ประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ของผู้สูงอายุ


สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน … เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสทำแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) ให้กับผู้สูงอายุท่านนึง ในวัย 65 ปี ซึ่งจากการสัมภาษณ์ได้ข้อมูลมาดังไฟล์แบบประเมินด้านล่างนี้ค่ะ

แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI.pdf

ผลการประเมินสามารถแปลผลได้โดยการคิดคะแนนของแต่ละองค์ประกอบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ (สามารถดูวิธีคิดอย่างละเอียดเพิ่มเติมได้ดังไฟล์แนบด้านล่าง) และนำคะแนนทั้ง 7 องค์ประกอบนี้มารวมกัน ซึ่ง

  • ถ้าคะแนนรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนน จะแปลผลได้ว่า คุณมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี
  • ถ้าคะแนนรวมมากกว่า 5 คะแนน จะแปลผลได้ว่า คุณมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี

โดยในผู้สูงอายุท่านนี้ได้คะแนนรวมทั้งหมด 6 คะแนน สามารถแปลผลได้ว่า ผู้สูงอายุท่านนี้มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ค่ะ

ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI.pdf

จากที่ได้ทำแบบประเมิน โดยการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุท่านนี้ ผู้เขียนก็สามารถสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองออกมาได้ตาม SEA ดังนี้

S – Spotting 

การมองเห็นจุดแข็งของตนเองขณะทำแบบประเมิน คือ การมีบุคลิกที่อ่อนน้อมถ่อมตน รู้วิธีปฏิบัติตนอย่างไรให้เหมาะสมเวลาพูดคุยกับผู้สูงอายุ แนะนำตัวเองอย่างเป็นมิตร ยิ้มเก่ง ทำให้บรรยากาศในการสัมภาษณ์มีความผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด ผู้สูงอายุก็รู้สึกสบายใจที่ได้พูดคุยกัน และเวลาที่สัมภาษณ์ก็จะใช้โทนน้ำเสียงที่นุ่มนวล พูดช้า ออกเสียงชัดถ้อยชัดคำ ทำให้ผู้สูงอายุฟังตามได้ทันและเข้าใจได้ง่าย มีการพูดคุยให้ผู้สูงอายุได้เล่าเรื่องราวของท่าน และผู้ประเมินทำการตั้งใจฟังอย่างเข้าใจ

E – Explain

บทบาทของนักศึกษากิจกรรมบำบัดก็จะทำการประเมินคุณภาพการนอนหลับ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ และนำข้อมูลที่ได้มาแปลผล พร้อมให้คำแนะนำต่างๆกับผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่นอนข้างกัน ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุท่านนี้ ได้พบว่า มีบางวันที่ท่านว่างไม่รู้จะทำอะไร ก็จะนอนหลับช่วงประมาณสี่โมงเย็นจนถึงหกโมงเย็น ส่งผลให้ในช่วงเวลากลางคืนที่ถึงเวลาเข้านอนจริงกลับนอนไม่หลับ ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะนอนหลับได้ ในบทบาทของนักศึกษากิจกรรมบำบัด ก็ได้มีการให้คำแนะนำเบื้องต้นในเรื่องของการค้นหากิจกรรมยามว่างที่ผู้สูงอายุสนใจ แนะนำกิจกรรมที่ได้ลุกเดินมากขึ้น เช่น การรดน้ำต้นไม้ ดูแลจัดสวน และแนะนำให้ปรับช่วงเวลาการนอนกลางวันให้ไม่เกินเวลาบ่ายสามโมง โดยให้งีบหลับเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงขึ้นไป มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดตารางเวลาการนอนหลับและตื่นนอนประจำวัน เรื่องการดื่มน้ำก่อนนอน ก็ไม่ควรดื่มมากเกินไป แนะนำให้มีการเข้าห้องน้ำขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน 30 นาที เรื่องของการปรับสิ่งแวดล้อม แนะนำให้ผู้ดูแลช่วยปรับบริเวณทางเดินจากห้องนอนไปห้องน้ำให้มีแสงสว่างตลอดทางและพื้นห้องน้ำควรที่จะแห้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้สูงอายุมาเข้าห้องน้ำยามดึก จากปัญหาเรื่องการนอนกรน แนะนำให้ปรับท่าทางการนอนจากนอนหงายมาเป็นนอนตะแคง แนะนำให้เลือกฟูกเตียงนอนที่ผู้สูงอายุนอนสบาย ช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้ และควรปรับอุณหภูมิห้องนอนที่ผู้สูงอายุรู้สึกสบาย ไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไป

A – Appreciate 

จากการที่ได้สัมภาษณ์ผู้สูงอายุท่านนี้ ทำให้ผู้ประเมินรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ที่สามารถประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง และรู้สึกมีคุณค่าที่ได้ช่วยให้คำแนะนำต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุท่านนี้ ที่จะนำไปสู่การมีคุณภาพการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพได้ การสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในครั้งนี้ ก็รู้สึกได้ประสบการณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากปกติไม่ค่อยได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้สูงอายุเท่าไหร่ และรู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นผู้สูงอายุประทับใจจากการได้ฟังคำแนะนำจากผู้ประเมิน

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด#PSQI
หมายเลขบันทึก: 705934เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2022 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท