คุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ


การนอนหลับ

การนอนหลับ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์เรา มนุษย์เราทุกคนต้องการการนอนหลับเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ผ่อนคลาย สบายใจ ให้สมองได้พัก ให้ฮอร์โมนในร่างกายได้หลั่ง และเพื่อเสริมสร้างพลังงานเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในวันต่อไป แต่การนอนหลับนั้น ต้องเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพด้วย เพราะการนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ร่างกายของผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมถอยในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร การทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมถึงการทำงานของสมองอีกด้วย เราทุกคนควรให้ความสำคัญกับคุณภาพการนอนหลับทั้งของตนเองและคนในครอบครัว

วันนี้จึงอยากจะแนะนำ 10 เคล็ดลับเพื่อการนอนหลับที่ดี ตามภาพที่แนบมาด้านล่างนี้

ขอขอบคุณภาพจาก https://www.manarom.com/blog/Health_benefits_of_sleep.html

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการนอนหลับของเรานั้นมีคุณภาพหรือยัง?

อีกหนึ่งสิ่งที่อยากนำเสนอในวันนี้คือ “แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ PSQI” แบบประเมินนี้จะช่วยให้เรารู้คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุได้ ว่าการนอนหลับของผู้สูงอายุนั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่ดี

สามารถดาวน์โหลดแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ตามลิงค์ที่แนบมาด้านล่างนี้

20220824214433.pdf

ฉันได้ทำการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ของคุณยายสุดสวย (นามสมมุติ) อายุ 73 ปี ได้ผลดังนี้

20220824214936.pdf

และได้ทำการแปลผลจากแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ผลดังนี้

20220824215202.pdf

สรุปผลที่ได้จากการประเมินพบว่าคุณยายสุดสวยมีคะแนนรวมน้อยกว่า 5 แสดงว่าคุณยายสุดสวยมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี

 

หลังจากที่ฉันได้ทำการประเมินคุณยายสุดสวย (นามสมมุติ) ซึ่งเป็นคุณยายของฉันเอง ฉันจึงอยากให้ Feedback กับตนเองโดยใช้หลัก SEA ดังนี้

S (Spotting) : การดึงจุดแข็งของตนเองออกมา

จุดแข็งของฉันคือการฟังอย่างตั้งใจ ฟังอย่างใจจดใจจ่อ สามารถใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย อธิบายคำถามเพิ่มเติมได้หากคุณยายฟังไม่ทัน มีอารมณ์ร่วมไปกับคุณยาย เมื่อคุณยายออกนอกเรื่องสามารถพาคุณยายกลับมาตอบคำถามได้โดยที่ไม่ทำให้คุณยายรู้สึกอึดอัด พูดคุยซักถามสารทุกข์สุกดิบและบอกวัตถุประสงค์ก่อนเริ่มทำการประเมิน

 E (Explain) : การอธิบายจุดแข็งของตนเอง

ฉันฟังคุณยายด้วยความตั้งใจ พยักหน้า สบตา โต้ตอบอย่างเหมาะสม เพื่อให้คุณยายรู้สึกว่าฉันพร้อมจะรับฟังท่านและเข้าใจในสิ่งที่ท่านพูด ฉันใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ทำให้คุณยายฟังคำถามเพียงครั้งเดียวและสามารถตอบคำถามได้เลยโดยไม่ต้องถามซ้ำ ในบางครั้งที่คุณยายเล่ารายละเอียดของคำตอบนั้นๆ ฉันจะแสดงอารมณ์ร่วมทุกครั้งเพื่อให้คุณยายรู้สึกสนุกที่ได้เล่า และยังสามารถสร้างรอยยิ้มให้กับคุณยายได้อีกด้วย แต่เมื่อคุณยายพูดออกนอกเรื่องจนเกินไปฉันก็ยังสามารถพาคุณยายกลับมาตอบคำถามได้ โดยไม่ขัดจังหวะ เพื่อไม่ให้คุณยายรู้สึกอึดอัด และฉันได้พูดคุยซักถามสารทุกข์สุกดิบของคุณยายเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีก่อนเริ่มทำการประเมิน และบอกวัตถุประสงค์ก่อนทำการประเมินให้คุณยายทราบด้วย

A (Appreciate) : ชื่นชมจุดแข็งของตนเอง

ฉันรู้สึกดีใจมากๆที่สามารถบอกจุดแข็งของตนเองในการทำแบบประเมินในครั้งนี้ได้ เพราะในชีวิตประจำวันของฉันไม่เคยมองหาจุดแข็งของตนเองเลย การบอกจุดแข็งของตนเองเปรียบเสมือนการชื่นชมตนเอง สร้างพลังบวกให้กับตนเอง เพราะจุดแข็งเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น ฉันอยากชื่นชมจุดแข็งของตนเองในทุกๆสิ่งที่ได้เขียนไปในข้างต้น และจะนำจุดแข็งเหล่านั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้บ่อยๆ ฉันจะเพิ่มจุดแข็งของตนเองไปเรื่อยๆไม่มีวันหยุด และจะชื่นชมจุดแข็งของตนเองอยู่เสมอ เพื่อเป็นการให้กำลังใจตนเองในการที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่งยิ่งๆขึ้นไป

สุดท้ายนี้อยากขอบคุณ อ.ป๊อป ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหลัก SEA ซึ่งเป็นประโยชน์กับตัวหนูมากๆเลยค่ะ

6323033 อิศมา ฉายวิชิต

หมายเลขบันทึก: 705975เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท