แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (Pittsburgh Sleep Quality Index: PSQI)


สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวพิณศฐิตรา พิมหะศิริ เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ค่ะ วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับเเบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) 

ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เเต่อัตราการเกิดกลับลดลงเเละมีอัตราที่ช้ามาก ซึ่งกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยค่ะ ผู้สูงอายุไม่ได้ขึ้นอยู่กับกับจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเเต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยค่ะ เมื่ออายุมากขึ้นย่อมมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หนึ่งในนั้นคือปัญหาเรื่องการนอนหลับค่ะ ดังนั้นถ้าผู้สูงอายุที่คุณภาพการนอนหลับที่ดี สุขภาพร่างกายเเข็งเเรง ก็จะทำให้สุขภาพจิตดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วยค่ะ

แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (Pittsburgh Sleep Quality Index: PSQI)

คือ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับและความผิดปกติในช่วงเวลา 1 เดือน แบ่งรูปแบบของแบบสอบถามออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบประเมินตนเอง จำนวน 19 คำถามและแบบประเมินโดยผู้ที่นอนพักร่วมห้องนอน จำนวน 5 คำถาม โดยเน้นปัจจัยที่เกี่ยวข้อกับการนอนหลับ 7 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

1. คุณภาพการนอนหลับ (Subjective Sleep Quality)
2. ระยะเวลาตั้งแต่เข้านอนจนถึงเริ่มหลับ (Sleep Latency)
3. ระยะเวลาการนอนหลับ (Sleep Duration)
4. ประสิทธิภาพการนอนหลับตามปกติ (Habitual Sleep Efficiency)
5. สิ่งรบกวนการนอนหลับ (Sleep Disturbances)
6. การใช้ยานอนหลับ (Use of Sleeping Medication)
7. ความผิดปกติด้านการนอนหลับในช่วงกลางวัน (Daytime Dysfunction)

ทั้งนี้คำถามในแต่ละองค์ประกอบจะใช้วิธีนับคะแนนแยกกัน จากนั้นจะเเปลผลโดยนำผลรวมคะแนนจากทั้ง 7 องค์ประกอบมารวม (Global PSQI score) ซึ่งคะเเนนของเเบบประเมินคุณภาพการนอนหลับจะมีช่วงคะเเนนระหว่าง 0-21 คะแนน ถ้าคะแนน ≤ 5 เเปลว่า คุณภาพการนอนหลับดี ถ้าคะเเนนรวม > 5 เเปลว่า คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี

ดิฉันมีโอกาสได้ประเมินคุณภาพการนอนหลับของคุณยายของดิฉัน ซึ่งท่านมีอายุ 79 ปีค่ะ ซึ่งผลมรวมของ 7 องค์ประกอบ (Global PSQI score) ได้เท่ากับ 4 คะเเนนค่ะ ซึ่งเเปลว่าคุณยายของดิฉันมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีค่ะ เเต่ถึงจะมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีเเต่ท่านก็ยังมีอาการเเละโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัยค่ะ ( ไฟล์ที่ดิฉันได้ทำการสัมภาษณ์เเละเเปลผล 20220822081107.pdf  20220822081111.pdf )

 

SEA 

หลังจากการสัมภาษณ์เเละประเมินคุณภาพการนอนหลับของคุณยาย ก็ทำให้เกิดการสะท้อนตนเอง กลับมาสังเกต วิเคราะห์ตนเองในรูปเเบบของ SEA (ซีที่ไม่ได้เเปลว่าทะเลนะคะคุณผู้อ่าน เดี๋ยวเราไปดูด้านล่างกันเลยค่ะว่าเเปลว่าอะไร)

S -> Spotting มองเห็นจุดแข็ง ดิฉันพบว่าดิฉันเป็นผู้ฟังที่ดีคนหนึ่งเลยค่ะ ดิฉันฟังอย่างตั้งใจ เเม้ว่าคุณยายจะพูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถาม หรือจะสวดมนต์ให้ดิฉันฟัง ดิฉันก็ฟังจนจบ เเต่หากดิฉันรู้สึกว่านานเกินไปก็จะพูดชักชวนให้คุณยายกลับมาเข้าประเด็นเดิม เเละดิฉันมีการทวนประโยคเเละคำ เพื่อกระตุ้นให้คุณยายเล่าเรื่องต่อเเละเพื่อทวนความเข้าใจของดิฉันให้คุณยายฟัง อีกจุดเเข็งที่เห็นคือ ดิฉันมีความเห็นอกเห็นผู้อื่น เช่น คุณยายบอกกับดิฉันว่า “คนเเก่กินอะไรก็ลำบาก ต้องกินข้าวคำ น้ำคำ” , “ยายเห็นนกเเล้วมันดูมีความสุข ยายก็อยากจะมีความสุขเเบบมันบ้าง” ดิฉันรู้ได้ถึงอารมณ์ของคุณยายเเละเข้าใจว่าท่านรู้สึกเเบบไหน 
E -> Explain ดิฉันรู้สึกดีที่ได้ประเมินคุณภาพการนอนหลับของคุณยาย เเละคุณยายก็ดูให้ความร่วมมือกับดิฉันมาก มีการคุยกันอย่างเปิดใจ คุณยายพูดเก่งมาก เเละตอนที่ดิฉันบอกว่าคุณภาพการนอนหลับของคุณยายออกมาดี คุณยายก็มีน้ำเสียงที่เหมือนโล่งใจ ถึงเเม้ว่าเเปลผลรวมคุณภาพการนอนหลับของคุณยายจะดี เเต่ในหัวข้อย่อยๆ ก็ไม่ดี เพราะคุณยายมีทั้งการตื่นไปเข้าห้องน้ำตอนกลางดึกที่บ่อย มีอาการ ไอ หายใจไม่สะดวก รู้สึกหนาวเกินไป บางคืนก็ลุกขึ้นมาปิดพัดลม รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว เเละมีอาการขากระตุก คุณยายไม่เคยทานยานอนหลับ เเละมักจะหลับไปเองโดยใช้เวลาไม่นาน คุณยายจะชอบฟังเพลง ดนตรีไทย เเละสวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นประจำทุกคืนก่อนนอน ท่านบอกว่า ท่านมีความสุขที่ได้สวดมนต์ เเละขอพรได้ลูกหลานทุกคน ดิฉันได้มีการเเนะนำท่านว่าให้เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนนอน เเละใช้กฎ 5 4 3 2 1 คือ ให้นับเลขถอยหลัง พอถึง 1 เเล้วต้องลุก เพื่อกระตุ้นให้ตนเองตื่นตัวในตอนเช้า เพราะคุณยายมักจะนอนกลิ้งอยู่บนที่นอนตอนเช้า และเป็นเรื่องยากที่จะลุกจากที่นอน 
A -> Appreciate ชื่นชมสื่อสารความรู้สึกบวกกับตนเอง หลังจากที่ได้สัมภาษณ์คุณยาย ดิฉันรู้สึกดีมากๆ เเละได้อะไรหลายอย่างมากเลยค่ะ ดิฉันได้รู้จักคุณยายเพิ่มมากขึ้น เพราะปกติดิฉันไม่ค่อยได้คุยกับยาย เเละไม่ค่อยมีเวลาไปหาท่าน ทำให้ดิฉันเห็นถึงปัญหาสุขภาพของคุณยาย เเละชีวิตความเป็นอยู่ในเเต่ละวันของคุณยาย มันทำให้ดิฉันรู้สึกเป็นห่วงคุณยายมากกว่าเดิม  เเละการที่ได้ลองสัมภาษณ์คุณยายก็ยังทำให้ดิฉันมีความกล้าเเละอยากลองไปประเมินกับผู้สูงอายุท่านอื่น เเละรู้วิธีที่จะพูด การเริ่มพูด รวมถึงเทคนิคที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ดิฉันจะหมั่นฝึกฝนเเละปรับปรุงตัวเองในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องมารยาท การพูด การใช้น้ำเสียง กิริยาท่าทาง ให้ดีมากกว่านี้เพื่อจะเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่น่าภาคภูมิใจในอนาคต ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถช่วยให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เเละใช้ชีวิตในทุกๆ วันอย่างมีความสุขค่ะ
 

ข้อมูลอ้างอิง 

https://marketeeronline.co/archives/272771 https://www.smk.co.th/newsdetail/2770 http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2020/07/book_8.pdf 

 

หมายเลขบันทึก: 705749เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2022 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2023 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อายุเกิน 65 ปี คะแนนการนอนไม่ควรเกิน 3

ขออภัย นศ.แปลผลถูกแล้วครับ แต่อายุ 79 ปี นั้นต้องประเมินวิธีการลุกที่มี Energy Conservation อาจใช้การหายใจผ่อนคลายแทนการนับนะครับ และขยับข้อต่อก่อนลุก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท