แบบประเมินสุขภาพการนอน PSQI


    นางสาว ภวิดา รัตนพงษ์วิเศษ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 จะมาทำการประเมินและแปลผลจากการประเมิน แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์กฉบับภาษาไทย เป็นการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ โดยสัมภาษณ์คุณย่าของดิฉัน อายุ 74 ปี 

ผลที่ได้จากการทำแบบประเมิน

การแปลผลหลังจากการประเมิน

การแปลผล

     คะแนนรวมของทั้งหมด 7 องค์ประกอบของแบบประเมินคุณภาพการนอน มีคะแนนระหว่าง 0-21 คะแนน

จาการประเมินคุณย่าแปลผลได้ว่า คุณย่ามีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี เนื่องจากได้คะแนนรวม 10 คะแนน ซึ่งมีคะแนนที่สูงกว่าเกณฑ์ (คะแนนรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 คะแนน หมายถึง คุณภาพการนอน หลับดี)

9 วิธีบอกลาอาการนอนไม่หลับ

SEA หลังจากการทำแบบประเมิน SPQI

S= Spotting 

     -ได้ลองฝึกการพูด การตั้งคำถามที่เข้าใจง่าย คำถามชัดเจน พูดเสียงฟังชัด ทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจได้มากที่สุดป้องกันการประเมินผลที่ผิดพลาด

    - การเป็นผู้ฟังที่ดี แม้ไม่ได้สัมภาษณ์ต่อหน้า เราก็ต้องตั้งใจฟัง ไม่พูดแทรก คอยทวนคำตอบที่ได้รับมา ทำให้คุณย่ารู้สึกว่าไม่ได้พูดอยู่คนเดียวและผู้ประเมินก็ตั้งใจฟังสิ่งที่พูดด้วย

    - ได้รู้จุดแข็ง จุดอ่อนของตนเองและนำเอาไปพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า บางทีคุณย่าอาจตอบไม่ตรงคำถามหรือเล่าเรื่องอื่น ก็ต้องคอยพูดเพื่อให้กลับมาในคำถาม  

E= Explain

      ขณะที่ทำการประเมิน คุณย่าสามารถพูดคุยสื่อสาร ตอบโต้กันได้ดี เสียงดังฟังชัดและเข้าใจในคำถาม เมื่อทำการประเมิน พบว่าท่านใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ 45 นาที แต่ถ้าวันไหนเหนื่อยก็ใช้เวลาน้อยและกรนร่วมด้วย การนอนหลับได้จริงไม่เต็มที่ เวลาที่เข้านอนถึงตื่นนอน 7 ชั่วโมง แต่ เวลาหลับได้จริงแต่ 5 ชั่วโมง มีการรู้สึกตัวช่วงกลางคืนบ่อยส่วนมากมักตื่นมาเข้าห้องน้ำเกือบทุกวัน โดยมีกระโถนหายในห้องนอน หายใจไม่สะดวกบ้าง เนื่องจากเป็นภูมิแพ้อากาศและช่วงนี้มีฝนตกบ่อย มีอาการปวดเมื่อยตัวบ้างเนื่องจากท่านชอบไปทำสวน ปลูกต้นไม้ ทำให้บางวันหลับๆตื่นๆนอนได้ไม่เต็มที่ จากการสอบถามว่า คิดว่าคุณภาพการนอนของตนเองเป็นอย่างไร ค่อนข้างดี เนื่องจากเมื่อก่อนท่านใช้เวลามากกว่านี้กว่าจะนอนหลับและต้องใช้ยานอนหลับบ่อยครั้ง แต่ปัจจุบันเริ่มใช้ยานอนหลับน้อยลงเหลืออาทิตย์ละ 1 ครั้งหรือไม่เลย 

       กิจวัตรประจำวันของคุณย่า ตื่นเช้า ทำอาหารเช้า ไปวัด ทำสวน ทำอาหารเย็น พักผ่อน และเข้านอน 

       สิ่งแวดล้อม ห้องนอนอยู่ชั้น 1 มีเพื่อนร่วมห้องคือคุณปู่ แต่นอนคนละเตียง  

 จากการแปลผล คุณภาพการนอนของคุณย่าไม่ดี จึงแนะนำคุณย่า ดังนี้ 

- ปัสสาวะก่อนเข้านอน ป้องกันการตื่นในตอนกลางคืน

- การปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เงียบสงบ ลดเสียงรบกวน ปรับเตียงนอน ความสูงของหมอนเพื่อให้พอดีกับศีรษะ 

- กิจวัตรประจำวัน ทำงานให้เหมาะสมไม่ควรมากเกินไป เพิ่มเรื่องการออกกำลังกาย เช่น แกว่งแขน เดินออกกำลังกาย เป็นต้น ไม่ควรทานอาหารเย็น ค่ำเกินไปหรือก่อนนอนทำให้การนอนไม่มีคุณภาพหรืออาจเกิดกรดไหลย้อนได้ 

A= Appreciate 

   รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสได้ลองใช้แบบประเมินจริงๆ เนื่องจากเคยได้เรียนแบบประเมินนี้แล้วในชั้นปีที่ 2 แต่ตอนนั้นยังไม่ค่อยเข้าใจดี แต่รอบนี้ได้ลองมาทำแบบประเมินเอง ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับแบบประเมินมากขึ้น ได้มีการฝึกคิดตั้งคำถาม แนะนำให้คุณย่าลองปรับตามคำแนะนำ เพราะอยากให้คุณย่ามีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น 

 

คำสำคัญ (Tags): #PSQI
หมายเลขบันทึก: 705711เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2022 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2022 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท