แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ( PSQI )


แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ( The Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI )

จุดประสงค์ในการประเมินครั้งนี้เพื่อใช้ประเมินคุณภาพการนอนสำหรับผู้สูงอายุ และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการนอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังฝึกทักษะการใช้แบบประเมิน การค้นหาข้อมูล รวมทั้งฝึกทักษะการสื่อสาร ทักษะของความอ่อนโยน การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น

ผู้สัมภาษณ์ : นางสาว ปรีชญา สุวรรณจินดา นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3

Person

ชื่อ : นาง สังวรณ์ พรหมทองดี

เพศ : หญิง

อายุ : 77 ปี

โรคประจำตัว : Knee Osteoarthritis


Environment

physical : ห้องพักคอนโดขนาดเล็ก

social : คุณแดง(สามีของนางสังวรณ์) อาศัยอยู่ด้วยกัน

 

Occupation

Sleep preparation , Sleep participation

บทบาท : คุณย่าของผู้สัมภาษณ์ , ภรรยาคุณแดง

เกษียณแล้วปัจจุบันได้รับเงินบำนาญทุกเดือน

 

Performance

สามารถสื่อสารได้เข้าใจ ฉะฉาน

วิธีการสัมภาษณ์ : สัมภาษณ์ในคอนโดที่พักของคุณย่า โดยคุณย่านั่งบนโซฟา ส่วนดิฉันนั่งเอียงข้างหันหน้าไปทางคุณย่าข้างๆโซฟา มีคุณแดง(สามีของคุณย่า) นั่งอยู่ในห้องเช่นเดียวกัน

แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ( Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI )


 


 

ผลคะแนนรวมจากการประเมินของ นาง สังวรณ์ พรหมทองดี เท่ากับ 2 จาก 21 คะแนน แสดงว่า มีคุณภาพการนอนหลับดี

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสัมภาษณ์ผ่านการวิเคราะห์ SEA

S-Spotting : ในขณะทำการสัมภาษณ์ ดิฉันได้เตรียมตัวอ่านแบบประเมินก่อนการสัมภาษณ์ เตรียมซ้อมการพูดคร่าวๆกับตัวเองก่อนสัมภาษณ์จริงประมาณ 3 นาที บ่งบอกถึงการเป็นคนรอบคอบ เตรียมพร้อมและมีความรับผิดชอบ ดิฉันได้โทรไปนัดคุณย่าล่วงหน้าเพื่อให้คุณย่าได้เตรียมตัวก่อนวันจริงประมาณ 3 วันเช่นกัน เมื่อเริ่มทำการสัมภาษณ์ ดิฉันใช้ทักษะการพูดสื่อสารที่ค่อนข้างสนิทสนมเนื่องจากผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นคุณย่าของตนเอง แต่ดิฉันก็ได้นึกเตือนตัวเองได้ว่าไม่เหมาะสมควรฝึกตนในการสัมภาษณ์เสมือนคุณย่าเป็นผู้รับบริการ การฝึกตนแบบนี้จะทำให้เราพร้อมหากในอนาคตต้องไปสัมภาษณ์กับผู้รับบริการจริงๆ จากนั้นจึงเริ่มทำการสัมภาษณ์ใหม่อีกครั้ง หลังจากเริ่มสัมภาษณ์รู้สึกว่าตนเองตั้งใจในการรับฟัง เนื่องจากหัวข้อบางหัวข้อคุณย่าได้ถ่ายทอดความรู้สึกของเขาออกมา เช่นอาการปวดตัวขณะนอนหลับ คุณย่าก็เล่าถึงอาการและความทรมาน ดิฉันจึงใช้คำพูดอ่อนโยน จริงใจ แสดงถึงความเห็นใจและเข้าใจในความเจ็บปวดนั้น พอสัมภาษณ์จบก็รู้สึกได้ว่าตนเองมีทักษะในเรื่องของการสัมภาษณ์ดีขึ้นจากปี2 มาก ทำให้รู้ว่าความพยายามและตั้งใจในทุกการเรียนกับอาจารย์ในคลาสได้ส่งผลต่อตนเอง

E-Explain : ตั้งแต่เริ่มสัมภาษณ์จนจบ ในขณะทำการสัมภาษณ์ในคำถามที่ว่า 'ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เนื่องจากสาเหตุเหล่านี้บ่อยเพียงใด ' ในหัวข้อที่คุณย่าได้ให้คำตอบว่ามีปัญหา ดิฉันก็ได้มีการถามต่อเพื่อการได้มาซึ่งข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นและได้ให้คำแนะนำกับคุณย่า โดยใช้ความเข้าอกเข้าใจ จริงใจและหาข้อมูลเพื่อให้คุณย่าได้นำกลับไปปรับใช้ดังนี้

  1. ตื่นกลางดึกหรือตื่นช้ากว่าปกติ ผลการสัมภาษณ์คือมีปัญหาน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะคุณย่ามีความกังวลในเรื่องของการเตรียมอาหารใส่บาตรพระในตอนเช้า จึงทำให้สะดุ้งตื่นในบางครั้งว่าตนเองเตรียมไปหรือยัง หรือในบางวันที่ออกไปร่วมงานสมาคมกับผู้สูงอายุในชุมชน คุณย่าจะกลับบ้านดึกแต่ก็ยังต้องเตรียมอาหารใส่บาตรเก็บไว้สำหรับใส่บาตรพระตอนเช้าทุกวัน ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า บางวันจึงตื่นช้ากว่าปกติไปบ้างเล็กน้อย ดิฉันจึงแนะนำให้คุณย่าเตรียมอาหารไว้ให้เรียบร้อยก่อนออกไปงานสมาคมหรือวันที่มีธุระต้องกลับดึกหรือให้ทำ checklist เอาไว้เตือนตัวเอง แปะไว้ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน หากคุณย่าเตรียมอาหารแล้วก็ให้ติ๊กถูกหรือดึงกระดาษออกเพื่อเตือนตนเองว่าได้ทำตามเป้าหมายเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อถึงเวลาเข้านอนจะได้ไม่เกิดความวิตกกังวล
  2. ตื่นมาเข้าห้องน้ำ ผลการสัมภาษณ์คือมีปัญหา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะคุณย่าเป็นคนรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบค่อนข้างเยอะเนื่องจากเคี้ยวง่าย และชอบดื่มน้ำเป็นประจำก่อนนอน จึงทำให้ปวดปัสสาวะกลางดึก โดยเฉพาะวันไหนที่เหนื่อยหรือออกกำลังเยอะก็จะดื่มน้ำมากกว่าปกติ เช่น เดิมทีดื่มแก้วเดียวก็จะดื่ม2-3 แก้วก่อนนอน จึงแนะนำให้คุณย่า ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้านอนและควรงดดื่มน้ำก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง เนื่องจากการตื่นมาปัสสาวะในช่วงกลางดึกส่งผลให้ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทบต่อระบบการนอนหลับ นอกจากนี้ก็แนะนำให้คุณย่าคอยสังเกตอาการที่เกิดขึ้น และปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมหรืออาจจดบันทึกเกี่ยวกับการดื่มน้ำในแต่ละวันเอาไว้ด้วย ส่วนเรื่องการรับประทานอาหารก็แนะนำให้งดอาหารที่อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะและไม่ดีต่อผู้สูงอายุ เช่น ช็อคโกแลต อาหารรสเผ็ด อาหารที่เป็นกรด เป็นต้น เนื่องจากคุณย่าบางครั้งก็ชอบรับประทานอาหารรสเผ็ดทำให้ต้องดื่มน้ำตามเป็นปริมาณมาก
  3. เจ็บหรือปวดตามตัว ผลการสัมภาษณ์คือมีปัญหา 3 ครั้งหรือมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื่องจากคุณย่ามีภาวะโรคของ OA ทำให้ปวดเมื่อยตามตัวในขณะนอนหลับ แต่ได้มีการไปพบแพทย์และอยู่ในขั้นตอนการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง และได้ไปหานักกายภาพบำบัดเป็นประจำ ดิฉันจึงแนะนำในเรื่องของการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณที่ใช้นอน ความสูงของเตียงควรสูงในระดับที่นั่งลงข้างเตียงข้อเข่างอ 90 องศา ขาแตะพื้น ผ้าปูที่นอนและความนุ่มสบายของฟูกไม่ควรนุ่มจนตัวจมลงไปหรือแข็งเกินไปก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ระดับความสูงของหมอนควรอยู่ในระดับที่นอนหลับสบายไม่สูงหรือต่ำเกินไป (ความสูงควรอยู่ประมาณ 4-6 นิ้ว ) การปรับท่านอนให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม (https://www.wongnai.com/beauty-tips/sleep-positions-for-health) การรับประทานอาหารที่ไม่ระคายเคืองต่อกระเพราะอาหารอย่างอาหารรสเผ็ด อาจทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว และแนะนำให้คุณย่าหมั่นออกกำลังกายเบาๆเป็นประจำก่อนนอนซึ่งคุณย่าก็ได้ทำเป็นประจำอยู่แล้วตามที่แพทย์แนะนำ

จากการแนะนำต่างๆ ในข้อมูลบางข้อมูลดิฉันได้หาข้อมูลเพิ่มเติมและได้ทักไปให้ข้อมูลคุณย่าเพิ่มเติมในภายหลังผ่านทางไลน์และโทรศัพท์ เช่น การปรับท่านอน และคลิปการนั่งสมาธิ รวมทั้งคลิปเสียงเพลงผ่อนคลายที่ฟังแล้วทำให้จิตสงบ

ในขณะที่ทำการสัมภาษณ์ ดิฉันรู้สึกว่าตนเองมีความเข้าอกเข้าใจในสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญแต่คุณย่าก็ยังมีความสดใส ร่าเริงและเข้านอนเป็นเวลาทุกๆวัน เนื่องจากดิฉันเคยทำแบบประเมิน PSQI แล้วตนเองมีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี การได้สัมภาษณ์คุณย่าทำให้ได้เรียนรู้ความรู้สึก การใช้ชีวิตของผู้ใหญ่ที่ตนเคารพรัก นอกจากดิฉันจะได้แนะนำสิ่งดีๆให้คุณย่าแล้วนั้น คุณย่าก็ยังมอบสิ่งดีๆกลับมาให้ฉันเช่นเดียวกัน


A-Appreciate : รู้สึกดีและภูมิใจในตนเองที่ได้ทำแบบประเมินดังกล่าว ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การใช้ภาษา รู้จุดเด่น จุดด้อยของตนเองและจะนำไปปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในการสัมภาษณ์ครั้งต่อไป ผลจากการประเมินพบว่าคุณย่ามีคุณภาพการนอนหลับที่ดี ซึ่งภายหลังดิฉันก็ได้นำแบบประเม นดังกล่าวไปสัมภาษณ์คุณแดง(สามีของคุณย่า) วัย 79 ปี ก็พบว่าท่านมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีเช่นกัน เมื่อเทียบกับตัวของดิฉันที่เคยทำแบบประเมิน PSQI ผลกลับออกมาว่ามีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ด้วยเหตุผลนี้จึงได้ทำให้กลับมาทบทวนคิดกับตนเองว่า ทำไมวัยรุ่นจึงมีปัญหาในเรื่องของการนอนมากกว่าวัยสูงอายุ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ทำให้ได้ข้อคิด แง่คิดการใช้ชีวิตของคุณย่า ซึ่งดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้แนะนำสิ่งดีๆให้คุณย่าได้นำกลับไปปรับใช้  นอกจากนี้ยังได้นำสิ่งที่อาจารย์สอนในคลาสเรียนแนะนำกับคุณย่าไปเช่นกัน รู้สึกว่าการที่ตนเองได้ร่ำเรียนมาตลอด 3 ปีนั้นไม่สูญเปล่า การที่คุณย่าได้เล่าเรื่องราวของตนเองผ่านข้อคำถาม การพูดคุยก่อนเริ่มทำการประเมินและสิ้นสุดการประเมินทำให้ดิฉันได้สิ่งดีๆกลับมาเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นความสดใสของคุณย่า ความขยัน และการหมั่นดูแลตนเอง ซึ่งดิฉันจะนำสิ่งนี้กลับไปพัฒนาตนเองเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 705959เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท