิด 
คิด (แบบเดิม) ให้น้อยลง สังเกตให้มากขึ้น รู้สึกตัวเป็นประจำ 

อีกห้าปี สิบปี ผมหวังจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับสุขภาพ ครอบครัว การงาน เพื่อนฝูง รายได้ เพิ่มขึ้น มีเครือข่ายการสื่อสารที่เป็น Living Space ทั่วโลก


เจ็ดบรรทัดหลังนี้ ผมคุยกับตัวเองในใจ
ถ่ายทอดไว้ เผื่อเป็นประโยชน์ต่อครับ

cr. ภาพจาก http://th.myfloorscrubber.com
หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นที่สนามบิน  ไม่รู้ว่ารุ่น/ยี่ห้อเดียวกันไหม แต่หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 706082เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2022 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2022 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท